ก.เกษตรฯ ตรวจระบบแจ้งเข้าออกท่าเรือประมง

จันทร์ ๒๐ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๐:๒๔
รัฐมนตรีเกษตรฯ ลงพื้นที่ภูเก็ต ติดตามความก้าวหน้าการนำร่องทดสอบระบบควบคุมการแจ้งเข้า – ออกเรือประมง ใน 4 จังหวัดตั้งแต่ 1 เม.ย. 58 เตรียมขยายให้ครอบคลุม ครบทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล วอนขอความร่วมมือเจ้าของเรือประมง 30 ตันกรอสขึ้นไปแจ้งข้อมูลการทำประมงป้องประมงไอยูยู

?นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าในการนำร่องทดสอบระบบควบคุมการแจ้งเข้า-ออกประมง (Port in - Port out) ณ องค์การสะพานปลา จ.ภูเก็ต ว่า หลังจากกรมประมงได้ดำเนินการใช้ระบบควบคุมการแจ้งเข้า - ออกของเรือประมงใน 4 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ ภูเก็ต ระนอง ชุมพร และสงขลา มาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา ?ได้รับความร่วมมือจากเรือประมงเป็นอย่างดี โดยล่าสุดมีจำนวนเรือประมง ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป มาแจ้งออกจากท่า จำนวน 223 ครั้ง และแจ้งเข้าท่า จำนวน 143 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้กรมประมงดำเนินการประชาสัมพันธ์อย่างเร่งด่วนเพื่อเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเรือประมง ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป รวมถึงแพปลา และท่าเทียบเรือทั้ง 297 แห่ง ให้ความร่วมมือในการเข้าสู่ระบบแจ้งเข้า – ออก และให้เร่งดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งหมด 22 จังหวัดชายทะเล ภายในพฤษภาคมนี้ เพราะระบบ Port in – Port out เป็นระบบที่เป็นสากลสามารถควบคุมการทำประมงไม่ให้เป็น IUU ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงยังขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทหารเรือ กรมเจ้าท่า ตำรวจน้ำ และแรงงานจังหวัดร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไขในเชิงปฏิบัติ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลกับประเทศเจ้าของเรือและน่านน้ำ และการบังคับใช้กฏหมาย

"การให้เรือประมงที่มีขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป ก่อนจะออกไปทำการประมง และกลับเข้าเทียบท่า ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า – ออกของเรือประมงที่กำหนด ทั้ง 26 ศูนย์ ก็เพื่อให้มีการรายงานข้อมูลการทำประมงรวมถึงแรงงานบนเรือประมง อาทิ ทะเบียนเรือ เครื่องมือทำการประมง ใบอนุญาตทำการประมง ผลจับสัตว์น้ำจากสมุดบันทึกการทำประมง (logbook) ตลอดจนบุคคลทำการประมงประจำเรือ (กัปตัน เจ้าของเรือ แรงงานบนเรือ) โดยข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ ที่เรือประมงแจ้งจะถูกนำไปใช้ตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งถือเป็นการสร้างกฎกติกาใหม่ภายใต้ระบบสากล ให้ชาวประมงถือเป็นแนวทางปฏิบัติที่ต้องดำเนินการ โดยเฉพาะเมื่อ พ.ร.บ.การประมงฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ จึงชี้ให้เห็นว่า ระบบ Port in – Port out สามารถควบคุมการทำประมงไม่ให้เป็น IUU ได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยข้อกำหนดที่เรือและเครื่องมือต้องถูกต้องมีใบอนุญาตทำประมง มีการใช้แรงงานที่ถูกต้อง มีสัญญาจ้าง ถือเป็นการควบคุมกำกับของหน่วยงานรัฐที่เบ็ดเสร็จ ที่จะแก้ไขปัญหาทั้งเรื่องประมง IUU และการค้ามนุษย์ในภาคแรงงานประมงด้วย"นายปีติพงศ์ กล่าว

ด้านนายจุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมในรายละเอียดว่า ผลจากการนำร่องทดสอบระบบควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (Port in – Port out) พบว่า การประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะเรือใหม่ๆ ที่ไม่เคยรับรู้และเข้าใจการทำงานระบบนี้ จึงไม่ได้ให้ความสนใจที่จะมาเข้าสู่ระบบ นอกจากนี้ ชาวประมงและผู้ประกอบการบางส่วนยังได้ให้ข้อเสนอแนะและร้องขอมาว่า อยากให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการแจ้งข้อมูลต่างๆ ในจุดเดียวกันแบบ 0ne Stop Service และเพิ่มศูนย์ควบคุม Port in – Port out ให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งกรมประมงจะนำผลสรุปเหล่านี้ ไปปรับปรุงแนวการดำเนินงาน ก่อนที่จะใช้ระบบ Port in – Port out ทั่วทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรองรับ พ.ร.บ.การประมงฉบับใหม่ ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม 2558

?อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมประมงได้ปรับปรุงสถานีวิทยุประมงชายฝั่งให้เป็นศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า – ออกเรือประมง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ใกล้ท่าเทียบเรือหลัก จำนวน 26 ศูนย์ ครอบคลุมท่าเทียบเรือทั้ง 297 แห่ง ที่เรือประมงสามารถจัดส่งเอกสารแจ้งเข้า-ออกจากท่าหรือแพปลาที่เรือนั้นๆ ไปเทียบท่าและศูนย์ทั้ง 26 แห่งนี้ มีระบบวิทยุสื่อสารที่สามารถติดต่อเรือประมงได้ทุกลำ จึงมีส่วนช่วยให้การตรวจสอบและควบคุมการทำประมง รวมถึงการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารต่างๆ ให้เรือประมงรับทราบนั้นเป็นไปอย่างมีระบบมากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ อาทิ กองทัพเรือ กรมเจ้าท่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และภาคเอกชน อาทิ แพปลา ท่าเรือ และผู้ประกอบการเรือประมง ฯลฯ เพื่อเตรียมความพร้อมในทุกขั้นตอนด้วยแล้ว

?ดังนั้น จึงขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการเรือประมง ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป โปรดให้ความร่วมมือมาแจ้งเข้า – ออกจากท่า เพื่อเข้าสู่ระบบการทำประมงที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการเตรียมความพร้อมของภาคการประมงไทยในการร่วมกันป้องกันการทำประมง IUU ตามหลักสากล ทั้งยังแสดงให้นานาประเทศทั่วโลกเห็นว่าการประมงของไทยพร้อมที่จะดำเนินการทุกอย่างเพื่อให้การประมงของไทยปราศจาก IUU และเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำและอาชีพประมงของไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๐ ก.แรงงาน เตือนประชาชนรอบโกดังกากของเสีย จ.ระยอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ พร้อมกำชับดูแลความปลอดภัยของลูกจ้างแรงงาน
๐๙:๒๘ MSC ร่วมกับ AWS จัดงาน MSC x AWS ECO Connect
๐๙:๐๕ เอเอฟเอส ประเทศไทย ผนึกกำลังศิษย์เก่า แลกเปลี่ยนแนวคิดธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืน
๐๙:๐๐ Synology ช่วยให้องค์กรต่างๆ นำแผนการกู้คืนข้อมูลจากแรนซัมแวร์ไปปรับใช้ได้อย่างไร
๐๙:๓๗ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ชวนคนกรุงฯ ค้นหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต กับกิจกรรม ธรรมะในสวน ห้วข้อ เข้าใจชีวิต พิชิตสุข ณ สวนเบญจกิติ 4 พฤษภาคม 2567
๐๙:๐๒ ฉางเจียงเปิดแฟชั่นโชว์ หลอมรวมวัฒนธรรมและงานศิลป์อวดสายตาชาวโลก
๐๙:๕๗ เจาะฟีเจอร์กล้อง 108MP ใน HUAWEI nova 12i สเปกเท่าเรือธงในงบต่ำหมื่น!
๐๘:๑๓ ม.หอการค้าไทย ลงนามความร่วมมือ กับ AIT
๐๘:๒๑ จับติ้วแบ่งสายสุดเดือด ศึกลูกหนังเยาวชน แอสเซทไวส์ สยามกีฬาคัพ 2024 เริ่มโม่แข้ง 23 เม.ย.นี้!!
๐๘:๔๐ The Winner of OpsSimCom 2024 by MIT Sloan is.THAMMASAT.!!