ม.มหิดล ลุยสร้าง Drone-Farmer Robot ปฏิบัติการเกษตร อัจฉริยะ ช่วยเกษตรกรไทยก้าวสู่ยุคเกษตรแม่นยำ ลดต้นทุน-แรงงาน

จันทร์ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๕ ๑๖:๓๑
ผศ.ดร.ธีรเกียรติ เกิดเจริญ ภาควิชาฟิสิกส์ และ ศูนย์นาโนศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยกับ เว็บไชต์ว่าด้วยความก้าวหน้า www.progressTH.org ว่า วิทยาลัยมหิดล ได้คิดค้นพัฒนาโครงการเกษตรอัจฉริยะ ( Smart farm) เพื่อการเกษตรแบบแม่นยำ ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ด้วยการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรในด้านต่างๆ

ทั้งนี้อุปกรณ์ที่ทางทีมฯกำลังพัฒนาวิจัยคิดค้นอยู่ในตอนนี้คือ การสร้างหุ่นยนต์การเกษตร ( Farmer Robot) ซึ่งในอนาคตจะถูกนำมาแก้ปัญหาแรงงานภาคการเกษตรที่เหลือแต่คนเฒ่าคนแก่ โดยหลักการของเกษตรแม่นยำนั้น จะต้องให้เกษตรกรมีความเท่าทันสิ่งแวดล้อมสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น หุ่นยนต์ Sensor Drone หรือ เครื่องบินไร้คนขับ จะเป็นตัวหลักในการออกตรวจตราพื้นที่ไร่นา

“โดยภาพการทำงานในอนาคตของ Farmer Robot คือ ตัวหุ่นยนต์ Sensor Drone ซึ่งเป็นตัวหลัก จะมีหน้าที่สำรวจว่าพืชมีปัญหาอะไรบ้าง เช่น ขาดน้ำ ขาดปุ๋ยตรงไหน ต้องการปุ๋ยชนิดใด จากนั้นจะทำแผนที่ดิจิตอลเป็นแถบสีต่างๆ เช่น สีแดงมีปัญหามาก สีเขียวมีปัญหาน้อย เพื่อส่งต่อหน้าที่ให้หุ่นยนต์ขนาดใหญ่ออกไปปฏิบัติการแก้ปัญหา เช่น ออกไปใส่ปุ๋ย ใส่ยา ตรงจุดที่เป็นปัญหา ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการออกแบบหุ่นยนต์ตัวใหญ่ที่สามารถบรรทุกของได้อยู่” ผศ.ดร.ธีรเกียรติ กล่าว

ผศ.ดร.ธีรเกียรติ กล่าวต่อว่า จะเห็นได้ว่าฟาร์มอัจฉริยะมีความแตกต่างกับฟาร์มธรรมดาตรงที่การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างแม่นยำและตรงต่อความต้องการของพืชช่วยลดการสูญเสียทรัพยากร เพราะการเกษตรแบบดั้งเดิมการให้ปุ๋ยก็จะให้เท่าๆกันทั่วทั้งไร่

“นี่คือหลักเกษตรแม่นยำ ซึ่งจะสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงลงได้ ที่ผ่านมาเราจะพบว่าเกษตรกรมักใส่ปุ๋ยใส่ยาเท่ากันทุกพื้นที่ เทคโนโลยีดังกล่าวนอกจากจะช่วยให้เกษตรกร ไม่ต้องออกใช้แรงงานตรวจพื้นที่เองแล้ว ยังสามารถประหยัดต้นทุนต่างๆ ได้อีกด้วย” ผศ.ดร.ธีรเกียรติ กล่าว

นอกจากนี้หุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงงานภาคการเกษตรในอนาคตได้ เพราะปัจจุบันเกษตรกรทั่วโลกรวมถึงเกษตรไทยมีอายุเฉลี่ยสูงกว่า 55 ปี ซึ่งอีก 10 ปีข้างหน้า จะเกิดภาวะการขาดแรงงานภาคการเกษตร เพราะคนรุ่นใหม่ไม่ต้องการเข้าสู่ภาคการเกษตร

“การทำงานของหุ่นยนต์เหล่านี้จะเป็นฝูงหลายสิบตัว เพื่อให้ออกไปทำงานพร้อมกัน โดยหุ่นยนต์ 1 ตัวเท่ากับแรงงานคน 1 คน โดยจะได้รับภารกิจให้ทำงานต่างๆที่ส่งมาจากเจ้าของไร่ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุด หุ่นยนต์เหล่านี้ต้องทำงานได้อัตโนมัติ โดยมีการตั้งโปรแกรมเข้าซอฟแวร์เพื่อให้ออกไปทำงาน ทำงานเสร็จต้องสามารถดูแลตัวเองได้ โดยกลับมาพักชาร์จไฟที่โรงเก็บหุ่นยนต์ ตามหลักกลางวันใช้ กลางคืนชาร์จ” ผศ.ดร.ธีรเกียรติ กล่าว

รายละเอียดฉบับเต็ม

http://www.progressth.org/2015/02/robot-farmers.html

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ