กรมส่งเสริมฯ แนะเตรียมดิน-ปุ๋ยในฤดูฝน

พุธ ๒๗ สิงหาคม ๒๐๑๔ ๑๖:๑๙
กรมส่งเสริมฯ แนะเตรียมดิน-ปุ๋ยในฤดูฝนลดปัญหาให้เกษตรกรช่วยให้ผลิตมีคุณภาพ

เพราะฤดูฝนมักจะเป็นช่วงเวลาที่ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไปส่วนหนึ่ง จากการชะล้างของน้ำฝน และการสไลค์ของหน้าดิน ที่ถูกน้ำพัดพาไป ทำให้ในช่วงเวลานี้ เกษตรกร ต้องมีความเตรียมพร้อมสำหรับการบำรุงและจัดการกับดินในแปลงเกษตร อย่างเหมาะสม เพื่อให้การปลูกพืชเป็นไปอย่างได้มีประสิทธิผล

กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ให้คำแนะนำกับเกษตรกร เกี่ยวกับการจัดการบริหารดิน เพื่อให้พร้อมสำหรับฤดูฝน และเหมาะสำหรับการเตรียมเพาะปลูกในช่วงที่มีน้ำมาก โดยเฉพาะการให้ปุ๋ยที่เหมาะสม จะช่วยให้ผลผลิตมีปริมาณและคุณภาพที่ดี

“นายโอฬาร พิทักษ์” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝน เป็นช่วงที่พืชมีการเจริญเติบได้ดี และค่อนข้างรวดเร็วอยู่แล้ว จึงไม่ควรใส่ปุ๋ยช่วงนี้ หรือใส่ในปริมาณน้อย เพราะถ้าใส่ปุ๋ยในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ต้นไม้เสียทรงได้ และมีโอกาสที่จะได้รับความเสียหายมากกว่าฤดูอื่นๆ

แต่สิ่งที่เกษตรกรต้องให้ความสำคัญ คือ ในช่วงฝนตกชุกมักพบปัญหาหน้าดินถูกชะล้างทำให้สูญเสียธาตุอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งนอกจากการชะล้างของน้ำฝนจนทำให้หน้าดินพังทลายแล้ว การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากดิน ก็อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ดินเกิดการสูญเสียธาตุอาหาร ผลที่เกิดขึ้นตามมาจากการที่หน้าดินถูกชะล้างคือ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ มีความชื้นในดินน้อยรวมถึงจุลินทรีย์ในดินลดลง ดินแห้งอย่างรวดเร็วและต้องการน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ พืชไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรจนเกษตรกรต้องเพิ่มปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น และนั่นยิ่งทำให้ดินเสื่อมคุณภาพมากกว่าเดิม ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องมีการป้องกันไม่ให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และช่วยลดการชะล้างธาตุอาหารในดินคือปลูกพืชให้ถูกวิธี ปลูกพืชตระกูลถั่วบำรุงดิน คลุมดิน และปลูกตามแนวระดับปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสดปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกพืชแซมไม่เผาทำลายเศษซากพืช”อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าว

นอกจากการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ดินแล้ว กรมส่งเสริมการเกษตรยังแนะนำให้เกษตรกร เตรียมดินก่อนปลูกพืชทุกชนิด ทั้งพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งมีหลักคล้ายคลึงกัน โดยก่อนลงมือปลูกพืชต้องพิจารณาสภาพพื้นที่ เนื้อดิน ปัญหาของดิน และชนิดพืชที่ปลูก เพื่อให้มีการเตรียมดินที่เหมาะสม การเตรียมดินสำหรับปลูกพืชจะแตกต่างกันตามชนิดของพืช

เริ่มต้นที่ การเตรียมดินสำหรับปลูกผัก ต้องมีความพิถีพิถันเป็นพิเศษ มีการไถและตากดิน 7-10 วัน เพื่อทำลายไข่แมลงและศัตรูพืชบางชนิด หากดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำกว่า 6.5 ควรใส่ปูนขาวอัตราส่วน 100-300 กก./ไร่ ปูนขาวจะช่วยฆ่าเชื้อโรคในดินอีกด้วย ในพื้นที่ภาคใต้ให้ใช้หินปูนฝุ่น อัตรา 1000-1500 กก./ไร่ เป็นต้น การใส่ปูนควรใส่ขณะที่ดินมีความชื้นอยู่เพื่อเร่งการเกิดปฏิกิริยา จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ จึงพรวนดินยกแปลงพร้อมใส่ปุ๋ยคอก จะทำให้ดินร่วนซุย มีการอุ้มน้ำและระบายอากาศได้ดีขึ้น และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินในระดับหนึ่ง

การเตรียมดินสำหรับปลูกไม้ผล ต้องเตรียมให้ดีเพราะหลังจากปลูกแล้วไม่สามารถพรวนดินใส่ปุ๋ยในดินระดับล่างได้ การเตรียมดินอย่างดีจะช่วยให้ไม้ผลเจริญเติบโตเร็วกว่าการปลูกแบบไม่เตรียมหลุม ถ้าเตรียมหลุมไม่ดีถึงแม้ว่าจะใส่ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตภายหลังปลูก พบว่าไม้ผลยังมีการเจริญเติบโตช้ากว่าต้นที่มีการเตรียมหลุมอย่างดี ขนาดของหลุมขึ้นอยู่กับชนิดพืชที่จะปลูก เช่นไม้ผลขนาดใหญ่ เช่น ทุเรียน หลุมควรมีขนาด (กว้างxยาวxลึก) 1x 1 x 0.8 เมตร ไม้ผลขนาดกลาง เช่น ลองกอง มีขนาด 0.8x0.8x0.6 เมตร ใช้ปุ๋ยพวกร็อคฟอสเฟต 1-2 กระป๋องนม รองก้นหลุมเพื่อกระตุ้นการเจริญของราก แล้วจึงนำต้นไม้ลงปลูก

ส่วนการเตรียมดินสำหรับพืชไร่เช่น ข้าวโพด อ้อย สับปะรด ดินที่เหมาะสมสำหรับพืชไร่ควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี สภาพพื้นที่เป็นที่ดอน ดังนั้นควรมีการไถดะในช่วงฤดูแล้ง และตากดิน 7-10 วัน เพื่อทำลายวัชพืช จากนั้นจึงไถแปรอีกรอบ หากเป็นดินดานควรไถลึกให้ถึงชั้นดินดาน จะช่วยให้น้ำซึมผ่านได้ดี หว่านปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้เหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่ดินที่ใช้ปลูกพืชไร่มีความเป็นกรดเนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นเวลานานจึงควรหว่านปูนขาวในอัตรา 500-600 กก./ไร่ สำหรับดินที่เป็นกรดเล็กน้อย โดยใส่ทุกๆ 2 ปี จะช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดินแก่พืช หลังหว่านปูนควรทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ ก็สามารถยกร่อง ปลูกพืชได้

การเตรียมดินที่ดีที่สุดควรปลูกพืชปุ๋ยสดพวก ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม หรือปอเทือง แล้วไถกลบช่วงออกดอกจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินรวมทั้งช่วยในด้านความสามารถในการอุ้มน้ำและการระบายน้ำและอากาศของดินให้ดีขึ้น ถ้าปลูกพืชปุ๋ยสดได้ทุกปีก่อนปลูกพืชจะดีที่สุด แต่ถ้าไม่สามารถปลูกได้ก็อาจปลูกทุกๆ 2-3 ปี จะช่วยให้ดินไม่เสื่อมโทรมมากและพื้นที่ปลูกพืชสามารถให้ผลผลิตเป็นระยะเวลายาวนานมากขึ้น

อย่างไรก็ตามเกษตรกรควรให้ควรสำคัญกับการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินอย่างสม่ำเสมอเพราะดินเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตพืชเกือบทุกชนิด หากดินดี ผลผลิตก็ดี ไม่จำเป็นต้องพึงพาสารเคมี ต้นทุนการผลิตก็จะลดลง

โดยกรมส่งเสริมการเกษตรพร้อมที่จะให้ความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการเตรียมดิน โดยเกษตรกรที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่เกษตรจังหวัด และเจ้าหน้าของกรมส่งเสริมการเกษตรได้ในทุกพื้นที่ และการเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกในฤดูฝนเป็นไปอย่างเหมาะสม จะช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุน ลดการสูญเสียโดยไม่จำเป็น อีกทั้งยังช่วยให้ผลิตผลมีปริมาณ และคุณภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้