ศาลสูงสุดสหรัฐชี้ดีเอ็นเอสังเคราะห์สามารถจดสิทธิบัตรได้ ดังนั้นยีนที่สังเคราะห์ขึ้นเป็นพิเศษหรือยีนที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี Codon Optimization สามารถจดสิทธิบัตรได้

พฤหัส ๒๐ มิถุนายน ๒๐๑๓ ๑๐:๓๓
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2556 ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกามีคำตัดสินเป็นเอกฉันท์ว่า ลำดับยีนตามธรรมชาติ (natural gene sequences) แม้แยกออกมาเดี่ยวๆ ก็ไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้ แต่ cDNA (ซึ่งเป็นดีเอ็นเอสังเคราะห์) ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าสามารถจดสิทธิบัตรได้ คำพิพากษาดังกล่าวได้รับการเผยแพร่หลังจากที่ศาลได้พิเคราะห์สิทธิบัตรต่างๆ ซึ่งครอบครองโดยบริษัท มีเรียด เจเนติกส์ (Myriad Genetics Inc.) ในคดีความระหว่างสมาคมพยาธิวิทยาโมเลกุล (Association for Molecular Pathology) กับมีเรียด เจเนติกส์ ซึ่งได้รับความสนใจจากสาธารณชนในวงกว้าง โดยสิทธิบัตรเหล่านั้นอ้างสิทธิ์ในยีน BRCA1 และ BRCA2 รวมถึงวิธีการต่างๆในการตรวจจับการกลายพันธุ์ในยีน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ ศาลสนับสนุนการอ้างสิทธิ์ตามกฎหมายดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า “cDNA ไม่ใช่ “ผลผลิตตามธรรมชาติ” ดังนั้นจึงสามารถจดสิทธิบัตรได้...”

บริการสังเคราะห์ยีนของเจนสคริปต์ (GenScript) เป็นวิธีที่มีคุณค่าอย่างยิ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการแยกลำดับดีเอ็นเอตามธรรมชาติออกมาใช้ในการศึกษาวิจัยทางชีววิทยา บริการนี้นำเสนอการสังเคราะห์ลำดับดีเอ็นเอขึ้นใหม่ตามความต้องการของลูกค้าซึ่งไม่ใช่ผลผลิตตามธรรมชาติ โดยจะมีการดัดแปลงลำดับยีนตามธรรมชาติหรือชุดของยีนเพื่อใช้ทดลองในสิ่งมีชีวิตหรือในหลอดทดลอง ซึ่งรวมถึงการทดสอบวินิจฉัย นอกจากนี้ เทคโนโลยี OptimumGene(TM) codon optimization ของเจนสคริปต์ ยังสามารถเปลี่ยนลำดับของยีนตามธรรมชาติได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มการแสดงออกของโปรตีนในระบบต่างๆ OptimumGene(TM) จะพิจารณาเกือบทุกตัวแปรที่ส่งผลต่อกระบวนการ ตั้งแต่การถอดรหัสไปจนถึงการม้วนตัวของโปรตีน ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลิตโปรตีนสูงสุดในระบบการแสดงออกของแบคทีเรีย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ยีสต์ และแมลง การใช้เทคโนโลยี OptimumGene(TM) codon optimization ร่วมกับการสังเคราะห์ยีน สามารถสร้างลำดับยีนใหม่ที่ไม่ใช่ผลผลิตตามธรรมชาติ ทั้งยังมีประโยชน์ใช้สอยสูงและสามารถจดสิทธิบัตรได้ ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของลูกค้า เจนสคริปต์จะไม่อ้างสิทธิ์ในยีนที่สังเคราะห์ขึ้นเป็นพิเศษหรือยีนที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี OptimumGene(TM) ขณะที่รายละเอียดของโครงการจะถูกเก็บเป็นความลับสุดยอด และสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมดจะตกเป็นของลูกค้า

ขณะนี้ยังไม่อาจคาดเดาได้ว่าคำตัดสินของศาลจะส่งผลกระทบต่อการจดสิทธิบัตรลำดับดีเอ็นเอในอนาคตอย่างไร อย่างไรก็ตาม การวิจัยทางชีววิทยาโมเลกุลที่กำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจะทำให้การใช้ดีเอ็นเอสังเคราะห์เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในห้องปฏิบัติการทุกแห่ง เจนสคริปต์นำเสนอโซลูชั่นการสังเคราะห์ยีนและ codon optimization ที่รองรับกฎหมายสิทธิบัตรทั้งในปัจจุบันและอนาคต และยังคงมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง

* เจนสคริปต์ไม่ใช่นักกฎหมาย และเนื้อหาข้างต้นไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้คำแนะนำทางกฎหมายเพื่อการฟ้องร้องดำเนินคดีเกี่ยวกับสิทธิบัตรหรือการดำเนินการใดๆทางกฎหมาย

แหล่งข่าว: บริษัท เจนสคริปต์ สหรัฐอเมริกา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ