ดั๊บเบิ้ล เอ เปิดตัวโครงการ “หมู่บ้านต้นกระดาษ” 1 หมู่บ้าน 1 ล้านต้น 33 ล้านบาท นำร่องที่สุรินทร์เป็นแห่งแรก

จันทร์ ๐๙ มิถุนายน ๒๐๑๔ ๑๕:๐๒
ดั๊บเบิ้ล เอ นำร่องโครงการ “หมู่บ้านต้นกระดาษ” ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่านการปลูกต้นกระดาษในพื้นที่ว่าง อาทิ คันนา รอบบ้าน รอบโรงเรียน พื้นที่ว่างของชุมชน ตั้งเป้าหมู่บ้านละ 1 ล้านต้น เพื่อนำรายได้มาตั้งเป็นกองทุนพัฒนาหมู่บ้านและสร้างรายได้เสริมให้กับลูกบ้าน พร้อมลงนามหมู่บ้านต้นกระดาษแห่งแรกที่จังหวัดสุรินทร์ และเปิดให้หมู่บ้านอื่นทั่วไทยร่วมโครงการได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนนี้

นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ดั๊บเบิ้ล เอ ได้จัดตั้งโครงการหมู่บ้านต้นกระดาษ หรือ 1 หมู่บ้าน 1 ล้านต้น 33 ล้านบาท โดยบริษัทจะสนับสนุนให้หมู่บ้านที่มีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาชุมชนของตนเอง ให้มีการรวมตัวกันปลูกต้นกระดาษหมู่บ้านละ 200,000 ต้นขึ้นไป จนถึง 1 ล้านต้น เพื่อสร้างเป็นทุนในการพัฒนาชุมชน หรือเรียกว่ากองทุนหมู่บ้านต้นกระดาษ โดยทุก ๆ 1 ต้นที่ปลูกจะเท่ากับการนำเงินเข้ากองทุนเพิ่ม 1 บาท โดยหมู่บ้านที่ปลูก 1 ล้านต้น ก็จะมีเงินกองทุนพัฒนาหมู่บ้านสูงถึง 1 ล้านบาท เพื่อให้ชุมชนสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านตามมติความเห็นชอบของชุมชน นอกจากนี้ การเข้าร่วมโครงการยังทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมกระจายให้กับชุมชน อีกต้นละ 32 บาท แบ่งเป็น ค่าปลูก 1 บาทต่อต้น ผู้ดูแลโครงการ 1 บาทต่อต้น และเกษตรกรเจ้าของที่ดินที่ดูแลต้นกระดาษอีก 30 บาทต่อต้นรอด ดังนั้น เมื่อปลูกครบ 1 ล้านต้น จะมีเงินกองทุนและรายได้เสริมเกิดขึ้นหมุนเวียนในชุมชนเป็นเงินรวมสูงสุดประมาณ 33 ล้านบาทต่อชุมชน

จุดเด่นของโครงการหมู่บ้านต้นกระดาษ คือ เกษตรกรหรือชุมชนที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านต้นกระดาษ ในแคมเปญนี้ จะได้รับรายได้เสริมเร็วขึ้น คือ จะทยอยรับรายได้ตั้งแต่ต้นกระดาษอายุ 1 เดือน 6 เดือน 1 ปี 2 ปี และ 3 ปี ตามจำนวนต้นรอด นอกจากนี้แล้วโครงการหมู่บ้านต้นกระดาษยังมีจุดเด่นที่สำคัญคือ จำนวนต้นทั้งที่ปลูกในพื้นที่ของเกษตรกรรายบุคคลทั้งหมู่บ้านและที่ปลูกในพื้นที่ของชุมชน จะถูกนับรวมทุกต้นเข้าเป็นของหมู่บ้านทั้งหมด หากปลูกรวมกันได้ 1 ล้านต้น บริษัทจะจ่ายเงินเข้ากองทุนหมู่บ้านต้นกระดาษ 1 ล้านบาท ซึ่งเป็นบัญชีกองทุนหมู่บ้าน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกองทุนต่างๆของทางราชการ นอกจากนั้นรายได้จากการปลูกต้นกระดาษกว่า 30 ล้านบาทแล้ว ยังมีรายได้หมุนเวียนในชุมชนจากการรับจ้างตัดเก็บเกี่ยวเมื่อต้นกระดาษครบอายุ 3 ปีและรับจ้างบรรทุกขนส่งไม้เข้าโรงงาน อีกกว่า 20 ล้านบาท

“การจ่ายเงินในแต่ละช่วงเวลาจะเร็วขึ้น เนื่องจากบริษัทได้นำ ระบบ CDS (Channel Development System) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในแบบของแอพพลิเคชั่น (Application) ที่ทำงานบนแท็บเล็ต (Tablet) และเป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการตรวจนับจำนวนต้นหรือพื้นที่ปลูกของต้นไม้ที่ปลูกได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกภาพ คำนวณ และหาพิกัดของแปลงปลูก เพื่อคำนวณพื้นที่ปลูกได้อย่างรวดเร็ว” นายชาญวิทย์กล่าว

ทางด้านนายสมถวิล โสภาพ กำนันตำบลยางสว่าง อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า การเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านต้นกระดาษของชาวตำบลยางสว่าง ทั้ง 4 หมู่บ้าน ถือเป็นการช่วยส่งเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้เสริม และมีกองทุนสำหรับพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยการใช้พื้นที่ว่างของชุมชน โรงเรียน หรือวัดมาปลูกต้นกระดาษ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนอีกด้วย

ขณะนี้มีหมู่บ้านในหลายจังหวัด อาทิ ปราจีนบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร ลพบุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี สุโขทัย ชัยภูมิ แสดงความสนใจเข้าร่วมโครงการแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินที่ได้จากกองทุนไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะของชุมชน เช่น สร้างศูนย์การเรียนรู้การเกษตรของชุมชน การพัฒนาปรับปรุงศูนย์เด็กเล็กของชุมชน สร้างหอระฆังวัด สร้างห้องน้ำให้วัด จัดการหนี้สินของชุมชน ปรับปรุงหอกระจายข่าวของชุมชน และประโยชน์เพื่อการศึกษาของเด็กให้หมู่บ้าน เป็นต้น

นอกจากนี้ ดั๊บเบิ้ล เอ ยังเปิดโอกาสให้หมู่บ้านและชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านต้นกระดาษ สามารถสมัครได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 นี้ โดยจะมีการจัดส่งหนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการฯ ให้แก่หมู่บ้านต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 5,000 หมู่บ้าน เพื่อเป็นสร้างรายได้อย่างยั่งยืน และเป็นการใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ลดโลกร้อน รวมทั้งส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนที่จะร่วมมือร่วมใจกันสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนของตนเองอย่างแท้จริง สนใจสอบถามได้ที่ โทร.1759 กด 5

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ