สศอ. ปูลู่ทางขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมกับจีนตอนกลาง เร่งเสริมการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการผลิตในระดับภูมิภาค

พุธ ๒๒ ตุลาคม ๒๐๑๔ ๑๔:๐๐
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ศึกษามณฑลดาวรุ่งทางตอนกลางของจีน ที่มีศักยภาพในการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ทั้งเซี่ยงไฮ้ - อันฮุย - หูเป่ย - ฉงชิ่ง และซื่อชวน ในแง่มุมด้านการค้า การลงทุนและยุทธศาสตร์รายมณฑล เพื่อเร่งเสริมการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการผลิตในระดับภูมิภาค

ดร.สมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยผลการศึกษา โครงการพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน (ยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือ ด้านอุตสาหกรรมกับประเทศจีนรายมณฑล ระยะที่ 1) ว่า เศรษฐกิจจีนมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น เป็นอย่างมาก โดยมีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกา นับว่าจีนมีศักยภาพสูงมากที่จะก้าวขึ้น เป็นอภิมหาอำนาจของโลก และด้วยอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยร้อยละ 10.4 ต่อปีในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา จึงคาดว่าจีนจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลกแซงหน้าสหรัฐอเมริกาในอนาคตอันใกล้

บทบาทของจีนต่อเศรษฐกิจโลกที่เด่นชัดมากที่สุดคือเรื่องของการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ จีนกลายเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการผลิตที่สำคัญในภูมิภาค (Regional Production Network) โดยในปี 2556 จีนมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของโลกประมาณ 4.16 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ทางด้านการลงทุน ในช่วงการปฏิรูปเศรษฐกิจยุคแรกๆ ภาพลักษณ์ของจีนในตลาดโลกเป็น “ผู้บริโภคสินค้ารายใหญ่ ของโลก” เนื่องจากตลาดภายในประเทศมีขนาดใหญ่ โดยมีจำนวนประชากรราว 1,350 ล้านคน และจากข้อได้เปรียบด้านค่าแรง และการเป็นศูนย์กลางการผลิตของภูมิภาค ทำให้จีนเป็นแหล่งรองรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) มากเป็นอันดับสองของโลก

นอกจากนี้ ภาพลักษณ์ของจีนแปรเปลี่ยนจากผู้บริโภคสินค้ารายใหญ่ของโลกเป็นแหล่งผลิตสินค้าส่งออกไปขายทั่วโลก จนได้รับขนานนามว่าเป็น “โรงงานของโลก (World Factory)” โดยการผลิตในภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 16.1 ต่อปี อย่างไรก็ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะ 5 ปี ฉบับที่ 12 จีนได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์จากการเป็นโรงงานของโลกไปสู่การเป็น “ตลาดของโลก” เนื่องจากค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงความตระหนักถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น ในด้านความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับจีนนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลไทยและจีนได้ทำร่วมลงนามบันทึกความเข้าตกลงระหว่างไทย 6 ฉบับ เพื่อเป็นการเห็นชอบร่วมกันต่อแผนระยะยาว ในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยจีนที่กำหนดแนวทางความร่วมมือไว้อย่างรอบด้าน โดยให้ความสำคัญพิเศษ ในด้านการส่งเสริมการค้า การลงทุน และการเชื่อมโยงระหว่างกัน

ด้านการค้าขายระหว่างกันนั้น ทั้งสองประเทศได้กำหนดเป้าหมายการค้าระหว่างให้บรรลุ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2558 นอกจากนี้รัฐบาลไทยได้แสดงความจำนงที่จะให้นักลงทุนจีนมาตั้งโรงงานที่ใช้สินค้าเกษตร เป็นวัตถุดิบในประเทศไทย เช่น โรงงานแปรรูปยางพารา มันสำปะหลัง และน้ำมันปาล์ม เป็นต้น ในขณะที่ลู่ทางการค้าและการลงทุนในประเทศจีนนั้น ประเด็นที่ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยต้องจับตาอย่างใกล้ชิดคือ โครงสร้างและระบบเศรษฐกิจของจีน รวมทั้งกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิต การค้าและการลงทุน ที่ออกโดยรัฐบาลกลางและรัฐบาลระดับมณฑล ซึ่งปัจจุบันมีความแตกต่างกันมาก นับว่าเป็นอุปสรรคอย่างมากสำหรับการลงทุนและการทำธุรกิจในประเทศจีน

ดร.สมชาย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในฐานะที่สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เป็นองค์กรชี้นำนโยบาย การพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของจีนต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย จึงได้ร่วมกับ บริษัท โซซิโอ-เอคโคโนมิค คอนซัลแตนส์ จำกัด ดำเนินโครงการศึกษากลยุทธ์และแผนพัฒนาอุตสาหกรรมกับประเทศจีนในลักษณะ “หนึ่งมณฑล หนึ่งประเทศ” โดยการเจาะลึกการพัฒนาความร่วมมือเป็นรายมณฑล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มมณฑลที่มีศักยภาพสูง ถือเป็นมณฑลดาวรุ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ – อันฮุย-หูเป่ย – ฉงชิ่ง – ซื่อชวน เพื่อให้การพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมกับประเทศจีนทั้งในระดับภูมิภาค อนุภูมิภาค เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของไทย เริ่มจากมหานครเซี่ยงไฮ้ ที่รัฐบาลจีน วางยุทธศาสตร์การพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศใน 4 ด้าน ได้แก่ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ การเงิน การค้า และการคมนาคมขนส่งทางเรือ และ ยังมีนวัตกรรมทางเศรษฐกิจล่าสุดคือการทดลองทำเขตการค้าเสรีนครเซี่ยงไฮ้ (SFTZ) ตามนโยบายของประธานาธิบดีคนปัจจุบัน

ทางด้านมณฑลอันฮุย ถูกวางยุทธศาสตร์ให้เป็นศูนย์กลางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นมณฑลที่มีศักยภาพ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่อาศัยเทคโนโลยีขั้นสูง สามารถเชื่อมโยงการวิจัยพัฒนาจากสถาบันการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ภายในมณฑลไปสู่การต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้อย่างแพร่หลาย

มณฑลหูเป่ย ได้มียุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาชนบทในรูปแบบใหม่ โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชนบทในการที่จะร่วมกันพัฒนาชนบทที่ล้าหลังให้มีความเจริญและได้มาตรฐานในการดำรงชีวิตของประชากรในชนบท ยกระดับมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่จำหน่ายในราคาถูกแต่เดิม โดยการอาศัยเทคโนโลยีและการวิจัยทางด้านการเกษตรขั้นสูง เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ส่วนมหานครฉงชิ่ง นอกจากจะเป็นเมืองที่มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่สูงลำดับต้นๆของจีนแล้ว ยังมีแผนการพัฒนา เพื่อรองรับสินค้าจากมณฑลซื่อชวน ในการกระจายสินค้าสู่ภาคตะวันตกของจีนและการเชื่อมโยงกับเส้นทางการขนส่งทางแม่น้ำแยงซี ตามแผนการพัฒนาการสร้างเส้นทางโลจิสติกส์ระหว่างประเทศและการพัฒนาเส้นทางสายไหมสมัยใหม่ระหว่างจีนกับเอเชีย ขณะที่มณฑลซื่อชวน ในด้านการบริโภค ตลาดมณฑลซื่อชวนจัดเป็นตลาดระดับกลาง-ล่าง แต่ก่อนชาวมณฑลซื่อชวน มีอาชีพทำการเกษตร แต่บางส่วนก็ย้ายไปทำงานด้านอุตสาหกรรมในเมืองทางภาคตะวันออก ปัจจุบันรัฐบาลจีนได้มีการส่งเสริมการลงทุนในภาคตะวันตกมากขึ้น แรงงานเหล่านั้นจึงหันกลับมาทำงานที่ถิ่นฐานเดิมในมณฑลซื่อชวน โดยจีนได้วางยุทธศาสตร์ให้มณฑลซื่อชวนเป็นแหล่งพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและทันสมัย

สำหรับรูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economic Cooperation) ระหว่างไทยกับจีนนั้น ผลการศึกษา ได้เสนอระดับของความร่วมมือไว้เป็น 3 ระดับ ดังนี้ ระดับพื้นฐาน (Basic Knowledge) เช่น การจัดตั้งโรงงานตัวอย่าง (Demonstration plant) ในไทย เพื่อสาธิตการผลิตโดยเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนของไทย ติดต่อประสานงานกับผู้บริหารมณฑลต่างๆ ของจีน ในการจัดตั้งโรงงานตัวอย่างให้ภาคเอกชนเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ส่วนระดับกลาง (Middle Stage) เป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐ (รัฐวิสาหกิจ) และภาคเอกชนของทั้ง 2 ประเทศ จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในไทย และ/หรือในมณฑลต่างๆของจีน โดยเชิญชวนให้นักลงทุนไทยเข้าไปร่วมกับมณฑลต่างๆ ในจีน หรือเชิญชวนให้นักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนในไทย โดยรูปแบบความร่วมมือจะเป็นในลักษณะของการลงทุนใน โครงการร่วม (Joint Venture) ในโครงการอุตสาหกรรมการผลิตและ/หรือบริการ

นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบของความร่วมมือในระดับสูง กล่าวคือเป็นการร่วมมือด้านเทคนิค (Technical Assistance) ได้แก่ การแลกเปลี่ยนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านการพัฒนาและวิจัยร่วมกัน โดยผลจากการร่วมมือจะเป็นการจุดประกายและสร้างการตื่นตัวต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตของทั้ง 2 ประเทศ ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมในการส่งเสริมความร่วมมือในขั้นต้น โดยประเมินจากศักยภาพและความพร้อม

ของอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับความต้องการของประเทศจีน ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร กลุ่มธุรกิจบริการด้านโลจิสติกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม กุล่มอุตสาหกรรมเคมีและเครื่องสำอาง กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ด้านการออกแบบเพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ในเขตเมือง และกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้และวัสดุทดแทน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้