“รามอส” แนะแนวทางสร้างความเข้มแข็งในประชาคมอาเซียน ลดช่องว่างทางสังคมและปฎิรูปเศรษฐกิจให้พลเมืองได้รับประโยชน์

พฤหัส ๒๙ สิงหาคม ๒๐๑๓ ๑๓:๓๐
เมื่อเร็วๆนี้ นายฟิเดล รามอส อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้รับเชิญมาบรรยายที่สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin Graduate Institute of Business Administration of Chulalongkorn University - Sasin) ในหัวข้อ “The ASEAN Community in a Rapidly Changing World ” การบรรยายของนายรามอส เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงอาเซียน (ASEAN Executive Management Programme - ASEANex) จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยความร่วมมือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์

นายฟิเดล รามอส อดีตประธานาธิบดี สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ กล่าวว่า “Pax Americana” หรือภาวะสันติภาพโลกเกิดขึ้นจากการแผ่ขยายอำนาจของสหรัฐอเมริกาตลอดช่วงหกทศวรรษที่ผ่านมา ถือเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะสามารถใช้เวลาจัดการกับสถานการณ์ภายในของตัวเองได้เรียบร้อย ทั้งนี้ ผู้นำประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน (Association of Southeast Asian Nations — ASEAN) จำเป็นต้องร่วมกันสร้าง “ Pax Asia-Pacifica” หรือการรวมตัวของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของสร้างสมดุลในการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างกัน เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นประชาคมแห่งภูมิภาคอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจและความมั่นคงยังคงเป็นประเด็นหลักที่สามารถโน้มนำชาติ ASEAN ให้หันหน้าเข้ามาหากันได้ ผ่านความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความสามัคคี และความร่วมมือกันระหว่างสถาบันต่างๆ ภายใต้ ASEAN อันถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ประเทศสมาชิก ASEAN ทั้ง 10 ประเทศสามารถสร้างความเข้มแข็ง รวมทั้งเพิ่มอำนาจการแข่งขันและการต่อรองบนเวทีโลกได้

“การรวมกลุ่มประเทศสมาชิก ASEAN จะประสบความสำเร็จในระดับที่นำไปสู่การจัดตั้ง ‘ประชาคมASEAN’ ได้นั้น จำเป็นต้องมีการสร้างสถาบันที่แข็งแกร่งในระดับภูมิภาคขึ้นมา แต่ในขณะนี้ ASEAN ยังขาดสถาบันในระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่งเพียงพอ ที่จะทำให้ประเทศต่าง ๆ ปฏิบัติตามการตัดสินใจของกลุ่มได้อย่างจริงจัง” นายฟิเดล รามอส กล่าวและเปิดเผยเพิ่มเติมว่า การจะบรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) ในปี 2558 ได้นั้น ประเทศสมาชิกต้องเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจในประเทศตนเอง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความหลากหลายในการผลิต รวมถึงส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจเอกชน นอกจากนี้ผู้นำประเทศกลุ่ม ASEAN ยังต้องป้องกันไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบของประเทศที่ทรงอำนาจกว่า และต้องให้ความสำคัญกับพลเมืองอาเซียนมากขึ้น ทั้งนี้ พลเมืองเหล่านี้ถือว่า ASEAN เป็นประชาคมของตน และเป็นผู้มีส่วนได้เสียมากที่สุดในการรวมตัวกันของประเทศ ASEAN ดังนั้น ความจำเป็นในการปรับวิสัยทัศน์ของพลเมืองอาเซียนเพื่อให้เข้าใจและรู้สึกถึงความเป็นอาเซียนร่วมกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ แม้กระนั้น การที่พลเมืองอาเซียนจะรับรู้ถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจอันมีผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตของตนได้นั้น ประเทศ ASEAN ต้องเร่งการลดระดับความยากจนของครอบครัวและชุมชนให้ได้ รวมทั้งริเริ่มพัฒนาหรือปรับปรุงบริการทางด้านสาธารณสุข ที่อยู่อาศัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน และทำให้ประชาชนมีงาน มีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นต้น

อนึ่ง นายฟิเดล รามอส ดำรงประธานาธิบดีสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ระหว่างปี พ.ศ. 2535-2541 และได้เดินทางมากรุงเทพฯ เพื่อร่วมงานฉลองวัน ASEAN และงานฉลองครบรอบ 46 ปีของปฏิญญากรุงเทพฯ ที่มีการลงนามร่วมกันเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 อันเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งประชาคม ASEAN มาจนถึงปัจจุบัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital