กรุงเทพธุรกิจ-ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดผลสำรวจซีอีโอเดือน ก.พ.-มี.ค. ดัชนีศก.ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8

พุธ ๑๙ มีนาคม ๒๐๑๔ ๑๔:๔๐
กรุงเทพธุรกิจ-ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดผลสำรวจ CEO Sentiment Index เดือน ก.พ.-มี.ค. พบว่าสถานการณ์การเมืองไทยยังฉุดเศรษฐกิจ ส่งผลดัชนีเศรษฐกิจติดลบเป็นเดือนที่ 8

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจร่วมกับศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPURC) สำรวจความเห็นของผู้บริหารบริษัท จำนวน 417 คน ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 10 มีนาคม 2557 เกี่ยวกับแนวโน้มทางเศรษฐกิจและธุรกิจ พบว่าดัชนีด้านเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายนมีค่า -39 ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการนำพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินมาใช้เพื่อสลายการชุมนุม การชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทย และความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจจะมีความรุนแรงมากขึ้น ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างเห็นได้ชัด และยังคาดการณ์ว่าในเดือนมีนาคม ดัชนีด้านเศรษฐกิจจะมีค่าลดลงถึง -41

พ.ร.ก. ฉุกเฉินฉุดเศรษฐกิจ

สำหรับปัจจัยสำคัญ 5 อันดับแรกที่มีผลต่อการทำธุรกิจในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2557 ผู้บริหารส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การที่รัฐบาลนำ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินมาบังคับใช้ มีผลกระทบมากที่สุด 4.5 คะแนน สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ 4.3 คะแนน การขาดแคลนแหล่งเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่อง 3.8 คะแนน สภาวะเศรษฐกิจของโลก 3.7 คะแนน และความต้องการของตลาดที่ลดลง 3.5 คะแนน

รายได้ลด กระทบสภาพคล่อง

ด้านดัชนีการทำธุรกิจมี 4 ด้านด้วยกัน คือ ดัชนีด้านรายได้ ดัชนีด้านต้นทุน ดัชนีด้านสภาพคล่อง และดัชนีด้านการจ้างงาน ซึ่งดัชนีด้านรายได้ในกุมภาพันธ์ พบว่ามีค่า -24 จุดและคาดว่าจะปรับตัวลดลงอีกเป็น -26 จุดในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ทิศทางเดียวกับดัชนีทางเศรษฐกิจ ส่วนดัชนีต้นทุนจากระดับ 26 จุด คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 29 จุดในเดือนมีนาคม การที่ดัชนีต้นทุนมีค่าเป็นบวก สะท้อนให้เห็นว่า ต้นทุนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทิศทางที่ลดลงของรายได้ ส่งผลให้ดัชนีสภาพคล่องยังคงมีค่าติดลบโดยมีค่า -10 จุดในเดือนกุมภาพันธ์ และคาดว่าจะลดลงเป็น -14 จุดในเดือนมีนาคม ดัชนีการจ้างงานมีค่าติดลบลดลงเป็น -2 จุด และคาดว่าจะมีค่าติดลบเพิ่มขึ้นเป็น -4 จุดในเดือนมีนาคม

จากผลสำรวจเดือนกุมภาพันธ์ โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะชะงักงัน ด้วยผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง อีกทั้งจากการที่รัฐบาลนำ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินมาใช้นั้น นอกจากจะกระทบกับจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทย ยังส่งผลสะท้อนต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในประเทศและบรรยากาศโดยรวมในการทำธุรกิจ เห็นได้ชัดเจนจากการที่ดัชนีรายได้และดัชนีสภาพคล่องมีการปรับตัวลงลง โดยเฉพาะดัชนีสภาพคล่องที่ปรับตัวลดลงนั้น เป็นประเด็นที่น่ากังวล เพราะจะส่งผลต่อความมั่นคงและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้