บริษัท ซิกม่า เอลิเวเตอร์เปิดตัวโครงการ ’เดินทางปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยมาโรงเรียน’ โดยการบริจาคหมวกนิรภัยให้กับเยาวชนในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร

พุธ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๐๑๓ ๑๔:๑๗
ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 บริษัท ซิกม่า เอลิเวเตอร์ได้มอบหมวกนิรภัยให้แก่นักเรียนและคณาจารย์ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนบ้านคูคตพัฒนาในกรุงเทพมหานคร โดยร่วมมือกับมูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย(AIP Foundation) ในโครงการ “เดินทางปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยมาโรงเรียน”

การบริจาคหมวกนิรภัยให้แก่เยาวชนจะจัดขึ้น โดยมีผู้สนับสนุนหลักมาร่วมงาน ได้แก่ คุณเค จาง กรรมการผู้จัดการบริษัทซิกม่า เอลิเวเตอร์ คุณธีระชัย ลาสา ผู้จัดการฝ่ายจริยธรรมองค์กรและความปลอดภัย คุณแอนนา ซอน ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร คุณสุจินต์ โชติจารุไชยา ผู้จัดการฝ่ายขายอุปกรณ์ใหม่ คุณไกลกังวล นีละไพจิตร ผู้จัดการฝ่ายขายงานบริการ และ คุณสุรศักดิ์ หงษ์ทอง ผู้จัดการฝ่ายติดตั้ง นอกจากนี้ ภายในงาน ยังมีการแสดงของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้ถนนอย่างปลอดภัย การกล่าวสนับสนุนกิจกรรมเพื่อถนนปลอดภัยโดยกรรมการผู้จัดการบริษัท ซิกม่า เอลิเวเตอร์ และ ผู้อำนวยการมูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชีย เกมถนนปลอดภัย และ การสาธิตการสวมหมวกนิรภัยอย่างถูกต้อง

คุณเค จาง กรรมการผู้จัดการบริษัทซิกม่า เอลิเวเตอร์กล่าวว่า “บริษัทซิกม่า เอลิเวเตอร์ ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นอย่างมาก ทางบริษัทให้ความสำคัญเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสูงที่จะส่งผลต่อผู้บริโภค พนักงาน และผู้รับเหมาของบริษัท” “ในปีนี้ ถือเป็นปีที่ 2 สำหรับบริษัท ซิกม่า เอลิเวเตอร์ ในการเป็นผู้สนับสนุนโครงการเดินทางปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยมาโรงเรียน โดยการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในชุมชนท้องถิ่น พร้อมทั้งรับรองความปลอดภัยของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ตลอดทั้งเสริมสร้างความตระหนักเรื่องความปลอดภัยผ่านการให้ความรู้ด้านความปลอดภัย”

ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนบ้านคูคตพัฒนาตั้งอยู่ในเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ซึ่งบริเวณโดยรอบโรงเรียนไม่มีทางเท้าสำหรับนักเรียน สถานการณ์ทางถนนที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ทำให้นักเรียนกลุ่มนี้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและประสบอุบัติเหตุ บางกรณีอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งในปีพ.ศ.2554 ประเทศไทยมีผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน 68,582 ครั้งและมีผู้เสียชีวิต 14,033 คน

นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนบ้านคูคตพัฒนามีอายุระหว่าง 2-6 ปี ซึ่งเป็นเด็กที่อยู่อาศัยในพื้นที่นี้และเด็กในพื้นที่ที่มีรายได้น้อย ดังนั้นการซื้อหมวกนิรภัยให้เด็กเล็กจึงไม่สามารถทำได้ และผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความคิดว่าเด็กเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ไม่สามารถใช้หมวกนิรภัยได้นาน รวมทั้งเด็กใช้เวลาน้อยในการนั่งรถจักรยานยนต์ ตลอดทั้งมีความเข้าใจผิดในการให้เด็กนั่งข้างหน้าผู้ปกครองขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ ซึ่งส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางศีรษะจากการชน ดังนั้น การเข้าถึงและตรวจสอบเด็กให้สวมใส่หมวกนิรภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ

“หมวกนิรภัยสามารถลดอัตราความเสี่ยงในการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนได้ถึง 69 เปอร์เซ็นต์และลดอัตราการเสียชีวิตได้ 42 เปอร์เซ็นต์” กล่าวโดย คุณรัตนวดี เหมนิธิ วินเทอร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชียประจำประเทศไทย “เด็กเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงที่สุดในการใช้ถนน ดังนั้น นับเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรเริ่มจากก้าวเล็กๆ เพื่อช่วยกันป้องกันอุบัติเหตุหรือการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้น ทางมูลนิธิหวังว่าเด็กเหล่านี้จะสามารถนำความรู้เรื่องการใช้ถนนอย่างปลอดภัยที่เรียนรู้ในวันนี้ไปปฏิบัติต่อไปในอนาคต และเห็นคุณค่าของการสวมหมวกนิรภัย”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital