36 ปีกับการสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน

ศุกร์ ๐๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๕ ๑๒:๔๙
อิหร่านหรือเปอร์เซียเป็นอาณาจักรเก่าแก่ และเจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปะวิทยาการและอารยะธรรมมายาวนานกว่า 3,000 ปี ในสมัยพระเจ้าไซรัสมหาราชทรงถูกขนานนามว่าจักรพรรดิสามทวีป เพราะอาณาจักรของพระองค์ครอบคลุมตั้งแต่อาฟริกาเหนือ ยุโรปบางส่วน และเอเชียที่กว้างไกลถึงแม่น้ำสินธุเปอร์เซียถือเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลกอีกแห่งหนึ่ง

จักรวรรดิมีเดี่ยน ราชวงศ์อาคาเมนิด (Achaemenid, 550-333 BCE) ได้รับการยกย่องว่าเป็นจักรวรรดิที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ ครอบครองพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล ตั้งแต่ด้านทิศตะวันตก คลุมพื้นที่อนาโตเลีย คือ เอเชียตะวันตก กินพื้นที่ตุรกีทั้งหมด ล้อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้านบนคลุมปากแม่น้ำดานูบของโรเมเนียบุลเกเรีย จรดกรีก ครอบครองหมู่เกาะในทะเลเมดิเตอเรเนียน และคลุมลงมาด้านล่าง กินพื้นที่อียิปต์ และลิเบีย ส่วนด้านบนไปจนถึงตะวันออก กินพื้นที่กว่าครึ่งของทะเลแคสเบียน จรดทะเลอาราล ครอบคลุมเตอร์กไมนิสถาน อุซเบกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน จรดอินเดียที่แม่น้ำอินดุส

ต่อมาอิหร่านประสบกับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการปฏิวัติอิสลามโดยอิหม่ามโคมัยนี เป็นผู้นำขบวนการปฏิวัติของประชาชนและนักศึกษาล้มล้างการปกครองแบบเผด็จการของกษัตรย์ชาร์ปาเลวี จวบจนปัจจุบันเวลาก็ล่วงเลยมามากกว่าสามสิบปีแล้ว และปีนี้เป็นที่36 ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์(Absolute Monarchy) เป็นสาธารณรัฐ อิสลาม (Islamic Republic ) เป็นการปกครองในระบอบอิสลาม(Islamic State) ซึ่งฐานความคิดของระบอบการปกครองนั้น ผ่านการกลั่นกรองอย่างตกผลึกตามหลักคิดทางปรัชญาการเมืองอิสลาม ผู้ที่วางรากฐานของระบอบการปกครองในประเทศอิหร่าน คือท่าน อะยาตุลลอฮ์อิมามโคมัยนี

ท่านอิมามโคมัยนีได้นำเสนอทฤษฎีปรัชญาการเมืองว่าด้วยเรื่องระบอบการปกครองอิสลามไว้ว่าแท้จริงหลักศาสนบัญญัติอิสลาม ไม่ว่าด้านภาคศาสนพิธี(พิธีกรรม) หรือด้านภาคการพาณิชย์ การเมือง จำเป็นจะต้องดำรงอยู่จนถึงวันอวสานโลก จากหลักคิดนี้ เป็นเหตุให้จะต้องมีระบบการบริหารและการปกครองที่สามารถนำหลักศาสนบัญญัติมาถือปฏิบัติและบังคับใช้เพื่อสร้างความสมดุลภาพและความเหมาะสมของการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติ

ท่านอิมามโคมัยนี ได้กล่าวว่า แท้จริงการเกิดขึ้นของรัฐอิสลามถือว่าเป็นภาระกิจหนึ่งของปราชญ์ และยังถือว่าเป็นข้อบังคับหนึ่งของศาสนา(วายิบกิฟาอี) เพราะว่าการรักษาสิ่งที่เป็นหลักการศาสนาหรือการควบคุมการออกนอกลู่นอกทางของมุสลิม ต้องอาศัยกลไกลของสร้างรัฐอันมั่นคง

ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวอีกว่า..

“การเป็นผู้ปกครอง และเป็นผู้นำรัฐใดรัฐหนึ่งนั้นถือว่าเป็นหน้าที่ของนักการศาสนา นักนิติศาสตร์ที่ทรงคุณธรรม และยังถือว่าเป็นความเหมาะสมของนักนิติศาสตร์อยู่ในฐานะเป็นปราชญ์ในการเป็นผู้นำของประชาชนมุสลิมดังนั้นการจัดตั้งรัฐอิสลาม ถือว่าเป็นข้อบังคับหนึ่งทางศาสนาประเภทกิฟาอี (ข้อบังคับซึ่งถ้ามีบุคคลใดได้กระทำแล้วบุคคลอื่นเป็นอันตกไป)ดังนั้นถ้ามีนักนิติศาสตร์ท่านใด ได้จัดตั้งรัฐอิสลามขึ้น ถือว่านักนิติศาสตร์คนอื่น ๆ ต้องปฏิบัติตาม และถือว่าจำเป็นต้องให้ความสำคัญและสนับสนุน” (หน้า 33 จากหนังสือซอฮีฟะตุลนูร)

อิหร่านได้จัดระบอบโครงสร้างทางการเมืองและการปกครอง โดยยึดระบอบการปกครองอิสลาม อันมีราชาปราชญ์เป็นประมุขหรือเรียกว่า “ระบอบปราชญาธิปไตย” โดยมีรูปแบบเป็นระบบรัฐสภา อันมีประธานาธิบดี (President) และรัฐสภา (Parliament) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน (Electorate) และประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (Cabinet) ที่ต้องได้รับการยอมรับจากรัฐสภา อสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านมีสถาบันสูงสุด คือ สถาบันแห่งประมุขสูงสุด (Supreme Leader)เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้นำรัฐและเป็นผู้ปกครองที่อยู่ในฐานะราชาปราชญ์ ซึ่งเป็นผู้รับรองผลลัพธ์การเลือกตั้งประธานาธิบดี และยังมีอำนาจแต่งตั้งสถาบันสำคัญอื่นๆ คือกองทัพ (Military) ประมุขฝ่ายตุลาการ (Head of Judiciary) และ( Expediency council)สภาพิเศษซึ่งทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างรัฐสภาและ สภาผู้ชี้นำ (Guardian council) หรือแม้แต่สภาอีกสภาหนึ่งคือสภาผู้ชำนาญการ (Assembly of experts)

ท่านอิมามโคมัยนีได้นำเสนอทฤษฎีปรัชญาการเมืองว่าด้วยเรื่องระบอบการปกครองอิสลามไว้ว่าแท้จริงหลักศาสนบัญญัติอิสลาม ไม่ว่าด้านภาคศาสนพิธี(พิธีกรรม) หรือด้านภาคการพาณิชย์ การเมือง จำเป็นจะต้องดำรงอยู่จนถึงวันอวสานโลก จากหลักคิดนี้ เป็นเหตุให้จะต้องมีระบบการบริหารและการปกครองที่สามารถนำหลักศาสนบัญญัติมาถือปฏิบัติและบังคับใช้เพื่อสร้างความสมดุลภาพและความเหมาะสมของการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติ

ท่านอิมามโคมัยนี ได้กล่าวว่า” แท้จริงการเกิดขึ้นของรัฐอิสลามถือว่าเป็นภาระกิจหนึ่งของปราชญ์ และยังถือว่าเป็นข้อบังคับหนึ่งของศาสนา(วายิบกิฟาอี) เพราะว่าการรักษาสิ่งที่เป็นหลักการศาสนาหรือการควบคุมการออกนอกลู่นอกทางของมุสลิม ต้องอาศัยกลไกลของสร้างรัฐอันมั่นคง”

ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวอีกว่า..

“การเป็นผู้ปกครอง และเป็นผู้นำรัฐใดรัฐหนึ่งนั้นถือว่าเป็นหน้าที่ของนักการศาสนา นักนิติศาสตร์ที่ทรงคุณธรรม และยังถือว่าเป็นความเหมาะสมของนักนิติศาสตร์อยู่ในฐานะเป็นราชาปราชญ์ในการเป็นผู้นำของประชาชนมุสลิมดังนั้นการจัดตั้งรัฐอิสลาม ถือว่าเป็นข้อบังคับหนึ่งทางศาสนาประเภทกิฟาอี (ข้อบังคับซึ่งถ้ามีบุคคลใดได้กระทำแล้วบุคคลอื่นเป็นอันตกไป)ดังนั้นถ้ามีนักนิติศาสตร์ท่านใด ได้จัดตั้งรัฐอิสลามขึ้น ถือว่านักนิติศาสตร์คนอื่น ๆ ต้องปฏิบัติตาม และถือว่าจำเป็นต้องให้ความสำคัญและสนับสนุน” (หน้า 33 จากหนังสือซอฮีฟะตุลนูร)

โครงสร้างหรือระบบการเมืองของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน อยู่บนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญปี 1979 ประกอบด้วยสถาบันการเมืองตามระบอบอิสลาม อันมีราชาปราชญ์เป็นประมุข หรือเรียกตามหลักรัฐศาสตร์อิสลามคือระบอบวิลายะตุลฟะกี(ปราชญาธิปไตย) โดยมีราชาปราชญ์เป็นประมุขสูงสุด (Supreme Leader) เป็นผู้ควบคุมและดูแลโครงสร้างของการกำหนดแนวนโยบายทั่วไปของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และถือว่ารัฐธรรมนูญทุกมาตรานั้นถูกวินิจฉัย ที่มีโครงสร้างมาจากหลักอิสลาม จึงเรียกรัฐธรรมนูญนี้ว่า เป็นรัฐธรรมนูญแห่งอิสลาม

มาตรา ๔ ได้กล่าวถึงกฎหมายที่ถูกตราขึ้นว่า

ประมวลกฎหมายทั้งหมด ทั้งกฎหมายแพ่งพานิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายการคลัง การเศรษฐกิจ กฎหมายการบริหารการปกครอง วัฒนธรรม การทหาร การเมือง ตลอดทั้งระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆเหล่านั้นที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมีแหล่งที่มาซึ่งวางอยู่บนหลักการแห่งบทบัญญัติอิสลาม มาตรานี้ย่อมมีอำนาจควบคุมสูงสุดและอย่างกว้างขวางไปถึงมาตราอื่นๆทั้งหมดแห่งรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกันกับหลักการและระเบียบกฏเกณฑ์อื่นๆที่จำต้องตัดสินโดยใช้ดุลยพินิจพิจารณาและวินิจฉัยให้เป็นไปตามหลักนิติศาสตร์ของสภาพิทักษ์ฯ

และอำนาจการปกครองของประมุขสูงสุดนั้นเป็นหน้าที่ของบุคคลที่อยู่ในฐานะราชาปราชญ์ เป็นนักการศาสนาที่เคร่งครัด เป็นผู้ทรงธรรมและยุติธรรม ดังรัฐธรรมนูญกล่าวไว้ว่า

มาตรา ๕ ในช่วงเวลาที่อิมามท่านที่สิบสอง(อิมามมะฮ์ดี) อยู่ในสภาพที่เร้นกาย สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน จะอยู่ภายใต้การปกครองและการชี้นำโดยความรับผิดชอบของนักการศาสนา ผู้เป็นปราชญ์สูงสุด มีความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ ทรงคุณธรรมและยุติธรรม รู้รอบต่อสถานการณ์แห่งยุคสมัย เป็นผู้มีความกล้าหาญพร้อมด้วยความสามารถในการจัดการ อยู่ในฐานะเป็นราชาแห่งปราชญ์(วิลายะตุลฟะกีย์) ประชาชนส่วนใหญ่รู้จักและยอมรับให้เป็นผู้นำ

มาตราที่ ๑๐๗ เมื่อใดที่นักการศาสนา อยู่ในฐานะปราชญ์ ที่มีคุณสมบัติครบเงื่อนไขต่างๆตามมาตรา ๕ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ บุคคลนั้นจะเป็นผู้นำอยู่ในฐานะผู้ทรงอำนาจสูงสุด และเป็นราชาปราชญ์ เป็นผู้นำแห่งการปฎิวัติ เหมือนอย่างท่าน อายาตุลลอฮ์อิมามโคมัยนี ถือว่าเป็นประมุขสูงสุด มีความศักดิ์สิทธิ์ในการออกคำสั่งและมีความรับผิดชอบทั้งมวล

อิมามโคมัยนีกับรัฐอิสลาม

เงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครองรัฐอิสลามนั้น จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับวิธีการทางธรรมชาติของระบอบการปกครองรัฐอิสลาม ซึ่งนอกจากเงื่อนไขโดยรวมแล้ว อันได้แก่ การมีสติปัญญาและมีหลักบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีแล้ว ยังมีอีกสองเงื่อนไขพื้นฐานที่สำคัญ คือ: 1 – มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย 2 – อยู่ในฐานะปราชญ์ และมีความยุติธรรม

ทว่าผู้ที่จะขึ้นครองรัฐหรือเป็นผู้ปกครองนั้นจำต้องเป็นบุคคลที่ประเสริฐที่สุดเป็นทรงธรรมและมีคุณธรรมเพราะว่า รัฐอิสลามเป็นรัฐแห่งกฎหมายที่ได้นำธรรมนูญมาจากคัมภัร์อัลกุรอานและซุนนะฮ์พระศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ดังนั้น ผู้ปกครองจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญและสันทัดในด้านกฎหมาย หลักนิติศาสตร์อิสลาม

สำหรับผู้ปกครองรัฐแล้วนั้น จะต้องมีความรู้เชี่ยวชาญและสันทัดในศาสตร์อันนี้เป็นพิเศษกว่าบุคคลอื่นใด บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์(อ)ทายาทแห่งศาสดา(ศ) ก็ได้ใช้หลักการเช่นนี้ในการพิสูจน์ถึงการเป็นผู้นำ(อิมาม)ของตน ซึ่งอิมาม(ผู้นำ)จะต้องมีความประเสริฐกว่าบุคคลอื่นๆทั้งหมดในทุกๆเรื่องและในมุมมองของอิสลาม ถือว่าผู้เชี่ยวชาญ ผู้สันทัดด้านกฎหมาย และความยุติธรรมนั้นเป็นเงื่อนไขและพื้นฐานหลักที่สำคัญในการดำรงตำแหน่งผู้นำหรือผู้ปกครองรัฐอิสลาม

ดังนั้นตำแหน่งในการบริหารรัฐที่แท้จริงจะต้องตกอยู่ในมือของปราชญ์ผู้ชำนาญการและผู้เชี่ยวชาญ(ฟุกอฮาห์)เท่านั้น หาใช่บุคคลที่มีความโง่เขลาในด้านกฎหมาย และผู้ปกครองจำต้องมีความเพียบพร้อมสมบูรณ์ไปด้วยหลักความศรัทธา หลักคุณธรรมและหลักจริยธรรม อีกทั้งทรงยุติธรรมและ ห่างไกลจากความผิดบาป. ผู้ที่ต้องการบังคับใช้กฎหมาย กล่าวคือ การนำกฎหมายอิสลามมาใช้, ถือกองคลัง(บัยตุลมาล) และใช้จัดสรรงบประมาณในการบริหารประเทศชาติ ซึ่งพระองค์อัลลอฮ์(ซบ) ก็ทรงอนุมัติสิทธิต่างๆเหล่านี้ให้เขามีอำนาจในการบริหารจัดการ นั้น ก็จะต้องเป็นผู้ที่ห่างไกลจากการทำบาปอย่างสิ้นเชิง ดังโองการอัลกุรอานได้กล่าวว่า“พันธสัญญาของข้านั้นจะไม่ถึงแก่บรรดาผู้อธรรม” ซึ่ง องค์อัลลอฮ์(ซบ)จะไม่ให้สิทธิ์ในลักษณะเช่นนี้แก่ผู้อธรรมอย่างเด็ดขาด . หากผู้ปกครองไม่ทรงยุติธรรม การเลือกปฏิบัติในเรื่องสิทธิของบรรดามุสลิม การเก็บภาษี การใช้จ่ายงบประมาณ และการบังคับใช้กฎหมายนั้นจะไม่มีวันได้เห็นความยุติธรรมเกิดขึ้นมาอย่างแน่นอน.และอาจเป็นไปได้ที่จะใช้อำนาจในการแต่งตั้งตามวงศ์ตระกูลของตนขึ้นมาดำรงตำแหน่งและถลุงเงินกองคลังเพื่อใช้จ่ายในเรื่องส่วนตัวและคามสุขความรื่นเริงให้กับตัวเอง(คัดย่อจากบทความในเวปซ์ไซต์http:www.leader.ir/langs/th/)

อ้างอิง

เดอะ พับลิก ออนไลน์ :

บทความโดย : ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน ศูนย์วิจัยไทย-อิหร่านศึกษา

www.immjournal.com

www.press tv .com

www.leader.ir

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4