โรงงานยาสูบนำเทคโนโลยีดาวเทียมช่วยสำรวจพื้นที่ปลูกยาสูบ

อังคาร ๐๙ กันยายน ๒๐๑๔ ๑๐:๐๙
ยาสูบรุกแผนพัฒนาคุณภาพใบยา ประยุกต์นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตใบยาไทยให้เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมบุหรี่ทั่วโลก

นางสาวดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ กรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบ และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการยาสูบ กล่าวว่า โรงงานยาสูบร่วมกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า (GISTDA) นำดาวเทียมและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาใช้สำรวจและติดตามพื้นที่เพาะปลูกยาสูบของเกษตรกรรายแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้โครงการ “ศึกษาและสำรวจพื้นที่เพาะปลูกยาสูบด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ”

ที่ผ่านมาโรงงานยาสูบประสบปัญหาเรื่องข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกยาสูบของเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือเรื่องการแจ้งพื้นที่เพาะปลูกซ้ำซ้อนกัน ทำให้การประเมินผลผลิตใบยาในแต่ละปีคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง โรงงานยาสูบมีแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีดาวเทียมและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการสำรวจหรือตรวจสอบพื้นเพาะปลูกให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และแก้ปัญหาการเพาะปลูกยาสูบของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

ในแต่ละปีโรงงานยาสูบได้กำหนดโควต้ารับซื้อใบยาในประเทศถึงปีละ 33 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,800 ล้านบาท ซึ่งสร้างอาชีพให้กับเกษตรกร มากกว่า 17,000 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกกว่า 100,000 ไร่ โดยโรงงานยาสูบได้ตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพใบยา ซึ่งจะมีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค การสร้างความยั่งยืนให้เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบเป็นอาชีพหลัก รวมทั้งการดูแลคุณภาพชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นด้วย

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กล่าวว่า จิสด้าได้เริ่มโครงการศึกษาและสำรวจพื้นที่เพาะปลูกยาสูบด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ โดยเป็นโครงการต้นแบบตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาระบบสำรวจ และตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกยาสูบ รวมถึงออกแบบฐานข้อมูลเกษตรกรรายแปลง ศึกษา ทดลองจำแนกใบยาพันธุ์เบอร์เลย์ออกจากพันธุ์พื้นเมือง และศึกษาพัฒนาระบบต้นแบบ เพื่อการติดตามพื้นที่เพาะปลูกยาสูบแบบระบบออนไลน์

โดยวิธีการนำข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการติดตาม สำรวจ และตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูก และพื้นที่เป้าหมายที่มีอาณาบริเวณกว้าง ให้เกิดการเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว โดยได้เลือกพื้นที่ตัวอย่าง 3 แห่ง เป็นพื้นที่ในความดูแลของสำนักงานยาสูบเชียงใหม่ สำนักงานยาสูบสุโขทัย และสำนักงานยาสูบเพชรบูรณ์ ซึ่งคาดหวังว่าผลลัพธ์ของโครงการจะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกยาสูบในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน และสามารถต่อยอดต่อไปยังผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ได้ แก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด ลดความสูญเสียทั้งภาครัฐฯ และเกษตรกรในประเทศ คำนวณผลผลิตเพื่อวางแผนการจำหน่ายยังต่างประเทศได้ ซึ่งตรงจุดนี้จะเป็นการวางรากฐานการทำเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ และควบคุมผลผลิตได้ในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ