นิด้าโพล: “การเจรจา ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร”

จันทร์ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๕ ๐๙:๓๙
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การเจรจา ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18 – 19 กุมภาพันธ์ 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,254 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข้อเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเจรจากับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อสร้างความปรองดอง อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อข้อเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเจรจากับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อสร้างความปรองดอง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 34.69 ระบุว่า เห็นด้วย กับข้อเสนอให้มีการเจรจากับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รองลงมา ร้อยละ 33.57 ระบุว่า ไม่ควรมีการเจรจา กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 22.09 ระบุว่า การเจรจาควรเกิดขึ้น หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมารับโทษในประเทศไทยก่อน และร้อยละ 9.65 ไม่ระบุ / ไม่สนใจ

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปรองดอง พบว่า ร้อยละ 36.18 ระบุว่า ให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างยุติธรรมกับทุกกลุ่ม ร้อยละ 34.19 ระบุว่า ทุกกลุ่มต้องเคารพกฎหมายและคำตัดสินของศาล ร้อยละ 11.74 ระบุว่า ทุกกลุ่มเข้าสู่กระบวนการเจรจาปรองดอง ร้อยละ 7.19 ระบุว่า ทุกฝ่ายต้องยอมรับผลการเลือกตั้งในครั้งหน้า ร้อยละ 7.03 ระบุว่า ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ทุกฝ่าย ร้อยละ 6.39 ระบุว่า เริ่มต้นใหม่หมดด้วยการห้ามสมาชิกทุกกลุ่มการเมือง อดีตนักการเมืองทุกพรรคเข้าสู่สนามเลือกตั้ง ร้อยละ 6.15 ระบุว่า ห้ามไม่ให้ทุกกลุ่มการเมืองเคลื่อนไหวปลุกระดม ร้อยละ 5.43 ระบุว่า ไม่ต้องทำอะไรเพราะการปรองดองไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง ร้อยละ 3.51 ระบุว่า ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ทุกฝ่าย แต่ยกเว้นแกนนำ ร้อยละ 3.27 ระบุว่า ตั้งคณะกรรมการปรองดองแห่งชาติ ร้อยละ 1.68 ระบุว่า กำหนดเรื่องปรองดองไว้ในรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 0.48 ระบุอื่นๆ เช่น การตัดสินใจที่เด็ดขาด /เดินตามโรดแมพของนายก /อยากให้รัฐธรรมนูญยกเลิกระบบบัญชีรายชื่อ /ใช้ระบบ คสช. ต่อไปอีก 10 ปี /ทุกองค์กรจะต้องเป็นกลาง /ทุกคนต้องรู้หน้าที่ของตนเองและทำให้ดีที่สุด และร้อยละ 7.35 ไม่ระบุ / ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง หลังจากการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 43.30 ระบุว่า สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองจะเหมือนเดิม รองลง ร้อยละ 32.54 ระบุว่า สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองจะลดลง ร้อยละ 9.01 ระบุว่า สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.27 ระบุว่า สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองจะหมดไป และร้อยละ 11.88 ไม่ระบุ / ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความรู้สึกประชาชนที่มีต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองไทย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.45 ระบุว่า รู้สึกเบื่อมาก ไม่รู้เมื่อไรจะจบเสียที รองลงมา ร้อยละ 30.78 ระบุว่า รู้สึกเฉยๆ เพราะเป็นธรรมชาติของการเมือง ร้อยละ 16.03 ระบุว่า รู้สึกค่อนข้างเบื่อ ร้อยละ 1.75 ระบุว่า รู้สึกค่อนข้างสนุกตื่นเต้นกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองไทย ร้อยละ 0.08 รู้สึกเป็นทุกข์ ร้อยละ 1.91 ไม่แน่ใจ / ไม่ระบุ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 20.18 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 19.94 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 19.94 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 19.94 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 57.81 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 42.19 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.23 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 28.95 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 51.59 มีอายุ 40 – 59 ปี และร้อยละ 15.23 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.34 นับถือศาสนาพุทธ ตัวอย่างร้อยละ 3.54 นับถือศาสนาอิสลาม และตัวอย่างร้อยละ 1.12 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 20.60 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 77.31 สมรสแล้ว และตัวอย่างร้อยละ 2.09 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 26.11 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.32 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.22 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 28.05 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และตัวอย่างร้อยละ 6.30 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 15.25 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 12.83 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่างร้อยละ 28.17 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 14.21 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 13.48 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 13.24 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ตัวอย่างร้อยละ 2.82 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 12.44 ไม่มีรายได้ ตัวอย่างร้อยละ 21.61 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 25.36 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 13.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 7.50 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 11.24 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 8.13 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๒๗ ไลท์อัพ โทเทิล โซลูชั่น ต้อนรับนักวิเคราะห์ เตรียมเดินหน้าเข้า mai ภายในไตรมาส 2/2567
๑๔:๑๓ INNISFREE เปิดตัว 'THE ISLE ADVENTURE' เกมส์โลกเสมือนจริงสำหรับคน Gen Z เพียงเล่น! ลุ้นรับตั๋วเครื่องบินมูลค่า
๑๔:๐๔ เจ็ตต์ ลอว์เรนซ์ บิดเดือด Honda CRF450R ครองรั้งจ่าฝูงคะแนนสะสม AMA Supercross 2024 สนามที่ 13
๑๔:๔๐ สมศักดิ์ศรีเทศกาลดนตรีที่ทุกคนรอคอย Pepsi presents S2O Songkran Music Festival 2024 ทำถึง! จัดเต็ม ดีเจระดับโลก โปรดักชั่นสุดยิ่งใหญ่ พลุ น้ำ และเซอร์ไพรซ์ตลอด 3
๑๔:๐๓ กทม.เร่งประสาน ขบ.ปรับปรุงข้อมูลเลขสายรถเมล์ เดินหน้าติดตั้งป้าย-ศาลาที่พักรูปแบบใหม่
๑๔:๔๘ 'เจ้าสัว' คว้ารางวัล Thailand's Most Admired Brand ปี 2024 ครองใจผู้บริโภคกลุ่มสแน็คไทย 2 ปีซ้อน
๑๔:๑๐ KBank Private Banking ตอกย้ำภารกิจพิชิตโลกเดือด ชี้โอกาสการลงทุนอย่างมั่งคั่งและยั่งยืน ผ่าน 3 กองทุนด้านความยั่งยืน K-PLANET K-TNZ-ThaiESG และ
๑๔:๕๖ STX เปิดจองซื้อ IPO กระแสดี ชูหุ้นเหมืองหินตัวแรกในตลาดทุน ไร้หนี้ - เพอร์ฟอร์แมนซ์เยี่ยม
๑๔:๑๕ เรเว่ คอมเมอร์เชียล วีฮิเคิลส์ ทดสอบรถบัสไฟฟ้า BYD B70 ให้บริการรับ-ส่ง ย่านทองหล่อ ฟรี! ชวนสัมผัสประสบการณ์การเดินทางด้วยไฟฟ้า 100%
๑๔:๒๑ กทม.รุกมาตรการเฝ้าระวัง-ป้องกันการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งเป้าทำหมัน-ฉีดวัคซีน 200,000 ตัวในปี 67