ก้าวทันยุคไอที ประยุคเทคโนโลยีควบคู่การเรียนการสอน

ศุกร์ ๐๑ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๑๖:๑๔
การเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ๆ และความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลในโลกออนไลน์ นับว่าเป็นโอกาสสำหรับการศึกษาที่จะพัฒนาและเติบโตเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน จากจำนวนของเวปไซต์ด้านการศึกษา การเรียนออนไลน์ ที่มีจำนวนคนสนใจโดยคลิ๊กปุ่มสมัครเรียนที่มากมายล้นหลามนั้น ในฐานนะครูผู้สอนก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่า “จะนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาสร้างประโยชน์อะไรให้กับนักเรียนได้บ้าง?” และ “จะสร้างอย่างไร?” ด้วยคำถามนี้จึงอยากจะแบ่งปันประสบการณ์และเทคนิคจากการนำเทคโนโลยนีมาช่วยในการเรียนการสอน

เทคนิคหรือวิธีการนี้อาจไม่ได้เหมาะสมกับทุกคนที่นำเทคโนโลยีไปใช้ในหรือนอกห้องเรียน และอาจไม่ได้ผลกับครูผู้สอนทุกคนเสมอไป แต่ 2 แหล่งข้อมูลออนไลน์ที่ค้นพบและเป็นประโยชน์สำหรับการเรียนสอน เป็นสองวิธีพื้นฐานที่หลายคนอาจรู้จักอยู่แล้วก็ได้ เครื่องมือออนไลน์อย่างแรกที่น่าสนใจ ก็คือ “เครือข่ายสังคมออนไลน์” เรียกว่า “Edmodo” อาจจะคล้ายกับเฟสบุ๊ค แต่ต่างกันตรงที่เครื่อข่ายนี้เป็นเวปไซต์ด้านการศึกษาที่เปิดให้ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนเข้ามาเรียนออนไลน์ “Edmodo”อนุญาตให้อัพโหลดการแจ้งเตือนนักเรียนว่ามีการบ้าน สร้างแบบฝึกหัด เขียนโน๊ตถึงนักเรียนที่ไม่มาเรียน ติดตามประกาศของโรงเรียน หรือแม่กระทั้งเขียนข้อความให้กำลังใจก็ตาม นอกจากนี้ “Edmodo” ยังอนุญาตให้อัพโหลดวิดิโอให้นักเรียนได้เข้ามาดูขณะอยู่ที่บ้านได้อีกด้วย และจากเครื่องมือจากสังคมออนไลน์ดังกล่าวนั้น นำมาสู่เครื่องมือออนไลน์ที่ 2 ได้แก่ “คาน อะคาเดมี่” (Khan Academy) เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรก่อตั้งเพื่อพัฒนาการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นโดยในเวปไซต์ของ “Khan Academy” จะมีวิดิโอความรู้ต่างๆกว่า 6,000 วิดิโอ และ 100,000 กรณีศึกษาแยกตามประเภท หมวดหมู่ความสนใจให้คนได้เข้ามาหาข้อมูลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ นั่นเอง ทั้งสองเครื่องมือนี้เองที่ตอบคำถามว่าจำนำเทคโนโลยีอะไรมาปรับใช้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนแก่นักเรียน คำถามต่อมาคือปรับใช้อย่างไร วิธีการง่ายๆ คือ เมื่อเรารู้จักเครื่องมือ ได้แก่ “Edmodo” และ“ Khan Academy” แล้ว วิธีการก็คือครูผู้สอนอาจนำวิดิโอที่ตรงกับเนื้อหาหรือบทเรียนที่จะเรียนจากเวปไซต์“Khan Academy” มาโพสต์ลงใน “Edmodo” ซึ่งนักเรียนสามารถเข้ามาดูวิดิโอนี้ก่อน และจากนั้นก็มาอภิปรายกันในชั้นเรียน โดยนักเรียนสามารถจะเปิดดูกี่ครั้งก็ได้ตามต้องการ ซึ่งจะเป็นการช่วยเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียน และทำให้นักเรียนเข้าใจภาพรวมของเนื้อหา สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองก่อน จากนั้นระหว่างชั้นเรียนจึงเป็นการนำสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้มาปฏิบัติ อภิปราย แสดงความคิดเห็นแบบลงรายละเอียดระหว่างเพื่อนร่วมชั้น และครูผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำแนะนำ และทำความเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องแก่นักเรียน ดังนั้นนักเรียนจะได้รับความรู้แบบสองเท่า กล่าวคือ ประการแรกคือนักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจในเนื้อหาของบทเรียนใหม่ๆ จากการศึกษาด้วยตนเอง และประการที่สอง นักเรียนจะได้ลงมือปฏิบัติ และฝึกฝนในชั้นเรียน โดยได้รับคำแนะนำอีกด้วย นี่คือผลสำเร็จที่สูงสุดของนักเรียนนั่นเอง

จากเทคนิคและวิธีการที่กล่าวนั้น เป็นการตอบคำถามที่ว่า “จะนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาสร้างประโยชน์อะไรให้กับนักเรียนได้บ้าง?” และ “จะสร้างอย่างไร?” และทั้งหมดนี้คือคำตอบ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ