PIM ผนึกกำลัง GISTDA ร่วมพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศชาติและสังคม

จันทร์ ๒๓ กันยายน ๒๐๑๓ ๑๓:๔๔
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) จับมือ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) นำเทคโนโลยีดาวเทียมและภูมิสารสนเทศ พัฒนาศักยภาพเด็กไทยสร้างผลงานวิจัยต่อยอดธุรกิจในอนาคต

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) สถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA (จีสด้า) ผสานการดำเนินงานร่วมกัน เดินหน้าผนวกหลักการด้านพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กับ PIM สถาบันการศึกษาที่มีความเป็น Corporate University หรือมหาวิทยาลัยโดยองค์กรธุรกิจอย่างเต็มตัว นับเป็นหนึ่งความร่วมมือทางการศึกษาเป็นแห่งแรกในระดับอุดมศึกษาของไทย เพื่อสนับสนุนนำประโยชน์ของข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม มาประยุกต์ให้มีความเอื้อต่อการจัดการด้านการศึกษา บูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนในคณะต่างๆ ที่ PIM เปิดสอนอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในระยะแรกนี้จะมีความร่วมมือทางด้านการเรียนการสอนกับทางคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร (The Faculty of Innovative Agricultural Management : IAM) ซึ่งโดยหลักสูตรได้เน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่ถูกออกแบบ ในเชิงภาคทฤษฎีควบคู่กับการฝึกปฏิบัติงานจริง (Work-based Learning) รวมถึงให้บริการด้านการศึกษาและวิชาการ เพื่อต่อยอดการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการจัดการเกษตรอันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งสององค์กร การพัฒนาบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญและความรู้ทางวิชาการ สู่การเป็นนักจัดการการเกษตรแนวใหม่ที่สามารถนำเอาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้อย่างมืออาชีพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสถานประกอบการ ชุมชน และ สังคม ประเทศชาติต่อไป

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กล่าวถึงแนวทางความร่วมมือระหว่าง สทอภ. และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในครั้งนี้ว่า เป็นก้าวสำคัญในการวิจัยและพัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศมาบูรณาการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมการเรียนการสอนโดยนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและ GIS ไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหารจัดการเกษตร และรวมไปถึงการร่วมมือจัดทำหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ทั้งสองหน่วยงานจะมีการพัฒนากรอบในการดำเนินงานและกิจกรรมที่ชัดเจนต่อไปในอนาคต

ในด้านการพัฒนาบุคลากร สทอภ.จะสนับสนุนวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลดาวเทียม และ GIS เพื่อการฝึกอบรมแก่คณาจารย์และนักศึกษาในคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตรสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ พร้อมทั้งรับนักศึกษาฝึกงาน เพื่อเรียนรู้การปฏิบัติงานจริงในภาคสนามด้านนวัตกรรมการจัดการเกษตร (IAM 2601) ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2557

นอกจากนี้ GISTDA และ สถาบันฯ จะร่วมกันดำเนินโครงการการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการด้านการเกษตรอย่างยั่งยืนและพอเพียง ภายใต้ “โครงการสร้างป่าสร้างรายได้” ในพื้นที่ 13 หมู่บ้าน จ. น่าน ซึ่งเป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อลดการทำไร่เลื่อนลอย และสร้างรายได้ของครัวเรือน อันเป็นโครงการเพื่อการช่วยเหลือสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป

รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า “ในปีการศึกษาที่ผ่านมา PIM เปิดการเรียนการสอน คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากสถาบันของรัฐ และองค์กรภาคธุรกิจเอกชน พันธมิตรในวงการเกษตรที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินการเรียนการสอนในทุกมิติให้สมบูรณ์ ความร่วมมือกับ GISTDA ครั้งนี้นับเป็นความโชคดียิ่งที่ได้มีโอกาสเป็นสถาบันฯ แห่งแรกของอุดมศึกษาในประเทศไทย ร่วมกันนำความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่าย บูรณาการศักยภาพด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ การประยุกต์ใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายดาวเทียม ใช้ให้เกิดประสิทธิผลในด้านต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม สร้างเยาวชนให้มีความรู้แบบองค์รวมด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Modern Technology) และเด่นด้านนวัตกรรม (Innovation) ภายใต้ความร่วมมือ อาทิ การเรียนการสอน การทำวิจัย ผ่านวิธีการสนับสนุนให้คณาจารย์ของสถาบันฯ นำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในการทำวิจัยด้านต่างๆ ร่วมกันกับ สทอภ., การฝึกอบรมแลกเปลี่ยนวิทยาการซึ่งกันและกัน

เทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศเป็นนวัตกรรมที่ทันสมัย หากได้มีการร่วมมือกันเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในสาขาอาชีพต่างๆแล้วจะเกิดประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่นในทางการเกษตรหากนักศึกษาสาขานวัตกรรมการจัดการเกษตรได้รับโอกาส ได้รับการเรียนรู้ และฝึกภาคการปฏิบัติงานจริงจาก GISTDA จะทำให้นักศึกษามี ความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการพื้นที่ทางการเกษตร การบริหารจัดการแหล่งน้ำ รวมถึงการประยุกต์ใช้ในระบบการจัดการเกษตรสมัยใหม่ ได้แก่ ระบบเกษตรกรรมความแม่นยำสูง (Precision Agriculture System) อันเป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการเกษตรยุคใหม่ นอกจากนี้เชื่อมั่นว่ายังมีแนวทางอื่นๆที่จะสามารถนำเทคโนโลยีทางด้านอวกาศและภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในสาขาวิชาชีพอื่นๆ ของคณะวิชาอื่นๆได้อีกอย่างเหมาะสม เช่นคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถจะร่วมกันวิจัย พัฒนา ทั้งทางด้านHardware/ Software ที่เกี่ยวข้องกับ GIS, GPS ด้านคณะบริหารธุรกิจ อาจนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ในด้านการวางแผนเลือกพื้นที่การประกอบธุรกิจอย่างเหมาะสมทั้งในประเทศและเขตอาเซียนที่มีแนวโน้มในอนาคต ตลอดจนใช้ในการวางแผนทางด้านโลจิสติกส์, นอกจากนี้ย้งมีทางคณะวิทยาการจัดการ ก็นำไปประยุกต์ใช้ด้านการวางแผนเตรียมความพร้อมรับมือความเสี่ยงภัยพิบัติ ในการจัดการอาคารสูงอย่างมีประสิทธิภาพ และหากยังมีแนวทางอื่นๆอีกที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมก็หวังว่า ทั้งสองหน่วยงานจะพิจารณากำหนดแนวทางความร่วมมือที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต อีกด้วย

จากซ้ายไปขวา คุณพรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดี PIM, รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี PIM, ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สทอภ., ดร. เชาวลิต ศิลปทอง รอง ผสทอภ.

ฝ่ายบริหารภาพลักษณ์องค์กร สำนักบริการและพัฒนาธุรกิจ

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

โทรศัพท์ 0 2141 4652 โทรสาร 02 143 9592

URL: http://www.gistda.or.th e-mail: [email protected]

สำนักสื่อสารองค์กร

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM)

02 832 0200 ถึง 14

www.pim.ac.th

[email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?