โพลล์สำรวจความเห็นต่อการเสนอฉากรุนแรงในละคร

ศุกร์ ๐๑ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๑๒:๓๙
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ, ดร.กุลธิดา เสาวภาคย์พงศ์ชัย กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการ สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษาร่วมแถลงผลสำรวจความคิดเห็นต่อการนำเสนอ/เผยแพร่ฉากความรุนแรงในละครโทรทัศน์ของกลุ่มวัยรุ่นไทยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,117 คนสามารถสรุปผลได้ดังนี้ ในด้านข้อมูลทางประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 51.48 ขณะที่ร้อยละ 48.52 เป็นเพศชาย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 37.87 มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 19 ถึง 22 ปี ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างประมาณหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 33.03 กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

ด้านการติดตามชมละครโทรทัศน์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ติดตามชมละครโทรทัศน์ประมาณ 2 – 3 เรื่องโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์คิดเป็นร้อยละ 44.94 ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 46.2 ระบุว่าตนเองเคยพบเห็นฉากความรุนแรงในละครโทรทัศน์มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนเรื่องที่ติดตามชม ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.75 ระบุว่าพบเห็นทุกเรื่องที่ติดตามชม

ด้านความคิดเห็นต่อการนำเสนอฉากความรุนแรงในละครโทรทัศน์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 36.31 มีความคิดเห็นว่าฉากความรุนแรงที่พบเห็นในละครโทรทัศน์ส่วนใหญ่เป็นฉากที่ไม่มีความจำเป็นต้องนำเสนอ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.13 มีความคิดเห็นว่าฉากความรุนแรงที่พบเห็นนั้นส่วนใหญ่มีความจำเป็นต้องนำเสนอ แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 47.45 มีความคิดเห็นว่าละครโทรทัศน์ในปัจจุบันนำเสนอฉากความรุนแรงมากเกินไป

นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 51.03 และร้อยละ 50.22 มีความคิดเห็นว่าฉากความรุนแรงที่นำเสนอผ่านละครโทรทัศน์มีส่วนทำให้เกิดการลอกเลียนแบบจนนำไปสู่การก่อความรุนแรงในสังคมได้ และมีส่วนทำให้ผู้คนในสังคมมีความก้าวร้าวมากขึ้นตามลำดับ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือคิดเป็นร้อยละ 54.7 เห็นด้วยหากจะมีการออกกฎหมายควบคุมและจำกัดการนำเสนอฉากความรุนแรงในละครโทรทัศน์ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.83 ระบุว่าไม่เห็นด้วย กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งเห็นด้วยว่าการลดการนำเสนอฉากความรุนแรงในละครโทรทัศน์จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหาการก่อความรุนแรงในสังคมได้ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 54.25 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 56.13 มีความคิดเห็นว่าการลดการนำเสนอฉากความรุนแรงในละครโทรทัศน์ไม่ได้มีส่วนทำให้อัตราการชมละครเรื่องนั้น ๆ ลดลง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างประมาณหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 33.93 ยอมรับว่ามีส่วน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๕๘ พาราไดซ์ พาร์ค ต้อนรับร้านตัดผมเด็ก Chic Kids Salon โดยช่างมากประสบการณ์
๐๘:๒๗ ม.พะเยา ลงพื้นที่จัดกิจม.พะเยา ลงพื้นที่จัดกิจกรรมสภากาแฟสัญจร แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายสื่อมวลชนและผู้นำชุมชน ครั้งที่ 2กรรมสภากาแฟสัญจร แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายสื่อมวลชนและผู้นำชุมชน
๐๘:๒๗ 39Ramen แฟรนไชส์กระแสแรง ตั้งเป้าขยาย 70 สาขา แชร์ส่วนแบ่ง 10% ตลาดราเมน
๐๘:๕๘ อิ่มอร่อยแบบไม่อั้นกับ 'ออล ยู แคน อีท' โปรโมชัน ณ ห้องอาหาร เอราวัณ ที รูม
๐๘:๒๙ OR คว้า 5 รางวัล ในงาน 2023-2024 Thailand's Most Admired Brand ตอกย้ำความเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคไว้วางใจมากที่สุด
๐๘:๑๘ เบเยอร์ คว้ารางวัล 2023-2024 Thailand's Most Admired Company ตอกย้ำความเป็นหนึ่งในสีนวัตกรรมครองใจผู้บริโภค
๐๘:๓๒ เปิดตัว เครื่องเขียนดั๊บเบิ้ล เอ คอลเลคชั่นใหม่สุดน่ารัก Double A x BearPlease
๐๘:๕๘ กทม.เร่งจัดหาจุดจอดเรือเก็บขยะในแม่น้ำเจ้าพระยา
๐๘:๕๑ ดร. ไฮจีน ร่วมภาครัฐ รับมือ PM 2.5
๐๘:๓๖ กทม.แจงแนวทางจัดซื้ออาหาร-ดูแลสุนัขที่ศูนย์พักพิงฯ จ.อุทัยธานี ผลสุ่มตรวจคุณภาพอาหารผ่านเกณฑ์ที่กำหนด