เทศบาลนครโตเกียวจับมือหลายหน่วยงานจัดการประชุม “Culture and Social Innovation: Tokyo Conference 2013”

จันทร์ ๑๖ ธันวาคม ๒๐๑๓ ๑๐:๐๘
เทศบาลนครโตเกียว, สำนักงานโครงการสร้างสรรค์วัฒนธรรมแห่งโตเกียว ในสังกัดมูลนิธิเพื่อประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งนครโตเกียว (TMFHC) และสมาคมบริษัทผู้ส่งเสริมศิลปะ ร่วมกันจัดงาน “Culture and Social Innovation: Tokyo Conference 2013” เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2556 ภายใต้ธีม “Cultural Perspectives in Re-thinking Economics” โดยแขกผู้มีเกียรติทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติจากหลากหลายสาขาอาชีพได้มาร่วมกันแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในงานนี้

(ภาพ: http://prw.kyodonews.jp/opn/release/201312137001/)

ศจ.โจเซฟ โวกล์ จากมหาวิทยาลัยฮัมโบลด์ทแห่งเบอร์ลิน ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพื่อสืบหาว่า การเปิดเสรีตลาดการเงินทำให้รัฐและตลาดมีการพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้นได้อย่างไร และเพราะเหตุใดจึงมีอิทธิพลอย่างมากเหนือเศรษฐกิจโลกและสังคมต่างๆ ขณะที่นายคัตสึฮิโตะ อิวาอิ ศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งมหาวิทยาลัยคริสเตียนสากลในโตเกียว ได้กล่าวถึงการแพร่กระจายและศักยภาพของความสัมพันธ์แบบ “ไว้วางใจซึ่งกันและกัน” ในสังคมต่างๆ ซึ่งต้องการผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะทางมากขึ้นและให้ความสำคัญกับการแสวงหาความรู้และข้อมูล

นอกจากผู้บรรยายหลักทั้งสองท่านแล้ว แขกคนสำคัญอีกหลายท่าน ได้แก่ ปาสคาล บรูเน็ต ผู้อำนวยการสมาคม Relais Culture Europe, เฟเลนเซีย ฮูตาบารัต ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์, คาซูฮิโกะ ยาซากิ ประธานและซีอีโอบริษัท Felissimo Corporation และจุนยะ ยามาอิเดะ กรรมการบริหาร NPO “BEPPU PROJECT” ยังเข้าร่วมการอภิปรายเป็นคณะโดยมีนายทาเนโอะ คาโตะ ที่ปรึกษาผู้บริหาร TMFHC รับหน้าที่เป็นประธาน โดยทั้งหมดได้หารือในประเด็นการสร้างความเข้าใจระหว่างประเทศต่างๆทั่วโลกโดยเคารพวัฒนธรรมที่แตกต่างและความหลากหลายของแต่ละประเทศ รวมถึงประเด็นความหมายร่วมสมัยของประโยชน์ต่างตอบแทน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจแบบไม่อิงการเงินในรูปแบบอื่นๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทัศนคติจากการเอาตัวเองเป็นที่ตั้งไปสู่การทำเพื่อประโยชน์สูงสุดของสังคม

สิ่งที่ได้รับรู้จากการประชุมในครั้งนี้คือ ศักยภาพของศิลปะในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมรูปแบบใหม่ในลักษณะของ “พื้นที่สาธารณะ” ในสังคมต่างๆซึ่งประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองและเศรษฐกิจน้อยลง รวมถึงประเด็นที่ว่าศิลปะและวัฒนธรรมสร้างทางเลือกให้กับระบบทุนนิยมซึ่งเป็นระบบที่พึ่งพาอำนาจเป็นหลัก ด้วยการทำให้รูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมีความแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล

นอกจากนั้นยังมีการหารือในเรื่องของโลกาภิวัตน์ทางด้านวัฒนธรรม และการรักษาความหลากหลายท่ามกลางสภาพการณ์เช่นนี้ ทั้งนี้ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของการประชุม (http://tokyo-conference.jp) จะเผยแพร่คลิปวิดีโอบันทึกการประชุม และสรุปผลการประชุมในภายหลัง

แหล่งข่าว: สำนักงานโครงการสร้างสรรค์วัฒนธรรมแห่งโตเกียว

ติดต่อ:

มากิโกะ ยามากุจิ (Makiko Yamaguchi)

สำนักงานโครงการสร้างสรรค์วัฒนธรรมแห่งโตเกียว

มูลนิธิเพื่อประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งนครโตเกียว (TMFHC)

โทร. +81-3-5638-8803

อีเมล: [email protected]

AsiaNet 55322

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ