กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ เดินหน้าเต็มสูบสร้างเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยภาคตะวันออก รุกสร้างความเข้าใจให้เจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการ หวังเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างพื้นที่ปลอดโรคที่ยั่งยืน

พฤหัส ๑๖ เมษายน ๒๐๑๕ ๐๘:๓๒
นายอยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า องค์การโรคระบาดสัตว์ประเทศ (OIE) ได้ตรวจประเมินสถานภาพของเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย พบว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ มีศักยภาพในการสร้างพื้นที่ดังกล่าว จึงได้เสนอแนวทางในการปรับมาตรการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างพื้นที่ปลอดโรคที่ยั่งยืน ได้แก่ ขอบเขตของพื้นที่ปลอดโรคโดยใช้ลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวกั้นที่สำคัญ กฎหมายควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ และปรับแผนการเฝ้าระวังโรคให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ OIE ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ จึงได้ดำเนินการจัดทำมาตรการต่างๆ รวมถึงกำหนดระเบียบกรมปศุสัตว์ภายใต้กรอบของกฎหมายหลัก คือ พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ และจัดประชุมสร้างความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 โดยนายสัตวแพทย์ประวัติ รัตนะภุมมะ ปศุสัตว์เขต 2 และ นายสัตวแพทย์ประภาส ภิญโญชีพ ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ณ ศูนย์ราชการกรมปศุสัตว์ จังหวัดปทุมธานี พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการจากหลายพื้นที่เข้าร่วมประชุมจำนวนเกือบ 100 คน โดยผู้ประกอบการ มีผู้แทนสมาคมและภาคเอกชนจากกลุ่มต่างๆ ทั้งธุรกิจสุกร โคเนื้อ โคนม ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์หลายประเด็น และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการรับนโยบายการเดินหน้าให้มีการสร้างเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยในพื้นที่ภาคตะวันออกอย่างยั่งยืน

สำหรับเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยภาคตะวันออก ประกอบไปด้วยพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี และฝั่งตะวันออกแม่น้ำบางปะกงของจังหวัดฉะเชิงเทรา ในการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์เข้าเขตจะต้องมีการตรวจสอบจากคณะกรรมตรวจรับรองสัตว์ หรือซากสัตว์เข้าพื้นที่ปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยภาคตะวันออก โดยมีปศุสัตว์เขต 2 ผู้ตรวจราชการกรมปศุสัตว์ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่เป็นประธาน โดยสัตว์ที่จะเคลื่อนย้ายเข้าพื้นที่จะต้องมาจากฟาร์มปลอดโรคที่ได้รับการรับรอง เลี้ยงอยู่ในพื้นที่ต้นทางมานาน 3 เดือนโดยไม่เป็นโรค ไม่มีการระบาดของโรคในระยะ 10 กิโลเมตร ซึ่งก่อนเคลื่อนย้ายต้องกักดูอาการ 30 วัน เพื่อตรวจสอบว่าไม่พบอาการป่วย และมีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการว่าไม่ติดเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อย จึงจะได้รับอนุญาตให้เข้าเขตปลอดโรคได้ ขณะที่น้ำเชื้อหรือซากสัตว์ก็ต้องได้รับการรับรองว่ามาจากสัตว์ต้นทางที่ไม่เป็นโรคและไม่มีโรคในพื้นที่ และเนื้อสัตว์ต้องมาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติที่ดี (Good Manufacturing Practice: GMP) พร้อมทั้งหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่กำหนดไว้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าจะไม่นำโรคเข้าพื้นที่ นอกจากนี้ จะต้องมีการควบคุมดูแลความสะอาดและทำลายเชื้อโรคให้กับยานพาหนะที่ใช้ขนส่งสัตว์หรือซากสัตว์เข้าพื้นที่ปลอดโรคอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้