กรีนพีซขานรับก้าวสำคัญของคณะกรรมาธิการยุโรปที่จะต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุมในภูมิภาคอาเซียน

จันทร์ ๑๖ มิถุนายน ๒๐๑๔ ๑๐:๕๒
วันนี้ กรีนพีซยกย่องการตัดสินใจของคณะกรรมาธิการยุโรปที่ให้ “ใบเหลือง” แก่รัฐบาลฟิลิปปินส์ต่อความล้มเหลวในการต่อสู้กับการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไม่มีการควบคุม (IUU) ในประเทศ

นับตั้งแต่ปี 2553 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ระบุประเทศที่ถูกเรียกว่า “ประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือ” ว่าไม่บรรลุพันธกรณีระหว่างประเทศต่อกรณีการตอบโต้การทำประมง IUU ประเทศที่เข้าข่ายน่าวิตกนั้นในขั้นแรกจะได้รับการเตือนอย่างเป็นทางการก่อนออกใบเหลือง ในกรณีที่ประเทศนั้นไม่ปรับปรุงการจัดการทำประมงและนโยบายควบคุมเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ให้สอดคล้องกับกฎหมายสากล ประเทศเหล่านั้นจะถูกขึ้นบัญชีดำและได้รับ “ใบแดง” ซึ่งผลที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้คือการคว่ำบาตรหลายมาตรการ รวมทั้งการห้ามนำเข้า(1)

“หลายประเทศในสมาคมประชาชาติอาเซียนกำลังมุ่งสู่การรวมตลาดในปี 2558 การจับปลาอย่างผิดกฎหมายผ่านห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคจะทำให้เกิดมลทินให้กับอาเซียนทั้งหมด” มาร์ค เดีย เจ้าหน้าที่รณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร ระดับภูมิภาค กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว “ความมุ่งมั่นทางการเมืองที่แข็งแกร่ง การบังคับใช้และการจัดสรรทรัพยากร พร้อมทั้งความร่วมมือในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะธุรกิจประมง จะต้องยุติวิธีการทำประมงที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ เพื่อให้ทะเลและมหาสมุทรของเรายังคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์”

ฟิลิปปินส์เห็นแนวโน้มการเพิ่มส่งออกทูน่ากระป๋องไปยังสหภาพยุโรปจาก 90 ล้านยูโร ในปี 2555 เป็น 100 ล้านยูโร ในปี 2556 ทั้งที่พิกัดอัตราภาษีศุลกากรสูงปีนี้(2) ฟิลิปปินส์ได้ยื่นขอลดอัตราภาษีศุลกากรเพื่อส่งเสริมรายได้ แต่กรณีนี้อาจไม่ส่งผลดีถ้าหากฟิลิปปินส์ไม่สามารถปรับปรุงการจัดการประมงให้ดีขึ้น ขณะที่กัมพูชาเพิ่งโดนขึ้นบัญชีดำเมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งมีกำหนดข้อห้ามผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของกัมพูชาบางชนิดวางจำหน่ายในสหภาพยุโรปตั้งแต่นั้นมา

ผลการศึกษาล่าสุดอ้างว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนสี่ประเทศส่งออกทูน่าที่จับมาอย่างผิดกฎหมายและส่งไปขายในสหรัฐฯ ประกอบด้วยไทย (ประมาณร้อยละ 25-40) เวียดนาม (ประมาณร้อยละ 25-35) อินโดนีเซีย (ประมาณร้อยละ 20-35) และฟิลิปปินส์ (ประมาณร้อยละ 20-32)

การทำประมง IUU ทั่วโลกนั้นประเมินมูลค่าให้กับภาครัฐได้ระหว่าง 10 เหรียญสหรัฐ ถึง 23.5 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (5) นอกเหนือจากต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เหลื่อมล้ำกัน IUU เป็นตัวขัดขวางการจัดการประมงเพราะการจับปลาจริงๆนั้นไม่มีการรายงานอย่างถูกต้อง ดังนั้นเท่ากับเป็นการสนับสนุนให้เกิดการทำประมงเกินขนาด ปลาจำพวกสัตว์เศรษฐกิจบางชนิดอาจสูญสิ้นไปแล้วก่อนจะมีมาตรการจัดการที่เป็นประโยชน์มาบังคับใช้ ในอินโดนีเซีย การประมงผิดกฎหมายสร้างความเสียหายมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปีในมูลค่าโดยประมาณ (6)

“ท้องทะเลเป็นแหล่งทรัพยากรที่ต้องแบ่งปันกัน นอกจากนโยบายบนกระดาษแล้ว กลไกที่เข้มแข็งจะต้องมีการกำหนดเพื่อตอบโต้กับการประมงที่ผิดกฎหมายและเพื่อลดความจุของกองเรือประมงของอาเซียน โดยเริ่มจากผู้กระทำผิดมากที่สุด พร้อมๆกันนี้ รัฐบาลต่างๆควรกำหนดพื้นที่ขนาดใหญ่ของเขตอนุรักษ์ทางทะเลเพื่อให้ปลาที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจได้มีโอกาสเติบโตอย่างสมบูรณ์” มาร์ค เดีย กล่าวเพิ่มเติม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4