โพลล์สำรวจความรับรู้และความคิดเห็นต่อการละเล่นของเด็กและวัยรุ่นช่วงเทศกาลของวัยรุ่นไทย

พุธ ๐๒ เมษายน ๒๐๑๔ ๑๔:๐๓
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ,ดร.กุลธิดา เสาวภาคย์พงศ์ชัย กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการ สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษาร่วมแถลงผลการสำรวจความรับรู้และความคิดเห็นต่อการละเล่นในช่วงเทศกาลของเด็กและวัยรุ่น โดยสรุปการสำรวจจากวัยรุ่นไทยอายุระหว่าง 15-24 ปี จำนวน 1,086 คน ระหว่างวันที่ 25-31 มีนาคม 2557

ศ.ศรีศักดิ์ กล่าวว่าด้านข้อมูลทางประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 51.47 เป็นเพศหญิง ส่วนเพศชายคิดเป็นร้อยละ 48.53 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 18 ถึง 21 ปี คิดเป็นร้อยละ 38.95 และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 35.82 มีการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า

ในด้านความรับรู้เกี่ยวกับการละเล่นเด็กไทยนั้น ประเภทการละเล่นไทยที่กลุ่มตัวอย่างรู้จักหรือเคยได้ยินสูงสุด 5 อันดับ คือ ซ่อนหา/โป้งแปะ คิดเป็นร้อยละ 87.11 รีรีข้าวสาร คิดเป็นร้อยละ 85.82 มอญซ่อนผ้า คิดเป็นร้อยละ 84.16 หมากเก็บ คิดเป็นร้อยละ 81.95 และโพงพาง คิดเป็นร้อยละ 79.83 ส่วนประเภทการละเล่นไทยที่กลุ่มตัวอย่างเคยเล่นมากที่สุด 5 ประเภทได้แก่ ซ่อนหา/โป้งแปะ คิดเป็นร้อยละ 84.71 รีรีข้าวสาร คิดเป็นร้อยละ 83.7 มอญซ่อนผ้า คิดเป็นร้อยละ 81.77 หมากเก็บ คิดเป็นร้อยละ 79.47 และตั้งเต คิดเป็นร้อยละ 78.08 แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการละเล่นเด็กไทยต่างๆ กับการเล่นผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีในปัจจุบัน เช่น เกมคอมพิวเตอร์ เกมออนไลน์ เกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือแท็บเล็ต กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 44.94 ยอมรับว่าตนเองชอบการเล่นผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ มากกว่า ขณะที่กลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 31.86 ที่ระบุว่าชอบการเล่นทั้งสองประเภทเท่า ๆ กัน และมีกลุ่มตัวอย่างน้อยกว่าหนึ่งในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 23.2 ที่ระบุว่าตนเองชอบการละเล่นเด็กไทยมากกว่า ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือคิดเป็นร้อยละ 57.83 มีความคิดเห็นว่าเด็กเยาวชนในปัจจุบันมีการเล่นการละเล่นเด็กไทยน้อยลงกว่าในสมัยตนเอง

สำหรับประโยชน์ที่ได้จากการละเล่นเด็กไทยตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ ได้ความสนุกสนาน/จิตใจเบิกบาน คิดเป็นร้อยละ 83.89 ได้ออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 81.86 สร้างความสามัคคีในกลุ่มเพื่อน คิดเป็นร้อยละ 80.11 ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ คิดเป็นร้อยละ 77.9 และฝึกประสาทสัมผัสต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 75.97

ในด้านความคิดเห็นต่อผลกระทบของการละเล่นเด็กไทยในปัจจุบันนั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 58.93 และร้อยละ 55.71 มีความคิดเห็นว่าการเล่นผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น เกมคอมพิวเตอร์/เกมออนไลน์/เกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่/แท็บเล็ตส่งผลให้เด็กเยาวชนในปัจจุบันให้ความสนใจกับการละเล่นเด็กไทยน้อยลง และการส่งเสริมให้เด็กเยาวชนได้ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต มีส่วนทำให้เด็กเยาวชนในปัจจุบันได้มีโอกาสเล่นการละเล่นเด็กไทยน้อยลงตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 68.69 มีความคิดเห็นว่าการส่งเสริมให้เด็กเยาวชนในปัจจุบันได้เล่นการละเล่นเด็กไทยมากขึ้นนั้นมีความจำเป็น และกลุ่มตัวอย่างถึงเกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 73.3 มีความคิดเห็นว่าสถานศึกษาควรจัดเวลาให้เด็กได้เล่นการละเล่นเด็กไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital