เยอรมนีจีบกลุ่มซอฟต์แวร์ไทย เล็งว่าจ้างผลิตซอฟต์แวร์บริหารจัดการองค์กรและค้าปลีก

อังคาร ๒๕ มิถุนายน ๒๐๑๓ ๑๔:๓๙
บีโอไอแฟรงก์เฟิร์ต จับมือสถานทูตไทยที่เยอรมนี นำ 4 บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ชั้นนำของไทย ไปร่วมงาน ASIA PACIFIC WEEKS 2013 ประสบผลสำเร็จเกินคาด โดยบริษัทในเยอรมนีสนใจให้ผู้ผลิตของไทยผลิตซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจค้าปลีก และซอฟต์แวร์สำหรับการควบคุมการผลิตในโรงงานและโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน

นายชนินทร์ ขาวจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ กรุงแฟรงก์เฟิร์ต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ แฟรงก์เฟิร์ต เปิดเผยว่า จากการที่ นางสาวกรองกนก มานะกิจจงกล ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการบริการด้านการลงทุน (OSOS) ได้นำคณะผู้บริหารจากบริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำ 4 บริษัทของไทยไปร่วมงาน ASIA PACIFIC WEEKS 2013 ที่กรุงเบอร์ลินช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ซึ่งระหว่างนั้น สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลินได้ร่วมกับบีโอไอ แฟรงก์เฟิร์ต จัดงานไทยแลนด์ บิสสิเนสเดย์ ( THAILAND BUSINESS DAY ) เพื่อให้ภาคธุรกิจของ 2 ประเทศได้จับคู่ธุรกิจและหารือเรื่องการค้าการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งผลของการหารือในเบื้องต้นผู้ประกอบการไทย 4 รายได้เจรจาธุรกิจกับผู้แทนของบริษัทเยอรมนี 7 ราย และมีแนวโน้มจะได้รับงานผลิตซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจค้าปลีก รวมทั้งซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม การบริหารจัดการองค์กรทั่วไป และด้านสุขภาพ ,โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะหรือมูลสัตว์ ( BIOMASS ) เทคโนโลยีแก๊สชีวภาพ ( BIOGAS ) เป็นต้น

“ ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทยแล้ว ยังเป็นโอกาสให้บริษัทจากเยอรมนีเข้ามาทำตลาดในอาเซียนได้มากขึ้น ผ่านการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับฝ่ายไทย ซึ่งบริษัทซอฟต์แวร์ของไทยที่พาไปนั้นมีฐานลูกค้ามากมายในอาเซียนอยู่แล้ว และหากมีความร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทย เพราะบริษัทจากเยอรมนีมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะในด้าน Automation หรือการใช้เครื่องจักรทำงานแทนคนในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมไทยด้วย” นายชนินทร์กล่าว

สำหรับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยนั้น ตลาดส่วนใหญ่เป็น ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรธุรกิจซอฟต์แวร์ด้านการบริการ และซอฟต์แวร์สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ขณะที่บริษัทซอฟต์แวร์ 4 บริษัทที่ได้ไปร่วมงานไทยแลนด์ บิสสิเนสเดย์ ได้แก่ บริษัท Soft Square Group of Companies และ บริษัท Bery l8 Plus ผู้นำด้านการให้บริการเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์บริหารจัดการภายในองค์กร บริษัท Tropical Tech จำกัด ผู้นำด้าน Infrastructure and Factory Automation, Software Engineering รับผลิตงานด้านการออกแบบ พัฒนาโปรแกรม Interfacing การทดสอบ และบริษัท Ecartstudio จำกัด บริษัทชั้นนำด้าน Location-Based Information Systems

ขณะที่การลงทุนของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในไทย พบว่า จากสถิติการขอรับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ตั้งแต่ปี 2539 -2555 มีคำขอรับการส่งเสริมลงทุนในกิจการซอฟต์แวร์ทั้งสิ้น 1,080 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 12,302 ล้านบาท เป็นโครงการของคนไทยยื่นขอรับส่งเสริมมากถึง 666 โครงการ เงินลงทุน 7,187.5 ล้านบาท เป็นโครงการลงทุนจากต่างประเทศ 414 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 5,114.7 ล้านบาท โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในกิจการซอฟต์แวร์มากที่สุด คือประเทศญี่ปุ่น รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ สิงคโปร์ และเยอรมนี ตามลำดับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4