นศ.มทร.ธัญบุรี พัฒนาเครื่องยีลูกตาลโดยพลังงานก๊าซชีวภาพ

พุธ ๒๘ พฤษภาคม ๒๐๑๔ ๑๐:๐๓
นายชัยรัตน์ หงส์ทอง อาจารย์ประจำสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี นำทีมนักศึกษา ประกอบด้วย “ปอ” นางสาวจันจิรา หงันเปี่ยม “ติ๊ก” นายสรศักดิ์ ผลมี “นนท์” นายนฤเบศ คำมา และ “ชมพู” นางสาวเนตรนภา สร้อยแก้ว นักศึกษาชั้นปีที่ 4 พัฒนาเครื่องยีลูกตาลโดยพลังงานก๊าซชีวภาพ

อ.ชัยรัตน์ เล่าว่า ในการพัฒนาเครื่องยีตาลโดยใช้พลังงานก๊าซ เพื่อทดลองประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยีลูกตาลที่ใช้ก๊าซชีวภาพ และวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายทางเศรษฐศาสตร์ โดยโครงสร้างของเครื่องยีลูกตาล แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ตัวถังมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 49 เซนติเมตร สูง 40.7 เซนติเมตร ขนาดความกว้างของเครื่องยีตาล 53.4 เซนติเมตร ขนาดความยาวของเครื่องยีตาล 72 เซนติเมตรและความสูงของเครื่องยีลูกตาล 42.5 เซนติเมตร ขนาดความยาวของถาดเครื่องยีลูกตาลด้านบน 48.4 เซนติเมตรและขนาดความยาวถาดยีลูกตาลด้านล่าง 23.8 เซนติเมตร

ขนาดความกว้างด้านบนของถาดเครื่องยีลูกตาล 17 เซนติเมตรและขนาดความกว้างทั้งหมดของถาดเครื่องยีลูกตาล 26 เซนติเมตร ขนาดมุมของถาดเครื่องยีลูกตาล 45 องศา ขนาดความสูงขาตั้งหน้าของเครื่องยีตาล 10.2 เซนติเมตร ขนาดความกว้างของฐานเครื่องยีลูกตาล 56.5 เซนติเมตรและขนาดความสูงของฐานเครื่องยีลูกตาล 20.4 เซนติเมตร ขนาดความยาวของฐานเครื่องยีลูกตาล 11.8 เซนติเมตรและขนาดความยาวของแท่นวางเครื่องยนต์ขนาด 7.9 เซนติเมตร สามารถปรับให้ตึงของสายพานได้

และ 2. ชุดส่งกำลังจากสายพาน ประกอบด้วยพูเล่ย์ ร่อง A 1 ร่อง 3 นิ้ว อยู่ติดกับตัวเครื่องยนต์เบนซิน 5.5 แรงม้าโดยใช้สายพานร่อง A ขนาด 33 นิ้ว พูเล่ย์ ร่อง A 1 ร่อง 2นิ้ว อยู่ติดกับเกียร์ทดกำลังโดยใช้สายพานร่อง A ขนาด 33 นิ้ว พูเล่ย์ ร่อง B 1 ร่อง 6นิ้ว อยู่ติดกับเกียร์ทดกำลังเพื่อจะส่งกำลังไปยังพูเล่ย์อีกตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการหมุนจานหมุนโดยใช้สายพานร่อง B ขนาด 35 นิ้ว พูเล่ย์ ร่อง B 1 ร่อง 4 นิ้ว อยู่ติดกับจานหมุนโดยจะเป็นตัวส่งกำลังตัวสุดท้ายเพื่อขับเคลื่อนโดยใช้สายพานร่อง B ขนาด 35 นิ้ว โดยใช้เครื่องยนต์เบนซินขนาด 5.5 แรงม้า ซึ่งมีการติดตั้งวาล์วควบคุมก๊าซชีวภาพ

จากการทดลองประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยีลูกตาลโดยใช้พลังงานก๊าซชีวภาพ ทำการทดลองปริมาณลูกตาลพบว่าสามารถใช้ลูกตาลในการยีได้เฉลี่ย 10 เม็ด และเครื่องยีตาลมีอัตราการสิ้นเปลืองก๊าซเฉลี่ย 0.375 กรัมต่อวินาที และมีความสามารถทำงานเฉลี่ย 1 ชั่วโมง 11 นาที เมื่อใช้ก๊าซชีวภาพปริมาณ 1.5 กิโลกรัม ถ้าใช้งาน 2,400 ชั่วโมง จะมีระยะเวลาคืนทุน 290 วัน และมีอัตราการทำงานที่ 8.84 กิโลกรัมต่อชั่วโมง

เครื่องยีลูกตาลโดยใช้พลังงานก๊าซชีวภาพต้นแบบ ถูกคิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นโดยอาจารย์และนักศึกษา ซึ่งไม่มีวางจำหน่าย กลุ่มเกษตรใดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ อ.ชัยรัตน์ โทร.086-5115857

ชลธิชา ศรีอุบล

กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี

0-2549-4994

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ