EDUCA 2013 ปีนี้ชูแนวคิด “Strong Performers and Successful Reformers”

อังคาร ๑๕ ตุลาคม ๒๐๑๓ ๑๔:๐๑
EDUCA 2013 ปีนี้ชูแนวคิด “Strong Performers and Successful Reformers”นักการศึกษาระดับโลกร่วมเวทีคับคั่ง ฟินแลนด์แบบอย่างความสำเร็จด้านพัฒนาการศึกษาย้ำ “การศึกษาต้องเท่าเทียม” ในขณะที่ฝั่งฮ่องกงเน้นเรื่องการปรับหลักสูตรให้ตรงสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

EDUCA 2013 : มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 6 ปีนี้ เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Strong Performers and Successful Reformers” ระดมนักการศึกษาชั้นนำระดับโลกร่วมเวทีการประชุมนานาชาติ อาทิ ฟินแลนด์ประเทศที่มีการพัฒนาการศึกษาได้ดีที่สุด, ฮ่องกง กับเรื่องหลักสูตรการศึกษาเพื่ออนาคต เป็นต้น พบปีนี้มีจำนวนครูลงทะเบียนล่วงหน้ามากกว่า 50,000 คน โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม 2556 ณ อิมแพคฟอรั่ม (ฮอลล์ 9) เมืองทองธานี

ด้วยแนวคิดหลักของงานปีนี้ คือ “Strong Performers and Successful Reformers” ซึ่งเป็นแนวคิด ที่ EDUCA นำมาจากรายงานการศึกษาของ OECD เมื่อปี 2011 โดย“Strong Performers” หมายถึง ประเทศที่มีความสำเร็จอย่างสูงในการพัฒนาการศึกษาได้อย่างเข้มแข็ง ส่วน Successful Reformers หมายถึง ประเทศที่สามารถก้าวผ่านอุปสรรคและยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว ทั้งหมดคือเหตุผลที่ EDUCA 2013 ได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาทั่วโลกมาร่วมงานในปีนี้ ทั้งจากประเทศที่เป็น Strong Performers และประเทศที่เป็น Successful Reformers มาร่วมบนเวทีการประชุมนานาชาติ

เริ่มด้วยดร.พาสี ซาลเบิร์ก อธิบดีกรมพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางกาศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมฟินแลนด์ เป็นผู้เริ่มการสัมมนาเป็นท่านแรก โดยเนื้อหาการสัมมนา คือ “บทเรียนด้านการศึกษาจากฟินแลนด์ : การเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จ” ซึ่ง ดร.พาสี ซาลเบิร์ก ได้กล่าวว่า “ความพยายามในการพัฒนาการศึกษาของฟินแลนด์ คือ การพัฒนาด้านความเท่าเทียมกัน โดยเน้นให้เด็กทุกคน ทุกระดับชั้นได้รับการศึกษาที่เท่ากันทั้งประเทศ ดังนั้น ประเทศฟินแลนด์จึงส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนฟรีทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มาจากครอบครัวระดับรัฐมนตรี หรือเด็กที่มาจากครอบครัวธรรมดาๆ ก็ตาม โดยเขาได้กล่าวถึงการพัฒนาการศึกษาโดยมุ่งเน้นไปที่ Global Education Reform Movement หรือ GERM ซึ่งหมายถึง การวัดการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาทั้งโลก อ้นประกอบไปด้วย 1) ด้านการแข่งขัน ซึ่งฟินแลนด์จะไม่เน้นระบบการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นระดับนักเรียน หรือระดับโรงเรียน แต่จะเน้นเรื่องความร่วมมือกันในการพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีในอนาคต 2) มาตรฐาน พบกว่าการมีมาตรฐานที่ชัดเจนเกินไป จะทำให้ปิดกันความคิดสร้างสรรค์ทั้งของครูและนักเรียน ดังนั้น เน้นเรื่องความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนการสอน 3) ความน่าเชื่อถือ ซึ่งหมายความไปถึงทั้งครู และนักเรียนที่มีความสามารถที่น่าเชื่อถือ มีการทดสอบความสามารถที่ดี และ 4) มีโรงเรียนที่หลากหลาย ที่เหมาะแก่ความต้องการของนักเรียนที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆ ที่ต่างกัน โดยเชื่อว่าการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองสนใจ จะทำให้เด็กไปได้ดีกว่าการถูกบังคบให้เรียนตามที่ถูกกำหนดไว้ และจากแนวคิด GERM นี้ ทำให้ประเทศฟินแลนด์มีการพัฒนาการด้านการศึกษาที่ดีขึ้นเป็นลำดับ นอกจากนี้ ดร.ซาลเบิร์กยังได้กล่าวถึงนโยบายหลัก 3 ประการในการพัฒนาการศึกษาของฟินแลนด์ คือ 1) Common School for all คือ โรงเรียนที่มีมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ , 2) Less is Better น้อยๆ ดีกว่า นั้นหมายรวมถึงทั้งด้านการสอนที่ไม่ได้เน้นให้ครูมีชั่วโมงการสอนจำนวนมาก เนื่องจากเห็นว่าหากครูมีชั่วโมงการสอนมากก็ยิ่งจะทำให้ครูมีเวลาในการวางแผนการสอนได้น้อยลง นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการสั่งการบ้าน หรือการเรียนพิเศษที่ฟินแลนด์ไม่ได้ให้ความสำคัญ จนสามารถพบได้ว่าเด็กฟินแลนด์ จะเรียนช้ากว่าเด็กประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ถึง 2 ปี และ 3) Systematic Focus on Equity ความเท่าเทียมกันเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก

โดยสรุป คือ เราควรสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนการสอนให้ทั้งแก่ครู และนักเรียน, ให้ความเท่าเทียมกันทางการศึกษาอย่างมากที่สุด, ความร่วมมือเป็นสิ่งสำคัญกว่าการแข่งขัน และให้เวลาเด็กในการเล่น เพื่อส่งเสริมจินตนาการและสร้างสังคมการเรียนรู้”

ด้านศาสตราจารย์ ไค มิง เชง ศาสตรจารย์เกียรติยศด้านครุศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง ได้กล่าวถึงหัวข้อ หลักสูตรการศึกษาเพื่ออนาคต Vice-Chancellor,University of Hong Kong ว่า “ในฮ่องกง ถ้าจะพูดถึงระบบการศึกษานั้น ก็เป็นได้ทั้ง Strong Performers และ Successful Reformers ดังนั้น การปฏิรูปหลักสูตร จึงอาจเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของการพัฒนาการศึกษาในหลายๆประเทศ รวมถึงประเทศฮ่องกงด้วย ซึ่งฮ่องกงใช้เวลาเป็น 10 ปี เพื่อค้นคว้าว่า เราจำเป็นต้องมีการปฏิรูปการศึกษาเพื่ออะไร เราจึงมีคำถามพื้นฐานสำหรับเรื่องนี้ คือ เรากำลังพยายามพัฒนาการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น หรือ เรากำลังพัฒนาการศึกษาให้ต่างไปจากเดิม โดยตั้งสมมติฐานการศึกษาให้เหมือนธุรกิจ ด้วยการแบ่งระดับออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.ระดับมหภาค คือ สังคมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 2.ระดับจุลภาค คือ ผู้เรียนจะเรียนรู้อย่างไร ด้วยหลักสูตรและอาจารย์ คำตอบที่เราได้ คือ เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงและยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องนั้น ทำให้การศึกษาจึงจำเป็นต้องถูกพัฒนาให้แตกต่างอยู่เสมอ โดยใช้องค์ประกอบของการปฏิรูปการศึกษา คือ โครงสร้าง หลักสูตร และการประเมินผล” พร้อมกล่าวสรุปเพิ่มเติมว่า “รูปแบบการเรียนรู้เพื่อธุรกิจรูปแบบเก่าๆ จึงไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป เพราะในอดีตเราเตรียมคนเพื่องาน แต่ปัจจุบันเมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เราจึงต้องปรับเด็กของเรา เพื่อที่จะเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ได้จริง และยอมรับที่จะเปลี่ยนแปลง เราจึงต้องใส่ใจในเรื่องของการวิจัยเพื่อปรับเปลี่ยนเรื่องการเรียนรู้ ศึกษาหาความหมายของมันให้ได้ และเรียนรู้จากการกระทำ กิจกรรม และประสบการณ์จากการเรียนรู้”

ศาสตราจารย์ ดร. ชารอน ฟีแมน — เนมเซอร์ ศาสตราจารย์ แมนเดล ด้านศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแบรนดีส์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เน้นเกี่ยวกับครุศึกษาเพื่ออนาคต มองครุศึกษาแบบกลับด้าน เป็นการมองที่เปลี่ยนจากการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ มาเป็นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจริงในชั้นเรียน สภาพแวดล้อมในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน ก็เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นการเรียนการสอนเด็กให้เข้าใจในการเรียนเพิ่มมากขึ้น การสอนนอกห้องเรียนนั้นครูก็ต้องเข้าใจในเนื้อหาอย่างมาก ไม่เน้นเนื้อหาและบทเรียน เน้นเชิงการปฏิบัติจริง เพื่อฝึกให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง การจัดกิจกรรมต่างๆ ก็สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิ์ภาพที่ดีขึ้นได้ ครูต้องมีเทคนิคในการสอนเด็ก ถ้าครูตั้งคำถาม ให้เด็กตอบ ก็ต้องรอให้เด็กคิดคำตอบประมาณ 30 วินาที เพื่อฝึกให้เด็กได้คิด และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามและสนใจในการสอนของครูมากขึ้น ครูนั้นต้องมีกลยุทธ์ในการสอน และต้องไม่เน้นเนื้อหาเพียงวิชาใด วิชาหนึ่ง ต้องเรียนรู้เนื้อหาให้ได้ทุกๆวิชา ครูต้องคอยสังเกตสิ่งรอบๆภายนอกห้องเรียนอยู่เสมอด้วย เพื่อไว้ปรับเปลี่ยนในการสอน เพื่อไม่ให้เด็กเบี่อ และไม่สนใจเรียน ครูต้องมีโมเดล เพื่อให้นักเรียนอยากเรียนรู้ มีแนวทางในการสอนที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

“ในฐานะผู้จัดงาน EDUCA มาตลอดระยะเวลากว่า 7 ปี ผมเชื่อว่าการมีส่วนร่วม ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาวิชาชีพครู โดยใช้โมเดล Public and Private Partnership (PPP) จะมีส่วนผลักดันให้เราก้าวพ้นกับดักในการพัฒนาการศึกษา สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างสำเร็จ สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไปได้ สอดคล้องกับแนวคิด Strong Performers and Successful Reformers ของงาน EDUCA 2013 ในปีนี้” นายศีลชัย เกียรติภาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวในฐานะผู้จัดงาน EDUCA กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้