ฟูจิตสึเผย Case Study โรงเรียนประถมศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยสึกุบะประสบความสำเร็จโครงการห้องเรียนอนาคต ยกระดับการเรียนอย่างเหนือชั้นด้วยเทคโนโลยีไอซีที

พฤหัส ๐๙ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๕:๐๖
โรงเรียนประถมศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยสึกุบะ ในประเทศญี่ปุ่นโรงเรียนได้มีการพัฒนาบทเรียนโดยใช้เทคโนโลยีไอซีทีเข้ามาช่วยเสริมการเรียนการสอนในแต่ละวิชาและชั้นเรียนโดยจะมีครูสอนประจำรายวิชา ด้วยความสำเร็จของโครงการนี้ ทางโรงเรียนจึงอยากที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ เพื่อส่งเสริมการปรับใช้เทคโนโลยีไอซีทีเพื่อการเรียน การสอนให้กับโรงเรียนต่างๆ ที่สนใจ " ยาสุฮิโระ โฮโซนากะ รองอาจารย์ใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยสึกุบะ กล่าว

โรงเรียนประถมศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยสึกุบะ (University of Tsukuba Elementary School) มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เริ่มต้นจากเป็นโรงเรียนประถมศึกษาที่ก่อตั้งขึ้นในกรุงโตเกียวเมื่อปี พ.ศ. 2416 โดยอยู่ในเครือของวิทยาลัยครูแห่งแรกของญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยสึกุบะ ทั้งนี้ โรงเรียนประถมศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยสึกุบะมุ่งมั่นที่จะบุกเบิกแนวทางใหม่ๆ ในด้านการศึกษาระดับประถม โดยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบการศึกษาชั้นประถมในญี่ปุ่น โรงเรียนแห่งนี้มีนักเรียนกว่า 10,000 คน โดยมีผู้สนใจจากญี่ปุ่นและต่างประเทศเข้าเยี่ยมชมในแต่ละปี เพื่อนำหลักปรัชญาและเทคนิคด้านการศึกษาของโรงเรียนแห่งนี้ไปปรับใช้ในสถานศึกษาหลายแห่ง

ทางโรงเรียนได้เริ่มต้นใช้เทคโนโลยีไอซีทีในการเรียนการสอนมานานกว่า 10 ปี โดยคณะกรรมการใช้งานไอซีที (ICT Utilization Committee) ภายในโรงเรียนดังกล่าวทำหน้าที่บุกเบิกการใช้เทคโนโลยีไอซีทีในห้องเรียนด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีไอซีทีคาดว่าจะเป็นปัจจัยเร่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมในแวดวงการศึกษา และรัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าที่จะสร้างสภาพแวดล้อมการศึกษาที่นักเรียนทุกคนมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายภายได้ในปี2563

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีเป้าหมายดังกล่าว แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นยังคงใช้ชอล์คและกระดานดำ อุปกรณ์ในห้องเรียนภายในโรงเรียนหลายแห่งยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงมานานหลายทศวรรษ โต๊ะเรียนถูกตั้งวางเรียงราย หันหน้าเข้าหากระดานดำ และโดยทั่วไปแล้ว ครูทำหน้าที่บรรยายการสอน ขณะที่นักเรียนตั้งใจฟังเพื่อซึมซับความรู้ใช้ศักยภาพของไอซีทีเพื่อปรับปรุงการศึกษาชั้นประถม

ทางโรงเรียนประถมศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยสึกุบะได้ริเริ่มโครงการห้องเรียนอนาคต (Future Classroom) เมื่อเดือนมิถุนายน 2556 เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีไอซีทีในแวดวงการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพโดยความร่วมมือจากบริษัท อุชิดะ โยโกะ (Uchida Yoko) ผู้จัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน บริษัทไมโครซอฟท์ เจแปน และบริษัท ฟูจิตสึ เพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัทในการผลักดันภายใต้โครงการนี้ ห้องเรียนถูกปรับเปลี่ยนเป็นสภาพแวดล้อมไอซีทีที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ไอซีที เพื่อสำรวจกิจกรรมการเรียนรู้ที่แปลกใหม่ ซึ่งจะช่วยยกระดับการศึกษาชั้นประถม

ในห้องเรียนดังกล่าว นักเรียนแต่ละคนมีแท็บเล็ตพีซี Windows 8 จากฟูจิตสึ และภายในห้องเรียนประกอบด้วยระบบแสดงผลแบบหลายหน้าจอ ซึ่งจะสามารถแสดงผลบนจอแท็บเล็ตของครูผู้สอน และจอแสดงผลของนักเรียน ส่วนโต๊ะเรียนและเก้าอี้ก็สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างง่ายดายและยืดหยุ่น และมีกระดานไวท์บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ เครือข่าย LAN ไร้สาย ที่ชาร์จแบตเตอรี่สำหรับแท็บเล็ต แอพพลิเคชั่นด้านการศึกษา และอื่นๆ อุปกรณ์เหล่านี้กระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างจริงจัง โดยครูผู้สอนสามารถมอบหมายงานหรือการบ้านไปยังแท็บเล็ตของเด็ก และเด็กก็สามารถการทำงานเป็นกลุ่ม และสามารถใช้ระบบแสดงผลแบบหลายหน้าจอเพื่อนำเสนอผลงาน

เนื่องจากแต่ละชั้นเรียนได้รับการดูแลโดยครูประจำรายวิชา ดังนั้นทางโรงเรียนจึงพัฒนาบทเรียนโดยอาศัยเทคโนโลยีไอซีที และศึกษาเกี่ยวกับวิธีการสอนโดยใช้เทคโนโลยีไอซีที เพื่อรองรับการอภิปรายกลุ่มและการเรียนรู้ร่วมกัน รวมไปถึงการตรวจสอบพัฒนาการของนักเรียนในระยะยาว ทางโรงเรียนเผยแพร่ข้อมูลที่ได้รับแก่นักการศึกษาทั่วโลก และพร้อมต้อนรับนักการศึกษาให้เข้าสังเกตการณ์การเรียนการสอนในชั้นเรียน และเข้าร่วมการสัมมนา

ห้องเรียนที่ประกอบด้วยกระดานไวท์บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์และระบบแสดงผลแบบหลายหน้าจอสร้างความพึงพอใจและดึงดูดผู้เรียนอย่างมาก โดยผู้เรียนชื่นชอบการใช้แท็บเล็ตและเพลิดเพลินกับบทเรียนต่างๆ เด็กนักเรียนในปัจจุบันคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิตอล พวกเขาเติบโตมาในโลกที่อินเทอร์เน็ต โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต เกมส์ สมาร์ทโฟน และอื่นๆ ผสานรวมเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน เด็กๆ เหล่านี้คุ้นเคยกับการใช้แท็บเล็ต และเมื่อมอบหมายให้ทำงานร่วมกัน เด็กนักเรียนก็มีแนวโน้มที่จะแบ่งหน้าที่กันโดยอัตโนมัติ เช่น คนหนึ่งค้นคว้าหาข้อมูล ขณะที่อีกคนหนึ่งจัดเตรียมงานนำเสนอ เป็นต้น

โครงการห้องเรียนอนาคตชี้ให้เห็นว่า แท็บเล็ตจะเข้ามาตอบโจทย์การเรียนการสอนทดแทนกระดาษ และจะกลายเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาการเรียนรู้ในอนาคต เด็กนักเรียนจะใช้ปากกาสไตลัสป้อนข้อมูลบนแท็บเล็ต ซึ่งเหมาะสำหรับชั้นเรียนที่ต้องมีการเขียนหนังสือด้วยลายมือและใช้ไม้บรรทัด ตำราที่แจกจ่ายทางออนไลน์จะประกอบด้วยภาพมากมาย เพื่อกระตุ้นความสนใจของเด็กนักเรียน การใช้แท็บเล็ตนอกจากจะช่วยให้เด็กแบ่งปันข้อมูลกับคนอื่นๆ ได้ทันทีแล้ว ยังสามารถรับรู้ได้อีกด้วยว่าเพื่อนๆ กำลังทำอะไรอยู่ ทั้งยังสามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรและค้นคว้าหาข้อมูลได้อย่างฉับไวอีกด้วย แท็บเล็ตคืออุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเรียนรู้ร่วมกัน โดยเด็กนักเรียนจะมีบทบาทสำคัญในการริเริ่มสิ่งใหม่ๆ

สำหรับในอนาคต แท็บเล็ตจะแปรเปลี่ยนโลกใบนี้ให้กลายเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ ที่จริงแล้ว ปัจจุบันมีการใช้งานแท็บเล็ตนอกห้องเรียนสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยเด็กนักเรียนใช้แท็บเล็ตเพื่อถ่ายภาพแมลงและพืชพันธุ์ต่างๆ หรือบันทึกเสียงนกร้อง

แท็บเล็ตสามารถเชื่อมโยงโรงเรียนและบ้านเข้าด้วยกัน โดยเด็กนักเรียนนำเครื่องแท็บเล็ตกลับบ้าน เพื่อรองรับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หรือบางทีอาจจะใช้เป็นสื่อในการบอกเล่าให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้รับทราบถึงเรื่องที่น่าสนใจที่เขาได้เรียนรู้จากโรงเรียน ทั้งนี้ คาดว่าพฤติกรรมดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กได้อีกทางหนึ่งบันทึกการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนที่สะสมไว้ในแท็บเล็ตจะถูกใช้เพื่อปรับปรุงโอกาสด้านการศึกษาสำหรับเด็กนักเรียน

โครงการห้องเรียนอนาคตช่วยวางรากฐานสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมในด้านการเรียนการสอนโดยอาศัยเทคโนโลยีไอซีที วงการการศึกษากำลังจะพัฒนาต่อยอดจากโครงการนำร่องดังกล่าวเพื่อกระจายการปรับใช้แนวทางที่เหมาะสม เทคโนโลยีไอซีทีจะถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้เยาวชนได้รับการศึกษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest