คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ศรีปทุม พัฒนาหลักสูตรการศึกษา สร้างบัณฑิตไอทีสายพันธุ์ใหม่

พุธ ๑๒ มีนาคม ๒๐๑๔ ๑๐:๒๐
ประเทศไทย รวมถึงหลายประเทศในระดับภูมิภาคอาเซียนมีความต้องการบุคลากรด้านไอซีทีจำนวนมาก และปัจจุบันต้องยอมรับว่ายังขาดแคลนอยู่ ทำให้สถาบันการศึกษาต้องเร่งผลิตบัณฑิตในสายอาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรม ส่งเสริมการแข่งขันและพัฒนาประเทศให้โดดเด่นในเวทีระดับโลก

ดร.ธนา สุขวารี รองคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ม.ศรีปทุมไม่เพียงแต่ผลิตบัณฑิตเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความโดดเด่นและแตกต่างจากสถาบันการศึกษาอื่นๆ ถือเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งกระบวนการที่จะหล่อหลอมให้ได้บุคลากรที่มีลักษณะเฉพาะนั้น ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ความเข้าใจในตัวเด็กและเยาวชน พัฒนาหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้อง ส่งเสริมและสนับสนุนให้ตรงกับความต้องการของตลาด หรือพร้อมจะเป็นผู้ประกอบการใหม่ได้

สาขาวิชาที่กำลังเป็นที่สนใจและมีความต้องการแรงงานเป็นจำนวนมากคือ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น ซึ่งเป็น 1 ใน 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชัน ที่มีการเปิดสอนในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรปริญญาตรีของ ม.ศรีปทุม เนื่องจากปัจจุบันการใช้งานอุปกรณ์โมบาย เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และโน้ตบุ๊ก เป็นที่แพร่หลาย ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ดังนั้น นักพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น จึงเป็นที่ต้องการของตลาด ถึงขนาดที่เรียกว่า หากสามารถสร้างสรรค์โมบายแอพพลิเคชั่นได้ ก็สามารถหารายได้ หรือมีงานทำตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ

นั่นเพราะหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมานั้น มีการออกแบบเป็นอย่างดี มีการร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ อาทิ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA ในสังกัดกระทรวงไอซีที โดย ม.ศรีปทุมได้ส่งนักศึกษาที่สนใจจำนวน 142 คน เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะและเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และมีบริษัทเอกชนในอุตสาหกรรมโมบายแอพพลิเคชั่นเข้าร่วม 34 ราย ให้การฝึกอบรมนักศึกษาแบบเข้มข้น ทำงานจริง พัฒนาผลงานจริง

ต่อคำถามที่ว่า หลักสูตรของ ม.ศรีปทุม มีความแตกต่างอย่างไร และส่งผลต่อนักศึกษาอย่างไรนั้น ดร.ธนา กล่าวว่า นักศึกษายุคใหม่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความเป็นตัวของตัวเองสูง หากได้รับการแนะนำอย่างถูกต้อง มีการฝึกอบรมโดยตรงจากภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่ยังเรียนอยู่ จะทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีทิศทาง ตัวนักศึกษารู้ว่าจะเดินไปในทิศทางใด มหาวิทยาลัยก็ส่งเสริมได้อย่างถูกต้อง และภาคอุตสาหกรรมเองก็ได้บุคลากรที่สามารถทำงานได้ตรงความต้องการ

ผลที่ได้เพิ่มขึ้นคือ ม.ศรีปทุมสามารถพัฒนานักศึกษาและบัณฑิตไอทีสายพันธุ์ใหม่ นั่นคือมีประสบการณ์ทำงานและพัฒนาผลงาน มีความมั่นใจ นำผลงานที่ได้พัฒนาขึ้นไปแข่งขันยังเวทีต่างๆ และได้รับรางวัลชนะเลิศ สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองและสถาบันการศึกษา ทำให้หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน พร้อมจะรับเข้าทำงานทันทีที่จบการศึกษา แต่ยิ่งกว่านั้นคือ นักศึกษาและบัณฑิตจำนวนไม่น้อยที่มีแนวคิดที่จะสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง และก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้ประกอบการใหม่ด้วยตัวเอง

ยิ่งต่อไปประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ เออีซี ในปี 2558 การมีบุคลากรไอทีที่มีความสามารถจะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยรวมของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ สามารถรับงานจากต่างประเทศสร้างรายได้เข้าประเทศได้อีกมหาศาล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4