เร่งเครื่องเมืองเกษตรสีเขียว สศข.10 เปิดเวที เสวนาคาร์บอนฟุตพริ้นท์มะพร้าวน้ำหอม

พุธ ๒๔ กันยายน ๒๐๑๔ ๑๖:๐๘
สศข.10 เปิดเวทีเสวนาใหญ่ รุกทิศทางเมืองเกษตรสีเขียวกับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์มะพร้าวน้ำหอม เดินหน้าสร้างความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการปรับกระบวนการผลิตตามนโยบายเมือง เกษตรสีเขียวของกระทรวงเกษตรฯ หวังเร่งส่งเสริมให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าและกระตุ้นผู้ผลิตให้พัฒนา สินค้าแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นายธวัชชัย ประยูรสิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 10 ราชบุรี (สศข.10) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ทิศทางเมืองเกษตรสีเขียวกับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์มะพร้าวน้ำหอม” ณ ห้องชวนชม โรงแรมแพรวอาภา เพลส จ.ราชบุรี ว่า จากที่ สศข.10 ได้ดำเนินการจัดทำโครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในสินค้าเกษตรที่สำคัญ ภายใต้กรอบการดำเนินงานโครงการเมืองเกษตรสีเขียวของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยดำเนินการศึกษา มะพร้าวน้ำหอม สินค้าเกษตรสำคัญของจังหวัดราชบุรี ในรูปแบบการเปิดโอกาสให้เกษตรกรที่สนใจทดลองคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตรที่มีความพร้อมและมีความสนใจยื่นขอรับรองฉลากคาร์บอนฟุต พริ้นท์ผลิตภัณฑ์

สำหรับการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคสินค้าที่ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและชั้นบรรยากาศนั้น ปัจจุบัน ถือเป็นประเด็นท้าทายสำคัญของการค้าโลก ในขณะที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ยังขาดความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริงในเรื่องดังกล่าว ซึ่งการสัมมนาในวันนี้ นับเป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานการจัดทำฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นผลิตภัณฑ์ แสดงข้อมูลให้ผู้ผลิตและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจก ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์มะพร้าวน้ำหอม และนำไปสู่การปรับการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยการลดปริมาณการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้สินค้าเกษตรไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดโลกอีกด้วย

อย่าง ไรก็ตาม ในหลายๆ ประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา ที่เป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรไทย ได้ร้องขอให้สินค้าที่นำเข้าต้องติดฉลากหรือเครื่องหมายรับรองปริมาณการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตร จึงต้องเร่งสร้างการรับรู้ เตรียมความพร้อมให้เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าเกษตรทุกภาคส่วน ให้มีความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการปรับกระบวนการผลิตและวิธีการบริโภคให้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มศักยภาพการแข่งขันและช่วยลดภาวะโลกร้อน อีกทั้งยังเป็นตัวชี้วัดสนับสนุนการดำเนินนโยบายเมืองเกษตรสีเขียว ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกด้วย

ทั้งนี้ การจัดทำฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในประเทศไทย เริ่มมีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2552 โดยมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานให้การรับรองฉลาก ซึ่งในปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์ กว่า 1,100 ผลิตภัณฑ์ที่ มีฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์แสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกสู่ชั้น บรรยากาศจากการผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์ ซึ่งฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ถือเป็นกลไกตลาดหนึ่งที่มีส่วนช่วยส่งเสริมให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชั้นบรรยากาศ ในขณะเดียวกันก็เป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าตามความต้องการของผู้ บริโภคอีกด้วย สำหรับท่านที่สนใจผลการศึกษาเกี่ยวกับโครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในสินค้า เกษตรที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 032 337 951 และ 032 337 954 ในวันและเวลาราชการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๑ PRM ร่วมงาน OppDay มั่นใจธุรกิจปี 67 สดใส
๑๗:๓๘ Bitkub Chain ร่วม OpenGuild และ Polkadot เปิดพื้นที่รวมตัว Community รับ SEA Blockchain Week 2024
๑๗:๔๙ HOYO SOFT AND SAFE ผู้ผลิตคอกกั้นเด็กคุณภาพสูง มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัย ได้รับการไว้วางใจจากประสบการณ์ลูกค้าโดยการบอกปากต่อปาก
๑๗:๓๗ แนวทางสร้างสมดุลระหว่าง อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และ คำมั่นสัญญาของ Generative AI
๑๖:๔๖ Maison Berger Paris เผยเครื่องหอมสำหรับบ้านรูปแบบใหม่ล่าสุด 'Mist Diffuser' ภายใต้คอลเลคชันยอดนิยมตลอดกาล Lolita
๑๖:๐๕ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea)
๑๖:๓๙ JGAB 2024 จัดเต็มครั้งแรกในประเทศไทยและอาเซียน กับกิจกรรมและโซนจัดแสดงเครื่องประดับสุดพิเศษ พร้อมต้อนรับนักธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก เริ่ม 1 พ.ค. 67
๑๖:๒๘ สอศ. จับมือแอร์มิตซูบิชิ ดิวตี้ รับมอบเครื่องปรับอากาศในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านเครื่องปรับอากาศ
๑๖:๓๘ DKSH ประเทศไทย คว้า 8 รางวัลอันทรงเกียรติ ในงาน Employee Experience Awards ประจำปี 2567
๑๖:๑๖ เด็กล้ำ! นักศึกษา SE SPU คว้ารางวัลรองชนะเลิศ Best Paper ผลงานนวัตกรรมเนื้อสัตว์แพลนต์เบส สุดยอดแห่งความยั่งยืน