สมาชิกวุฒิสภากับการปฏิรูปการเมือง

จันทร์ ๑๕ ธันวาคม ๒๐๑๔ ๑๕:๔๗
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “สมาชิกวุฒิสภากับการปฏิรูปการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11 – 12 ธันวาคม 2557 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับที่มาและหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ว่าควรเป็นอย่างไร อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบ เป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และ มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อความจำเป็นที่จะต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ภายหลังการปฏิรูประบบการเมืองไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.36 ระบุว่า ระบบการเมืองไทยจำเป็นจะต้องมีสมาชิกวุฒิสภา ขณะที่ ร้อยละ 24.64 ระบุว่า ระบบการเมืองไทยไม่จำเป็นจะต้องมีสมาชิกวุฒิสภา และ ร้อยละ 4.00 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.08 ระบุว่า ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเท่านั้น รองลงมา ร้อยละ 31.44 ระบุว่า ส.ว. มาจากการสรรหา และ มาจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 5.04 ระบุว่า ส.ว. ต้องมาจากการสรรหาเท่านั้น ร้อยละ 0.32 ระบุว่า ไม่ควรมี ส.ว. ร้อยละ 1.12 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่ออำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.20 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย รองลงมา ร้อยละ 38.96 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการเสนอกฎหมาย ร้อยละ 36.00 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร้อยละ 28.80 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการร่วมอภิปายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล ร้อยละ 14.96 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลในการเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร้อยละ 13.28 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ร้อยละ 8.56 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลในการเข้าดำรงตำแหน่ง ในองค์กรอิสระ ร้อยละ 7.44 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลในการเข้าดำรงตำแหน่งระดับสูง ในองค์กรของรัฐ ร้อยละ 3.12 ระบุว่า ส.ว. ควรมีอำนาจหน้าที่ อื่น ๆ เช่น ตรวจสอบ ควบคุม และกำกับการทำงานของรัฐบาล คณะรัฐมนตรี ส.ส. นักการเมือง พรรคการเมือง หน่วยงานองค์กรอิสระทางการเมือง เป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐสภาอย่างแท้จริง พร้อมเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนด้วย และ ร้อยละ 5.12 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 20.24 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 19.76 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 54.88 เป็นเพศชาย ร้อยละ 45.04 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก

ตัวอย่างร้อยละ 8.39 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 33.87 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 45.40 มีอายุ 40 – 59 ปี และร้อยละ 12.34 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.23 นับถือศาสนาพุทธ ตัวอย่างร้อยละ 4.04 นับถือศาสนาอิสลาม และตัวอย่างร้อยละ 0.73 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 27.38 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 70.36 สมรสแล้ว และตัวอย่างร้อยละ 2.26 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 25.95 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 32.17 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.49 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 28.05 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และตัวอย่างร้อยละ 5.34 จบการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 13.10 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 14.87 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่างร้อยละ 22.72 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 15.68 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 15.84 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 13.10 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ตัวอย่างร้อยละ 4.69 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 14.64 ไม่มีรายได้ ตัวอย่างร้อยละ 20.64 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 33.12 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 12.16 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 6.00 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 7.04 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 6.40 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๑ PRM ร่วมงาน OppDay มั่นใจธุรกิจปี 67 สดใส
๑๗:๓๘ Bitkub Chain ร่วม OpenGuild และ Polkadot เปิดพื้นที่รวมตัว Community รับ SEA Blockchain Week 2024
๑๗:๔๙ HOYO SOFT AND SAFE ผู้ผลิตคอกกั้นเด็กคุณภาพสูง มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัย ได้รับการไว้วางใจจากประสบการณ์ลูกค้าโดยการบอกปากต่อปาก
๑๗:๓๗ แนวทางสร้างสมดุลระหว่าง อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และ คำมั่นสัญญาของ Generative AI
๑๖:๔๖ Maison Berger Paris เผยเครื่องหอมสำหรับบ้านรูปแบบใหม่ล่าสุด 'Mist Diffuser' ภายใต้คอลเลคชันยอดนิยมตลอดกาล Lolita
๑๖:๐๕ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea)
๑๖:๓๙ JGAB 2024 จัดเต็มครั้งแรกในประเทศไทยและอาเซียน กับกิจกรรมและโซนจัดแสดงเครื่องประดับสุดพิเศษ พร้อมต้อนรับนักธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก เริ่ม 1 พ.ค. 67
๑๖:๒๘ สอศ. จับมือแอร์มิตซูบิชิ ดิวตี้ รับมอบเครื่องปรับอากาศในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านเครื่องปรับอากาศ
๑๖:๓๘ DKSH ประเทศไทย คว้า 8 รางวัลอันทรงเกียรติ ในงาน Employee Experience Awards ประจำปี 2567
๑๖:๑๖ เด็กล้ำ! นักศึกษา SE SPU คว้ารางวัลรองชนะเลิศ Best Paper ผลงานนวัตกรรมเนื้อสัตว์แพลนต์เบส สุดยอดแห่งความยั่งยืน