สศอ. ดำเนินการแก้ปัญหาวิกฤตยางพาราไทยกำหนดมาตรการเพิ่มอุปสงค์การใช้ยางพารา สร้างกลไกผลักดันราคายางให้สูงขึ้น คาดส่งผลทำให้อุตฯ ยางพาราไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน

จันทร์ ๑๕ ธันวาคม ๒๐๑๔ ๑๔:๓๗
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยแนวทางดำเนินการแก้ปัญหาวิกฤตราคายางพาราตกต่ำและพัฒนาอนาคตอุตสาหกรรมระยะยาวของยางพาราไทยที่จะพัฒนาให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยกำหนดมาตรการส่งเสริม 3 ด้านหลัก ได้แก่ การแก้ปัญหาวัตถุดิบล้นตลาด การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มอุปสงค์การใช้ยางพาราในภาคอุตสาหกรรม สร้างกลไกผลักดันราคายางในประเทศให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมยางพาราของไทยเติบโตขึ้นได้ อย่างยั่งยืน และยังเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบ เกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานยางพาราในตลาด และสามารถทำให้ราคายางลดความผันผวนและมีเสถียรภาพมากขึ้น

นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ตามที่อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางขั้นปลายในประเทศยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร เนื่องจากมีประสิทธิภาพการผลิตต่ำ และยังมีเทคโนโลยีการผลิตที่ล้าสมัย รวมไปถึงการมีอุปทานส่วนเกิน และการนำยางไปแปรรูปในสัดส่วนที่น้อย ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม ได้มีบทบาทในการดำเนินการภายใต้แนวทางพัฒนายางพาราทั้งระบบในส่วนของการสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมยางขั้นปลายน้ำ โดยได้กำหนดมาตรการ เพื่อเพิ่มอุปสงค์การใช้ยางพาราในภาคอุตสาหกรรม สร้างกลไกผลักดันราคายางในประเทศให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมยางพาราของไทยเติบโตขึ้นได้อย่างยั่งยืน

โดยมาตรการในการดำเนินการแก้ปัญหา 3 ด้านหลัก การแก้ปัญหาวัตถุดิบล้นตลาด การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบ คือ

1. การแก้ปัญหาวัตถุดิบล้นตลาด จัดทำโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท จากในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2557 – เมษายน 2558 เป็นช่วงที่ผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดมาก จึงอาจส่งผลกระทบให้ราคายางลดต่ำลง ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยางวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบผลิตภัณฑ์ยางขั้นกลาง โดยสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการแปรรูปน้ำยางข้นใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อยางส่วนเกินออกจากระบบ ในช่วงต้นฤดูที่ผลผลิตออกสู่ตลาด มาก โดยอัตราดอกเบี้ย ผู้กู้จะชำระดอกเบี้ยเท่ากับอัตรา 2 % โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้ 3 % ซึ่งการใช้เงินลงทุน 10,000 ล้านบาท ตามโครงการฯ คาดว่าจะทำให้สามารถดูดซับปริมาณยางที่จะเข้าสู่ระบบ ได้ประมาณ 200,000 ตัน ซึ่งจะส่งผลให้ราคายางเพิ่มขึ้นทันที ประมาณ 2-3 บาท/กิโลกรัม และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมายคือ 66 บาท/กิโลกรัม ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางมีความเป็นอยู่ดีขึ้น

2. การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยมี การส่งเสริมให้มีการเพิ่มใช้ยางพาราในประเทศ ซึ่งเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง โดยการดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางเพื่อขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต วงเงิน 15,000 ล้านบาท ซึ่งหน่วยงานรับผิดชอบ คือ กระทรวงอุตสาหกรรมและธนาคารออมสิน โดยธนาคารออมสินจะพิจารณาความคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการแต่ละราย และจะส่งให้กระทรวงอุตสาหกรรมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม พิจารณาและรับรองความเหมาะสมของเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการนี้ เพื่อประกอบการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารออมสิน ซึ่งจะช่วยให้ดูดซับยางพารางได้ 300,000 ตัน

3. การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบ คือ การส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง ตามที่ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ยางของไทยยังขาดมาตรฐานในการทดสอบผลิตภัณฑ์ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานสากล อีกทั้งในปัจจุบันประเทศที่มีอำนาจต่อรองสูง ได้ใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีต่างๆ เป็นเงื่อนไขในการกีดกันทางการค้า เช่น กำหนดเงื่อนไขด้านมาตรฐานสินค้า มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย เป็นต้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพสินค้า ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมถึงต้องมีการสนับสนุนให้มีการเร่งกำหนดมาตรฐานและทดสอบผลิตภัณฑ์ และมีการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการผลิต เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ยางให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมยาง คือ ส่งเสริมการลงทุนใหม่ในอุตสาหกรรมแปรรูปขั้นต้น กลางน้ำ ปลายน้ำ และเร่งผลักดัน การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมยางพารา ภายใต้แนวคิดโครงการเมืองยาง (Rubber City) ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมยางพาราในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จังหวัดสงขลา ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รับผิดชอบดำเนินการจัดตั้งและพัฒนานิคมอุตสาหกรรมยางพารา ในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จังหวัดสงขลา พื้นที่ประมาณ 1,197 ไร่ โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบนิคมอุตสาหกรรมยางพารา ซึ่งระยะเวลาในการดำเนินการศึกษาฯ จะเสร็จประมาณเดือนพฤษภาคม 2558

และการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา มีการดำเนินการสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานวิจัยโดยการดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพาราภายใต้เครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานวิจัย มาตั้งแต่ปี 2556-2557 โดยเครือข่ายฯ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัย และหน่วยงานให้ทุนวิจัย เพื่อให้เกิดงานวิจัยที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางจะส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์งานวิจัยที่ตรงกับความต้องการของตลาดและนำไป ใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ โดยในปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายซึ่งประกอบด้วย ผู้ประกอบการ นักวิจัย สถาบันการศึกษา ประมาณ 173 ราย

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการโครงการต่างๆ ภายใต้แนวทางพัฒนายางพาราทั้งระบบ เป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยางพารา

ในประเทศอย่างครบวงจร เป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางขั้นปลายให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล เพิ่มการใช้ยางเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานยางพาราในตลาด ทำให้ราคายางลดความผันผวนและมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ มาตรการต่างๆ ดังกล่าว จะทำให้สามารถเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราภายในประเทศประมาณ 500,000 ตัน และเพิ่มผลิตภาพของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ถุงมือยาง ยางล้อ ยางยืด อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?