ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดย สบน. ประจำเดือนพฤศจิกายน 2557

พุธ ๒๔ ธันวาคม ๒๐๑๔ ๑๐:๔๙
1. การบริหารจัดการหนี้รัฐบาล

1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล

ในเดือนพฤศจิกายน 2557 กระทรวงการคลังได้กู้เงิน และเบิกจ่ายเงินกู้ ดังนี้

1.1.1 การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 9,970 ล้านบาท

1.1.2 การเบิกจ่ายเงินกู้ต่อให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จำนวน 37.82 ล้านบาท รวมถึงการเบิกจ่ายเงินกู้ต่อให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีแดง จำนวน 13.10 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง จำนวน 82.30 ล้านบาท

1.1.3 การเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 960 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนเงินกู้จากธนาคารโลก เพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 วงเงิน 3,000 ล้านบาท

1.2 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล

1.2.1 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในเดือนพฤศจิกายน 2557

ในเดือนพฤศจิกายน 2557 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ ดังนี้

(1) พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 ที่ครบกำหนด จำนวน 36,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น (1) พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ 9,000 ล้านบาท และ (2) สัญญาเงินกู้ระยะสั้น 27,000 ล้านบาท

(2) การทำธุรกรรมแลกพันธบัตร (Bond Switching) โดยกระทรวงการคลังดำเนินการแลกพันธบัตร ที่ออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 รุ่น LB155A จำนวน 76,235.20 ล้านบาท กับพันธบัตรรัฐบาลที่เป็น Benchmark 4 รุ่น จำนวน 71,017 ล้านบาท ซึ่งการทำธุรกรรมครั้งนี้ทำให้ยอดหนี้คงค้างของพันธบัตรรัฐบาลลดลง 5,218.02 ล้านบาท

(3) การปรับโครงสร้างหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ครบกำหนดในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สองฯ (FIDF 3) จำนวน 3,778.61 ล้านบาท โดยวิธีการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 3,778.60 ล้านบาท และยืมเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF 3) จำนวน 5,796 บาท

ทั้งนี้ การรายงานการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลจะไม่รวมการ Roll over ตั๋วเงินคลัง เนื่องจากการกู้เงินโดยการออกตั๋วเงินคลังเป็นการกู้ในรูปเงินทุนหมุนเวียนเพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยการกู้เงินในขณะหนึ่งจะไม่เกินวงเงินที่กำหนด โดย ณ ต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 มีวงเงินตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดรับ – จ่ายของรัฐบาล จำนวน 90,500 ล้านบาท และกระทรวงการคลังจะทำการ Roll over ตั๋วเงินคลังที่ครบกำหนดตามอายุของตั๋วเงินคลังในแต่ละรุ่น

1.2.2 การกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในเดือนพฤศจิกายน 2557

ในเดือนพฤศจิกายน 2557 ไม่มีการกู้เงินล่วงหน้า (Pre-funding)

1.3 การชำระหนี้ของรัฐบาล

ในเดือนพฤศจิกายน 2557 กระทรวงการคลังได้ชำระหนี้ จำนวน 17,044.09 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น

1.3.1 การชำระหนี้ของรัฐบาลจากงบประมาณ เป็นจำนวน 14,901.85 ล้านบาท รายละเอียด ดังนี้

- ชำระหนี้ในประเทศ 14,706.01 ล้านบาท แบ่งเป็นต้นเงิน 10,000 ล้านบาท และดอกเบี้ย 4,706.01 ล้านบาท

- ชำระหนี้ต่างประเทศ 20.84 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าดอกเบี้ย 20.39 ล้านบาท และค่าธรรมเนียม 0.45 ล้านบาท

- ชำระต้นเงินกู้ภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ จำนวน 175 ล้านบาท ที่กระทรวงการคลังกู้มาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

1.3.2 การชำระหนี้ของรัฐบาลจากแหล่งอื่น เป็นจำนวน 2,142.24 ล้านบาท ดังนี้

(1) การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) จำนวน 1,778.53 ล้านบาท ซึ่งเป็นการชำระดอกเบี้ยทั้งจำนวน โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 2

(2) การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สองฯ (FIDF 3) จำนวน 363.71 ล้านบาท แบ่งเป็นการชำระต้นเงิน 27.91 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 1 ที่ได้รับจากการโอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ รวมถึงการชำระดอกเบี้ยจำนวน 335.80 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 2

2. การบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ

2.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ

ในเดือนพฤศจิกายน 2557 รัฐวิสาหกิจไม่มีการกู้เงินในประเทศ

2.2 ผลการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ

ในเดือนพฤศจิกายน 2557 รัฐวิสาหกิจได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศเป็นเงิน 51,430 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังตารางที่ 4

2.3 ผลการบริหารจัดการหนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจเพื่อลดต้นทุนเงินกู้และป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน

ในเดือนพฤศจิกายน 2557 ไม่มีการบริหารจัดการหนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจ

ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ