กระทรวงอุตสาหกรรม โหมยกระดับวิสาหกิจชุมชน อัด กลยุทธ์ 3P ตั้งเป้าเพิ่มกำไรสินค้าขั้นต่ำ 10 %

จันทร์ ๑๐ มิถุนายน ๒๐๑๓ ๑๔:๐๙
กระทรวงอุตสาหกรรม ตอบโจทย์รัฐบาลมุ่งพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ผ่านการบริหารจัดการ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต รวมถึงการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงเครือข่าย เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล โดยจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ให้กับวิสาหกิจชุมชนอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบท (สอช.) กิจกรรมการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน (DIP CAMP) โครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมขน (CIMED) และโครงการทายาทธุรกิจ ฯลฯ

ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้สานต่อกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และมีโครงการจำนวนมากที่ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยโครงการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน (DIP CAMP) แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ถือเป็นหนึ่งในความสำเร็จ ซึ่งเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ให้องค์ความรู้ในด้านการออกแบบ การค้นหา การสร้างแรงจูงใจ ตลอดจนการหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการตลาด

โดยมีวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การผลิต การบริหารจัดการ และการตลาดกว่า 500 ราย ซึ่งแต่ละรายมีมูลค่ายอดขายเพิ่มขึ้นได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 และคาดว่าในปี 2557 จะมีวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีกกว่า 200 ราย นอกจากนี้ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ยังได้จัดกิจกรรมประกวดการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนได้ส่งผลงานเข้าประกวด เพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้จนถึง 30 พฤษภาคม 2556

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลมีนโยบายเน้นการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะที่เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน จึงได้พยายามพัฒนาโครงการต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างให้ผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน ให้มีความสามารถในการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้น และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสาหกิจชุมชน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจฐานรากที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ประกอบกับการพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมา ผลของการพัฒนาได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมที่สำคัญ นั่นคือ ช่องว่างของการกระจายรายได้มีแนวโน้มสูงขึ้น กสอ. จึงได้ให้การส่งเสริม สนับสนุน ทั้งวิสาหกิจชุมชนในภาคอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมและราษฎรในพื้นที่ชนบท เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้อุตสาหกรรมเป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ราษฎรและเศรษฐกิจชุมชน

นายโสภณ ผลประสิทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเสริมว่า กสอ. โดยสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ได้มีการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน ให้มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ทั้งด้านการบริหารจัดการ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต รวมถึงการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงเครือข่าย เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง ยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในตลาดทุกระดับ ด้วยการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนช่วยเหลือตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป อีกทั้งยังสามารถปรับตัวได้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจยุคปัจจุบันที่ผันแปรไปอย่างรวดเร็วได้ ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาโครงการและกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อวิสาหกิจชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบท (สอช.) กิจกรรมการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน (DIP CAMP) โครงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมขน (CIMED) และโครงการทายาทธุรกิจ เป็นต้น

ด้าน นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน เป็นหน่วยงานหลักในการนำภูมิปัญญานวัตกรรมการประสานเครือข่ายองค์ความรู้เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนให้เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งดูแลรับผิดชอบในส่วนของผู้ประกอบการภูมิปัญญาท้องถิ่น และงานในระดับชุมชน โดยในปี 2556 ทางสำนักฯ ยังคงสานต่อโครงการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด “ตลาดนำการพัฒนา” โดยเน้นเครื่องมือในการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชน 3 ด้าน (3Ps) ด้วยกัน คือ 1. คนหรือผู้ประกอบการ (People) โดยมุ่งเน้นที่การบริหารจัดการผ่านมาตรฐานการจัดการวิสาหกิจชุมชน 2. ผลิตภัณฑ์ (Product) มุ่งเน้นการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ ตราสินค้าและการจดลิขสิทธิ์ 3. กระบวนการผลิต (Process) ที่มุ่งเน้นหลักการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล การลดปริมาณของเสียอันเกิดจากกระบวนการผลิต รวมถึงการฝึกอาชีพ ซึ่งที่ผ่านมา สำนักฯ ได้สานต่อกิจกรรมการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้าน การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน (DIPCAMP) แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน โดยเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่ให้องค์ความรู้ในด้านการออกแบบ การค้นหาการสร้างแรงจูงใจ ตลอดจนการหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ ตอบโจทย์ความต้องการตลาด

นางสาวนิสากร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกิจกรรม DIPCAMP เป็นกิจกรรมที่ต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ ซึ่งก่อนที่จะมีการทดสอบออกตลาดจริงนั้น ทางสำนักฯ ก็จะจัดให้มีการนำเสนอผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ การพัฒนาตราสินค้า รวมถึงการพัฒนาตราสัญลักษณ์ให้สามารถออกสู่ตลาดได้อย่างแข็งแกร่ง สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ซึ่งที่ผ่านมา มีวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การผลิต การบริหารจัดการ และการตลาดกว่า 500 ราย โดยแต่ละรายมีมูลค่ายอดขายเพิ่มขึ้นได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 สำหรับในปี 2557 คาดว่าจะมีวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีกกว่า 200 ราย นอกจากนี้ ส่วนพัฒนาการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ยังได้จัดกิจกรรมประกวด การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนได้ส่งผลงานเข้าประกวด เพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่า รวมกว่า 200,000 บาท โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้จนถึง 30 พฤษภาคม 2556

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนในภาคอุตสาหกรรม หรือกิจกรรมประกวดการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ถนนพระรามที่ 4 ซอยตรีมิตร กล้วยน้ำไท คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2367 8362 , 0 2367 8371

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest