บีโอไอกำหนดประเทศเป้าหมายรุกลงทุนไทยในต่างประเทศ ผู้ประกอบการไทยขานรับ แห่ร่วมสัมมนาเกินคาดกว่า 600 ราย

อังคาร ๐๖ พฤษภาคม ๒๐๑๔ ๑๗:๑๙
บีโอไอจัดสัมมนา “ สร้างโอกาสนักลงทุนไทยในอาเซียน ” ให้ความรู้นักลงทุนบุกตลาดเออีซี เล็งหนุนลงทุนประเทศเป้าหมาย ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย เพราะมีอุตสาหกรรมที่นักธุรกิจไทยมีความเชี่ยวชาญและมีศักยภาพ

นายโชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวในงานสัมมนา

“สร้างโอกาสนักลงทุนไทยในอาเซียน” ว่าในปี 2557 นี้ บีโอไอได้กำหนดเป้าหมายที่จะเข้าไปเจาะตลาดกลุ่มประเทศอาเซียนได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีความหลากหลายในด้านปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุน อาทิ แรงงาน ตลาดและสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะเป็นโอกาสแก่ธุรกิจไทยได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อาหารแปรรูป ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพและมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี

“ บีโอไอให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นพิเศษ เพราะเป็นตลาดขนาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากรในกลุ่มประเทศอาเซียนที่รวมกันกว่า 600 ล้านคนซึ่งเออีซี จะเป็นช่องทางขยายการค้าและการลงทุนในกลุ่มอาเซียนได้มาก จะส่งผลให้ภาคการผลิต การค้า การลงทุน การบริการและภาคธุรกิจต่าง ๆ ที่จะตามมาขยายตัว นอกจากนั้น เมื่อนักลงทุนไทยเป็นพันธมิตรทางธุรกิจหรือมีการใช้ทรัพยากรการผลิตในกลุ่มประเทศอาเซียนแล้วจะยิ่งเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมไทย ทั้งด้านการตลาดและความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตให้กับนักลงทุนไทยต่อไป ” นายโชคดีกล่าว

ทั้งนี้บีโอไอมองว่า ในระยะยาวหากนักลงทุนไทยยังมุ่งเน้นแต่เพียงการลงทุนภายในประเทศอาจมีความเสี่ยงสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นบีโอไอจึงได้กำหนดนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการไทยไปลงทุนและก่อตั้งธุรกิจในต่างประเทศให้เป็นระบบอย่างจริงจัง โดยปรับเปลี่ยนทิศทางยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่ จากการส่งเสริมการลงทุนในประเทศเป็นหลักไปสู่การส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ

นางศิริพร นุรักษ์ ผู้อำนวยการระดับสูง กองส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เปิดเผยว่า ปัจจุบันนักลงทุนไทยยังขาดข้อมูลเชิงลึกของประเทศเป้าหมายและยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนเข้าไปลงทุนจริง งานสัมมนาครั้งนี้จะช่วยให้นักลงทุนรู้ถึงข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของธุรกิจตัวเองรวมทั้งอุปสรรคของประเทศเป้าหมายตลอดจนกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสให้นักลงทุนมีศักยภาพเพื่อขยายธุรกิจไปต่างประเทศได้มากขึ้น

สำหรับนักลงทุนที่ตอบรับเข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้มีกว่า 600 ราย เกินกว่าเป้าหมายที่บีโอโอตั้งไว้ที่ 500 ราย แสดงให้เห็นถึงความสนใจของนักลงทุนที่ต้องการออกไปลงทุนและต่อยอดธุรกิจของตัวเองในต่างประเทศจำนวนมาก ซึ่งนักลงทุนที่เข้าร่วมงานสัมมนาส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ และผู้ประกอบการจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมกระดาษและเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมฟอกหนัง เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เหมืองแร่ อาหารสัตว์ ยานยนต์ อิเลคทรอนิกส์และอุตสาหกรรมบริการ เป็นต้น

ขณะเดียวกันจากการเปิดอบรมหลักสูตร “ สร้างนักลงทุนไทยให้ไปลงทุนในต่างประเทศ ” ที่บีโอไอจัดการอบรมมาแล้ว 5 รุ่น มีผู้ผ่านการอบรมทั้งสิ้น 192 คน กว่าร้อยละ 15 ของผู้ที่เข้ารับการอบรมได้ไปออกไปลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนแล้ว และมีแนวโน้มที่จะออกไปลงทุนเพิ่มขึ้นในอีก 1 – 2 ปี ข้างหน้า ส่วนการอบรมรุ่นที่ 6 และรุ่นที่ 7 จะเปิดการอบรมอีกครั้งในเดือนมิถุนายนนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital