จัดการปัญหาขยะล้นเมือง เริ่มวันนี้ เริ่มที่ตัวเรา

อาทิตย์ ๐๘ ธันวาคม ๒๐๑๓ ๑๕:๕๕
ในปี พ.ศ. 2556 เมื่อกรุงเทพฯ เข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผู้คนจะหลั่งไหลเข้าสู่กรุงเทพฯ มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อปัญหาขยะที่ตามมา จากผลสำรวจพบว่า ?กรุงเทพฯ เป็นแหล่งผลิตขยะมูลฝอยที่ใหญ่สุดในประเทศ? ปริมาณขยะที่คนกรุงเทพฯ ช่วยกันสร้างมีมากกว่า 3.2 ล้านตันต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้ทั้งประเทศ

ในปี พ.ศ. 2555 พบว่ามีประชากรในกรุงเทพฯ ตามทะเบียนราษฎร์ และประชากรแฝงทั้งสิ้น จำนวน 10,477,700 คน (ผลการศึกษาของ IBIC) โดยมีปริมาณขยะที่จัดเก็บได้ในแต่ละวันเฉลี่ยอยู่ที่ 9,774.45 ตันต่อวัน (ข้อมูลงบประมาณปี 2555) หมายความว่า 1 วินาที จะมีขยะเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ กว่า 100 กิโลกรัม และในแต่ละวัน คนกรุงเทพฯ 1 คน จะมีส่วนสร้างขยะประมาณคนละกว่า 1 กิโลกรัม หากปริมาณขยะมูลฝอยต่อคนยังเป็นเช่นนี้ต่อไป คาดว่าในปี พ.ศ. 2569 กรุงเทพมหานคร (กทม.) ต้องทำการจัดเก็บขยะมูลฝอยถึงวันละ 19,273 ตัน หรือกว่า 7,000 ล้านกิโลกรัมต่อปี

การคัดแยกขยะจึงกลายเป็นทางออกว่าควรจัดการขยะแต่ละประเภทอย่างไร ทุกวันนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน สร้างขยะมากถึง 15 ล้านตันต่อปี หรือ 40,000 ตันต่อวัน กทม. เล็งเห็นความสำคัญของการแปลงขยะกลับมาเป็นทรัพยากร จึงได้ริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อรณรงค์ให้คนกรุงเทพฯ ตระหนักถึงคุณค่าของขยะเหลือใช้ โดยที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร ทำการใช้ประโยชน์จากขยะ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. การใช้ประโยชน์จากขยะที่เป็นแหล่งกำเนิด คือ การจัดการมูลฝอยโดยชุมชนเพื่อชุมชนน่าอยู่ กทม. จัด ?โครงการจัดการมูลฝอยโดยชุมชน? (Community Base Solid Waste Management : CBM) ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยในชุมชน เพื่อตอบรับแนวคิดชุมชนน่าอยู่ ด้วยการใช้พลังชุมชนในการจัดการปัญหาต่างๆ โดยปี พ.ศ. 2552 มีชุมชนนำร่องในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต เขตละ 2 ชุมชน รวมทั้งสิ้น 12 ชุมชน ซึ่งผลการดำเนินงานช่วยให้ปริมาณขยะในชุมชนลดลงถึงร้อยละ 39 และปี พ.ศ. 2553 มีการขยายผลไปยัง 50 สำนักงานเขต เขตละ 1 ชุมชน และปี พ.ศ. 2554 ขยายผลอีกเขตละ 5 ชุมชน รวมทั้งสิ้น 312 ชุมชน

กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน กทม. ดำเนินการโดยให้เจ้าหน้าที่เขตเข้าไปให้คำปรึกษา และแนะนำวิธีการจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมถึงการสร้างอาสาสมัครและสนับสนุนให้คนในชุมชนหันมาสนใจ ให้ความร่วมมือเพื่อจัดการกับขยะชุมชน ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่

ของขายได้ ทุกบ้านคัดแยกวัสดุรีไซเคิล แยกประเภทใส่กล่องกระดาษหรือถุงไว้ขาย โดยนัดร้านให้มารับซื้อในพื้นที่ หรือผู้นำจะลงหุ้นเป็นธนาคารขยะและรับซื้อเองก็ได้ การทำปุ๋ยหมัก ทุกบ้านคัดแยกขยะอินทรีย์กลับมาใช้ประโยชน์ โดยหมักทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ หมักปุ๋ยใบไม้แห้งร่วมกับเศษอาหาร ปุ๋ยหมักทาคาคูระ หรือใช้เป็นอาหารสัตว์ ถังขยะของตนเอง ทุกบ้านจัดการถังขยะในบ้านตนเอง โดยแยกเป็น 2 ถัง ถังที่ 1 ใส่ขยะเศษอาหาร ถังที่ 2 ใส่ขยะทั่วไป ส่วนวัสดุรีไซเคิลใส่กล่องหรือถุงที่ใช้แล้ว และขยะอันตรายแยกไว้อีกถุงหนึ่ง จากนั้นนัดสำนักงานเขตให้มาเก็บขยะให้เป็นเวลา จัดเก็บแล้วก็ทำการล้างถังขยะให้สะอาด เพื่อลดกลิ่นเหม็น ถนนปลอดถัง เมื่อทุกบ้านมีถังขยะในบ้านแล้ว จึงขอมติจากชาวชุมชนให้เก็บถังริมถนนออก แล้วปรับปรุงภูมิทัศน์หน้าบ้านด้วยไม้ดอกไม้ประดับ ใช้ปุ๋ยที่ผลิตเองบำรุงรักษาต้นไม้ ช่วยให้หน้าบ้านสวยงาม ลดความถี่ในการเก็บรวบรวมขยะ เมื่อขยะลดลงและไม่มีกลิ่นเหม็น เนื่องจากคัดแยกเศษอาหารอันเป็นสาเหตุของกลิ่นเหม็นแล้ว ประกอบกับขยะเต็มถังช้าลง เนื่องจากคัดแยกไปขายและหมักทำปุ๋ยแล้ว ชาวชุมชนสามารถกำหนดวันเก็บขยะให้มีความถี่น้อยลง จากจัดเก็บทุกวัน เป็นวันเว้นวัน แล้วพัฒนาให้เป็น 3-4 วันต่อครั้งและสัปดาห์ละครั้งต่อไป

2. การใช้ประโยชน์จากขยะที่เก็บรวบรวมแล้ว เมื่อ กทม. จัดเก็บขยะจากบ้านเรือน จะนำไปรวบรวมที่โรงงานกำจัดขยะ ซี่งมีอยู่ 3 แห่ง คือ อ่อนนุช สายไหม และหนองแขม จากนั้นนำไปฝังกลบในพื้นที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เฉลี่ยวันละ 8,700 ตัน มีขยะเพียง 1,100 ตัน ที่ถูกนำเข้าโรงงานคัดแยกขยะมาใช้ประโยชน์ ซึ่งจะได้วัสดุรีไซเคิลประมาณ 100 ตันต่อวัน เศษอาหารขยะอินทรีย์ประมาณ 600 ตันต่อวัน ขยะที่ไม่ย่อยสลายประมาณ 400 ตันต่อวัน และนำไปหมัก 30 วัน แล้วนำไปเข้าเครื่องแยกปุ๋ยหมักออกจากขยะอื่นๆ ได้ปุ๋ยหมักเฉลี่ยวันละ 300 ตันต่อวัน ขยะที่ย่อยไม่ได้จะถูกนำไปทำเชื้อเพลิงในโรงปูนซีเมนต์

ส่วนสิ่งปฏิกูล (อุจจาระ) จากบ้านเรือนจะถูกส่งไปยังโรงงานกำจัดสิ่งปฏิกูล เพื่อนำไปผ่านกระบวนการ ทำให้ได้กากตะกอนจำนวนมาก กทม. ได้นำกากตะกอนเหล่านี้ไปผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยผ่านกระบวนการหมักร่วมกับ เศษใบไม้ กิ่งไม้ ที่ผ่านการบดย่อยจากเครื่องจักร ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้นำไปใช้ในหน่วยงานราชการต่างๆ ที่ต้องการ ช่วยลดค่าใช้จ่ายการฝังกลบ และงบประมาณในการซื้อปุ๋ย ทั้งยังเป็นการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งได้เฉลี่ยวันละ 700 ตันต่อวัน

ในอนาคต กทม. กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีการนำความร้อนมาใช้ประโยชน์กำจัดขยะมูลฝอยแทนการฝังกลบที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง จึงมีโครงการสร้างเตาเผามูลฝอยที่สามารถนำพลังงานความร้อนมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า รวมทั้งสิ่งที่เหลือจากการเผา คือ เถ้า สามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดยให้เหลือกากนำไปฝังกลบให้น้อยที่สุด

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาขยะล้นเมือง เริ่มที่ตัวคุณผ่านการคัดแยกขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพฯ รักกรุงเทพฯ ร่วมสร้างกรุงเทพฯ ด้วย 10 นโยบายหลัก กับ 6 มาตรการเร่งด่วนกับ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้