แปรรูปอาหารจากแมลงแหล่งโปรตีนสำรอง

อังคาร ๐๔ มีนาคม ๒๐๑๔ ๑๑:๕๔
มหาวิทยาลัยขอนแก่นจับมือเกษตรจังหวัดมหาสารคามชูแมลงเป็นแหล่งอาหารโปรตีนสำรองทางเลือกของมนุษย์ ลดปัญหาการขาดแคลนอาหาร พร้อมสอนวิธีแปรรูปอาหารจากแมลง หวังกระตุ้นให้มีผู้สนใจบริโภคแมลงมากขึ้น

เมื่อเร็วๆนี้ ที่ห้องประชุมพิรุณ ๒ สำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม ว่าที่ ร.ต.จักรภัทร ผ่องโอภาส เกษตรจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในการถ่ายทอดความรู้การแปรรูปอาหารจากแมลง ภายใต้ความร่วมมือมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับสำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม

รองศาสตราจารย์ ดร.ยุพา หาญบุญทรง อาจารย์ประจำสาขาวิชากีฏวิทยา ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และที่ปรึกษาด้านแมลงกินได้ ขององค์กร อาหารเพื่อการเกษตรแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่มีการเพาะเลี้ยงแมลงกินได้เมื่อ 15 ปีที่แล้ว โดยได้มีการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อเป็นอาหาร ทำให้แมลงกินได้ของไทยเป็นที่รู้จักทั่วโลก ขณะนี้ประชากรโลกมีประมาณ 7 พันล้านคน อีกประมาณ 30-40 ปี ข้างหน้าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 9 พันล้านคน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นทุกปี ปัญหาคือ ในอนาคตพืชอาหารอื่นๆ จะไม่พอต่อความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงอาหารโปรตีน แมลงเป็นแหล่งโปรตีนที่ราคาถูกและใช้พื้นที่น้อยในการผลิต ขณะเดียวกันก็ผลิตได้ในปริมาณมาก ขณะที่สัตว์อื่นๆซึ่งเป็นแหล่งอาหารโปรตีน ไม่สามารถที่จะผลิตให้เพียงพอต่อผู้บริโภคในอนาคตได้ ด้วยมีพื้นที่ในการผลิตจำกัด ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จึงไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้แมลงจึงเป็นแหล่งโปรตีนอาหารสำรองอีกทางเลือกหนึ่ง การที่จะให้ประชาการโลกหันมาบริโภคแมลงเป็นอาหาร จึงต้องให้ความสำคัญมาตรฐานอาหารจากแมลงโดยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงรู้จักวิธีการแปรรูปอาหารจากแมลง ซึ่งครั้งนี้ได้ถ่ายทอดความรู้พร้อมฝึกปฏิบัติให้สามารถนำไปขยายผลต่อได้ ในการทำขนมคุกกี้ ข้าวเกรียบ และน้ำพริกจากจิ้งหรีด ให้กับกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร

ว่าที่ ร.ต.จักรภัทร ผ่องโอภาส เกษตรจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า การเลี้ยงจิ้งหรีดในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เฉพาะที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านมะค่า ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย มีสมาชิกและเครือข่ายกว่า 280 ครอบครัวยึดอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดและแมงสะดิ้ง มีผลผลิตออกสู่ตลาดวันละประมาณ 2,000-3,000 กิโลกรัม ทำรายได้เข้าหมู่บ้านไม่ต่ำกว่าปีละ 60-70 ล้านบาท โดยแต่ละปีจะสามารถเลี้ยงได้ 4-5 รุ่น แต่ละรุ่นก็สร้างรายได้ถึง 16 ล้านบาท

เกษตรกรที่สนใจการเลี้ยงจิ้งหรีด หรือการแปรรูปอาหารจากจิ้งหรีด ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเกษตรใกล้บ้าน หรือติดต่อสอบถามโดยตรงกับเกษตรจังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์หมายเลข ๐๘๑-๗๙๐๕๒๕๖ และหมายเลข ๐๘๘-๕๔๙๗๙๔๔

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ