ปัญหาคุณภาพบัณฑิตไทย

พุธ ๑๗ กันยายน ๒๐๑๔ ๑๐:๔๙
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ปัญหาคุณภาพบัณฑิตไทย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15 – 16 กันยายน 2557 กรณีศึกษาจากประชาชนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคุณภาพของบัณฑิตไทย อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนต่อปัจจัยสำคัญของปัญหาคุณภาพบัณฑิตไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.72 ระบุว่า ผู้เรียนไม่สนใจที่จะได้รับความรู้ มีค่านิยมแค่ต้องการใบปริญญาเท่านั้น รองลงมา ร้อยละ 42.56 ระบุว่า มหาวิทยาลัยมุ่งผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจมากเกินไป (จ่ายครบจบแน่) ร้อยละ 32.40 ระบุว่า หลักสูตรเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ บัณฑิตจึงไม่สามารถทำงานจริงได้ ร้อยละ 29.28 ระบุว่า ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่มีคุณภาพ จึงส่งผลต่อคุณภาพนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ร้อยละ 28.00 ระบุว่า หลักสูตรไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ร้อยละ 21.92 ระบุว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งไม่มีคุณภาพ ร้อยละ 17.84 ระบุว่า นโยบายมหาวิทยาลัยนอกระบบ (ทำให้มหาวิทยาลัยเน้นความอยู่รอดมากกว่าคุณภาพการศึกษา) ร้อยละ 11.36 ระบุว่า ความล้มเหลวของผู้บริหารสถานศึกษา ร้อยละ 11.12 ระบุว่า ความล้มเหลวของหน่วยงานกำกับมหาวิทยาลัย ร้อยละ 5.76 ระบุว่า ปัญหาการเมืองในมหาวิทยาลัย ร้อยละ 1.92 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ นักศึกษามีค่านิยมที่เรียนตามเพื่อน หรือเรียนไม่ตรงสาขา เมื่อจบไปแล้วทำงานไม่ตรงกับสาขาที่เรียนมา ทำให้มีบัณฑิตจบออกมาเกินความต้องการของตลาดแรงงาน รวมไปถึงมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยของผู้บริหารหรือนโยบายในระดับกระทรวงศึกษาธิการจนถึงระดับสถาบันการศึกษา และขาดการสร้างจิตสำนึกในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม และความอดทน บางสถาบันเน้นการทำกิจกรรมขณะเรียนมากเกินไป ประกอบกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และ ร้อยละ 0.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อระดับคุณภาพของบัณฑิตไทยในปัจุบัน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 2.24 ระบุว่า บัณฑิตไทยในปัจจุบันมีคุณภาพสูง ร้อยละ 30.80 ระบุว่า ค่อนข้างมีคุณภาพ ร้อยละ 45.44 ระบุว่า ไม่ค่อยมีคุณภาพ ร้อยละ 19.20 ระบุว่า มีคุณภาพต่ำ และ ร้อยละ 2.32 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อกระทรวงศึกษาธิการควรการจัดการทดสอบกลางเพื่อประเมินมาตรฐานบัณฑิต หรือไม่ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 75.44 ระบุว่า ควรมีการจัดทดสอบกลาง เพราะ ทำให้ทราบว่าบัณฑิตมีความรู้อยู่ในเกณฑ์ระดับใด มีข้อบกพร่องและต้องปรับปรุงในเรื่องใดบ้าง เป็นการยกระดับคุณภาพของการศึกษาไทยให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น ทำให้บัณฑิตที่จบไปนั้นมีคุณภาพ ความรู้ความสามารถ ความพร้อมในการทำงาน และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ ร้อยละ 22.48 ระบุว่า ไม่ควร เพราะ มีการสอบย่อย สอบระหว่างภาค และปลายภาคเรียนอยู่แล้ว เป็นการทดสอบที่ซ้ำซ้อน และทำให้นักศึกษาต้องพะวงในเรื่องของการแบ่งเวลาอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบการทดสอบกลาง ซึ่งการสอบเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวัดคุณภาพของบัณฑิต คุณภาพที่แท้จริงของบัณฑิตที่จบมา คือ ประสิทธิภาพของการทำงานมากกว่า ควรแก้ไขที่สาเหตุหลัก เช่น ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการเรียนการสอน คุณภาพของอาจารย์/ผู้สอน การบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย เป็นต้น และ ร้อยละ 2.08 ไม่ระบุ /ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 20.08 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 19.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 20.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ร้อยละ 19.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ร้อยละ 54.00 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 45.84 เป็นเพศหญิง และ ร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 0.72 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 37.43 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 52.21 มีอายุ 40 – 59 ปี และ ร้อยละ 9.64 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป

ตัวอย่างร้อยละ 94.94 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.02 นับถือศาสนาอิสลาม และ ร้อยละ 1.05 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 29.18 สถานภาพโสด ร้อยละ 69.21 สถานภาพสมรสแล้ว และร้อยละ 1.61 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 76.96 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 23.04 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.83 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 20.42 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 25.48 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 1.53 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 3.05 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 10.21 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ร้อยละ 0.48 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 5.44 ระบุว่าไม่มีรายได้ ร้อยละ 2.08 มีรายได้ต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.76 มีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 21.44 มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 16.08 มีรายได้ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 23.84 มีรายได้ต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และ ร้อยละ 7.36 ไม่ระบุรายได้

1.ท่านคิดว่า อะไรคือปัจจัยสำคัญของปัญหาคุณภาพบัณฑิตไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ความคิดเห็นของประชาชนต่อปัจจัยสำคัญของปัญหาคุณภาพบัณฑิตไทย ร้อยละ

ผู้เรียนไม่สนใจที่จะได้รับความรู้ มีค่านิยมแค่ต้องการใบปริญญาเท่านั้น 42.72

มหาวิทยาลัยมุ่งผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจมากเกินไป(จ่ายครบจบแน่) 42.56

หลักสูตรเน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ บัณฑิตจึงไม่สามารถทำงานจริงได้ 32.40

ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่มีคุณภาพ จึงส่งผลต่อคุณภาพนักศึกษาในมหาวิทยาลัย 29.28

หลักสูตรไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด 28.00

อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งไม่มีคุณภาพ 21.92

นโยบายมหาวิทยาลัยนอกระบบ(ทำให้มหาวิทยาลัยเน้นความอยู่รอดมากกว่าคุณภาพการศึกษา) 17.84

ความล้มเหลวของผู้บริหารสถานศึกษา 11.36

ความล้มเหลวของหน่วยงานกำกับมหาวิทยาลัย 11.12

ปัญหาการเมืองในมหาวิทยาลัย 5.76

อื่น ๆ ได้แก่ นักศึกษามีค่านิยมที่เรียนตามเพื่อน หรือเรียนไม่ตรงสาขา เมื่อจบไปแล้วทำงานไม่ตรงกับสาขาที่เรียนมา 1.92

ทำให้มีบัณฑิตจบออกมาเกินความต้องการของตลาดแรงงาน รวมไปถึงมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยของผู้บริหาร

หรือนโยบายในระดับกระทรวงศึกษาธิการจนถึงระดับสถาบันการศึกษา และขาดการสร้างจิตสำนึกในเรื่อง

ของคุณธรรม จริยธรรม และความอดทน บางสถาบันเน้นการทำกิจกรรมขณะเรียนมากเกินไป ประกอบกับ

สภาพสังคมที่เปลี่ยนไป

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 0.64

2.ท่านคิดว่าคุณภาพของบัณฑิตไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร

ความคิดเห็นของประชาชนต่อระดับคุณภาพของบัณฑิตไทยในปัจจุบัน ร้อยละ

มีคุณภาพสูง 2.24

ค่อนข้างมีคุณภาพ 30.80

ไม่ค่อยมีคุณภาพ 45.44

มีคุณภาพต่ำ 19.20

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 2.32

รวม 100.00

3.ท่านคิดว่ากระทรวงศึกษาธิการควรจัดการทดสอบกลางเพื่อประเมินมาตรฐานบัณฑิตหรือไม่

ความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการทดสอบกลางของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อประเมินมาตรฐานบัณฑิต ร้อยละ

ควร เพราะ ทำให้ทราบว่าบัณฑิตมีความรู้อยู่ในเกณฑ์ระดับใด มีข้อบกพร่องและต้องปรับปรุงในเรื่องใดบ้าง 75.44

เป็นการยกระดับคุณภาพของการศึกษาไทยให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น ทำให้บัณฑิตที่จบไปนั้นมีคุณภาพ ความรู้

ความสามารถ ความพร้อมในการทำงาน และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่ควร เพราะ มีการสอบย่อย สอบระหว่างภาค และปลายภาคเรียนอยู่แล้ว เป็นการทดสอบที่ซ้ำซ้อน และทำให้นักศึกษา 22.48

ต้องพะวงในเรื่องของการแบ่งเวลาอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบการทดสอบกลาง ซึ่งการสอบเป็นเพียง

ส่วนหนึ่งของการวัดคุณภาพของบัณฑิต คุณภาพที่แท้จริงของบัณฑิตที่จบมา คือ ประสิทธิภาพของการทำงาน

มากกว่า ควรแก้ไขที่สาเหตุหลัก เช่น ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการเรียนการสอน คุณภาพของ

อาจารย์/ผู้สอน การบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย เป็นต้น

ไม่ระบุ /ไม่แน่ใจ 2.08

รวม 100.00

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้