วิศวลาดกระบังจัดงาน THAILAND’S FIRST SPACE TRAVELLER คนไทยคนแรกเดินทางท่องอวกาศ

จันทร์ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๔ ๐๘:๓๙
วิศวลาดกระบังจัดงานTHAILAND’S FIRST SPACE TRAVELLERคนไทยคนแรกเดินทางท่องอวกาศและความสำคัญของการศึกษาวิจัยชั้นบรรยากาศที่มีต่อชีวิต เศรษฐกิจและประเทศชาติ

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ( สจล. )เป็นประธานจัดงาน “THAILAND’S FIRST SPACE TRAVELLER ” พิรดา เตชะวิจิตร์ คนไทยคนแรกเดินทางท่องอวกาศในต้นปี 58 นี้จากความท้าทาย สู่ความฝันของมนุษยชาติ พร้อมจัดเสวนาและนิทรรศการผลงานวิจัยด้านอวกาศของภาควิชาโทรคมนาคม เผยถึงความสำคัญของชั้นบรรยากาศที่มีต่อชีวิต เศรษฐกิจและประเทศชาติ และได้เปิดศูนย์ข้อมูลไอโอโนสเฟียร์และจีเอ็นเอสเอส เป็นที่แรกของประเทศไทย ทั้งนี้วิศวลาดกระบังมีแผนจะเตรียมการเปิดหลักสูตรวิศวกรรมอวกาศในอนาคตอีกด้วย เพื่อรองรับประเทศชาติที่ยังขาดบุคลากรทางอวกาศและโทรคมนาคมอีกมาก

( ในภาพจากขวา ไป ซ้าย : รศ.ดร.ยุทธพงษ์ รังสรรค์เสรี ประธานสาขาวิชาโทรคมนาคม วิศวลาดกระบัง,ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดี,น.ส.พิรดา เตชะวิจิตร์ ศิษย์เก่าวิศวลาดกระบังผู้ได้รับเลือก,รศ.ดร.พรชัย ทรัพย์นิธิ หัวหน้ากลุ่มโครงการ,ผศ.ประเสริฐ เคนพันค้อ และผศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น รองคณบดี )

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ( Prof.Dr.Suchatvee Suwansawat ) คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ( สจล. )เปิดเผยว่า “ในโอกาสที่คุณพิรดา เตชะวิจิตร์ ศิษย์เก่าวิศวลาดกระบังและเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 23 คน ที่จะเดินทางท่องอวกาศกับเครื่องบินลิงซ์ มาร์ค ทู (LYNX MARK II)ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดเดินทางต้นปี 2558 นี้นับเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย คณะวิศวลาดกระบังจัดงานเสวนาขึ้นเพื่อต้องการกระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจแก่เยาวชนคนรุ่นใหม่และคนไทยสนใจตื่นตัวศึกษาชั้นบรรยากาศที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน เศรษฐกิจและประเทศชาติ เช่น การสื่อสารดาวเทียม,การขุดเจาะปิโตรเลียม , การควบคุมการบิน,การติดตามเฝ้าระวังและจัดการภัยพิบัติ ไฟป่า น้ำท่วม,การสำรวจทรัพยากร,การรังวัดที่ดิน,การถ่ายทอดรายการโทรทัศน์ เป็นต้น เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากอวกาศเป็นไปอย่างสูงสุดและเป็นประโยชน์สาธารณชน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.ยังได้นำเสนอผลงานวิจัยด้านอวกาศและชั้นบรรยากาศ โดยปัจจุบัน สจล.เปิดสอนหลักสูตรวิสวกรรมโทรคมนาคม ซึ่งมีแผนที่จะพัฒนาเพื่อเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมอวกาศในอนาคต เพื่อผลิตบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ออกมารับใช้ประเทศชาติ พร้อมทั้งเชิญชวนให้ร่วมกันอนุรักษ์ชั้นบรรยากาศด้วยการลดมลพิษทางอากาศ และลดขยะอวกาศอันเกิดจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและถูกทิ้งไว้ในวงโคจรรอบโลก มีทั้งซากจรวดและดาวเทียมรวมไปถึงชิ้นส่วนที่เกิดขึ้นหลังจากการชนกันหรือถูกทำลาย เพื่อให้โลกของเราจะได้น่าอยู่ยิ่งขึ้น “

PR AGENCY : บ.เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (BrainAsia Communication)

Tel. : ประภาพรรณ 02-911-3282

Fax. : 02-911-3208 E-mail : [email protected] Website : brainasia.co.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๓๙ สมาคมธนาคารไทย ออกแนวทางช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบางทั้งลูกค้าบุคคลและSME
๑๔:๐๒ ผู้ลงทุนเชื่อมั่น โลตัส (Lotus's) จองซื้อหุ้นกู้เต็มจำนวน 9 พันล้านบาท
๑๔:๑๕ สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รูดช้อปรับคุ้ม! รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5%
๑๔:๔๘ MASTER ประชุมผู้ถือหุ้นปี 67 ผ่านฉลุย ไฟเขียวจ่ายปันผล เดินหน้าสร้างโอกาสโตตามกลยุทธ์ MP
๑๔:๔๓ ธนาคารกรุงเทพ จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนาม MOU ส่งเสริมการผลิตบุคลากร-พัฒนาศักยภาพ-ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีดิจิทัล
๑๔:๒๐ ITEL จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. เห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผลอัตรา 0.0696 บ./หุ้น
๑๔:๒๙ ไทยพาณิชย์ ตอกย้ำกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch เปิดตัว โปรจีน อาฒยา นักกอล์ฟหญิงระดับโลก เป็น Brand
๑๔:๓๐ KCG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.30 บาทต่อหุ้น
๑๔:๔๙ บาฟส์ ประกาศความสำเร็จ ลุยขยายโครงข่ายขนส่งน้ำมันทางท่อ เชื่อมต่อเครือข่ายพลังงานทั่วไทย
๑๔:๓๙ บีโอไอจับมือพันธมิตร จัดงาน SUBCON Thailand 2024