“คณะกรรมการสรรหาฯ ควรเลือก สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อย่างไร ? ”

จันทร์ ๑๕ กันยายน ๒๐๑๔ ๐๙:๕๕
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คณะกรรมการสรรหาฯ ควรเลือก สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อย่างไร ? ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11 – 12 กันยายน 2557 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,247 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคุณสมบัติของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่เหมาะสม อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่ออายุเฉลี่ย ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.55 ระบุว่า ควรมีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 35 – 50 ปี รองลงมา ร้อยละ 30.31 ระบุว่า อายุระหว่าง 51 – 60 ปี ร้อยละ 3.77 ระบุว่า อายุระหว่าง 61 – 70 ปี ร้อยละ 0.08 ระบุว่า อายุมากกว่า 70 ปี และ ร้อยละ 5.29 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อระดับการศึกษาสูงสุด ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.10 ระบุว่า ควรประกอบไปด้วยผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รองลงมา ร้อยละ 16.20 ระบุว่า จบการศึกษาระดับปริญญาโท ร้อยละ 8.90 ระบุว่า ได้ทุกระดับการศึกษา ขอให้เป็นคนที่มีความรู้ ความสามรถ มีประสบการณ์ทำงาน เป็นคนดี มีคุณธรรม และมีความซื่อสัตย์ ร้อยละ 7.30 ระบุว่า จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ร้อยละ 4.33 ระบุว่า ต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 2.41 ระบุว่า ควรจบไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษา หรือปริญญาขึ้นไป และ ร้อยละ 1.76 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อสัดส่วนอาชีพ ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร้อยละ 36.09 ระบุว่า ได้ทุกอาชีพ ต้องการให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เน้นเจาะจงเฉพาะกลุ่มอาชีพใดอาชีพหนึ่ง รองลงมา ร้อยละ 14.27 ระบุว่า เป็นกลุ่มเกษตรกร ชาวประมง ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 13.39 ระบุว่า เป็นกลุ่มข้าราชการ ทั้งอดีตและปัจจุบัน ร้อยละ 10.26 ระบุว่า เป็นกลุ่มนักวิชาการ ร้อยละ 7.78 ระบุว่า เป็นกลุ่มทหาร – ตำรวจ ร้อยละ 4.81 ระบุว่า เป็นกลุ่มเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการ ร้อยละ 4.57 ระบุว่า เป็นกลุ่มอาชีพอิสระ (เช่น ทนายความ ช่างภาพ นักเขียน ดารา) ร้อยละ 3.05 ระบุว่า เป็นกลุ่มนักการเมือง (ระดับชาติและท้องถิ่น) ร้อยละ 1.92 ระบุว่า เป็นกลุ่มคนทำงานเครือข่ายภาคประชาชน/องค์กรเอกชน (NGO) ร้อยละ 0.80 ระบุว่า เป็นกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนทั่ว ๆ ไป และ ร้อยละ 3.05 ไม่ระบุ /ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการประกอบไปด้วยคู่ขัดแย้งทางการเมืองทุกฝ่ายในอดีต ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พบว่า ประชาชนครึ่งหนึ่ง หรือ ร้อยละ 50.92 ระบุว่า ไม่ควร เพราะ ต่างฝ่ายต่างยึดติดในเรื่องของความคิดเห็นหรือทัศนคติที่ขัดแย้งกันในอตีด ที่จะนำมาซึ่งความขัดแย้ง กัน และปัญหาก็จะไม่รู้จักจบสิ้น ควรเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเป็นกลาง ร้อยละ 38.09 ระบุว่า ควร เพราะ จะได้มีความคิดเห็นที่มาจากหลากหลายกลุ่ม มีการถ่วงดุลความคิดเห็นกัน ต้องการให้ทุกฝ่ายมีความสามัคคี และ ร้อยละ 10.99 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 19.97 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 20.53 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 19.41 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 20.05 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ร้อยละ 20.05 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ร้อยละ 56.54 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 43.38 เป็นเพศหญิง และ ร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 2.69 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 18.39 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 61.76 มีอายุ 40 – 59 ปี และ ร้อยละ 17.17 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป

ตัวอย่างร้อยละ 92.91 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 5.95 นับถือศาสนาอิสลาม และ ร้อยละ 1.14 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 16.64 สถานภาพโสด ร้อยละ 80.10 สถานภาพสมรสแล้ว และร้อยละ 3.26 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 29.66 ระบุว่าจบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.74 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.17 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.21 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 5.23 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่าง ร้อยละ 15.71 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.13 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 26.76 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 17.35 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.06 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.19 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ร้อยละ 1.80 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 10.34 ระบุว่าไม่มีรายได้ ร้อยละ 24.62 มีรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.11 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 13.63 มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 8.34 มีรายได้ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 9.14 มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และ ร้อยละ 6.82 ไม่ระบุรายได้

1.ท่านคิดว่า สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ควรมีอายุเฉลี่ยเท่าใด

ความคิดเห็นของประชาชนต่ออายุเฉลี่ยของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร้อยละ

อายุระหว่าง35 – 50 ปี 60.55

อายุระหว่าง51 – 60 ปี 30.31

อายุระหว่าง61 – 70 ปี 3.77

อายุมากกว่า70 ปี 0.08

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 5.29

รวม 100.00

2.ท่านคิดว่า สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ควรประกอบไปด้วยผู้จบการศึกษาในระดับใดมากที่สุด

ความคิดเห็นของประชาชนต่อระดับการศึกษาสูงสุดของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร้อยละ

ต่ำกว่าปริญญาตรี 4.33

ปริญญาตรี 59.10

ปริญญาโท 16.20

ปริญญาเอก 7.30

ไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษา หรือปริญญาขึ้นไป 2.41

ได้ทุกระดับการศึกษา ขอให้เป็นคนที่มีความรู้ ความสามรถ มีประสบการณ์ทำงาน เป็นคนดี มีคุณธรรม และมีความซื่อสัตย์ 8.90

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 1.76

รวม 100.00

3.ท่านต้องการให้ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีสัดส่วนมาจากกลุ่มอาชีพใดมากที่สุด

ความคิดเห็นของประชาชนต่อสัดส่วนอาชีพของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร้อยละ

ได้ทุกอาชีพ ต้องการให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพเข้ามามีส่วนร่วม ไม่เน้นเจาะจงเฉพาะกลุ่มอาชีพใดอาชีพหนึ่ง 36.09

กลุ่มเกษตรกร ชาวประมง ผู้ใช้แรงงาน 14.27

ข้าราชการ ทั้งอดีตและปัจจุบัน 13.39

นักวิชาการ 10.26

ทหาร - ตำรวจ 7.78

เจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการ 4.81

อาชีพอิสระ(เช่น ทนายความ ช่างภาพ นักเขียน ดารา) 4.57

นักการเมือง(ระดับชาติและท้องถิ่น) 3.05

คนทำงานเครือข่ายภาคประชาชน/องค์กรเอกชน(NGO) 1.92

พนักงานบริษัทเอกชนทั่ว ๆ ไป 0.80

ไม่ระบุ /ไม่แน่ใจ 3.05

รวม 100.00

4.ท่านคิดว่า สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ควรประกอบไปด้วยคู่ขัดแย้งทางการเมืองทุกฝ่ายในอดีตหรือไม่

ความคิดเห็นของประชาชนต่อการประกอบไปด้วยคู่ขัดแย้งทางการเมืองทุกฝ่ายในอดีตของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร้อยละ

ไม่ควร เพราะ ต่างฝ่ายต่างยึดติดในเรื่องของความคิดเห็นหรือทัศนคติที่ขัดแย้งกันในอตีด ที่จะนำมาซึ่งความขัดแย้ง 50.92

กัน และปัญหาก็จะไม่รู้จักจบสิ้น ควรเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเป็นกลาง

ควร เพราะ จะได้มีความคิดเห็นที่มาจากหลากหลายกลุ่ม มีการถ่วงดุลความคิดเห็นกัน ต้องการให้ทุกฝ่ายมีความสามัคคี 38.09

ร่วมมือช่วยกันแก้ไขปัญหาของประเทศ

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 10.99

รวม 100.00

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4