พม. ย้ำร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. .... ช่วยตัดวงจรการเข้าสู่ขบวนการค้ามนุษย์

ศุกร์ ๒๔ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๓:๒๔
วันนี้ (๒๓ เม.ย. ๕๘) เวลา ๑๐.๓๐ น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นายอนุสันต์ เทียนทอง ผู้ตรวจราชการและโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาขอทาน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่ปัญหาการค้ามนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ในฐานะหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม จึงร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ดำเนินการจัดระเบียบขอทานทั่วประเทศ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เด็ก ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ฯลฯ ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ซึ่ง การดำเนินการเป็นไปในลักษณะของการคุ้มครองช่วยเหลือคนขอทาน ตามนโยบาย ๓P ได้แก่

๑) Policyการกำหนดและวางแผนนโยบายอย่างต่อเนื่อง

๒) Protection การคุ้มครองและช่วยเหลือคนขอทานอย่าง ครบวงจร

๓) Prevention การป้องกันปัญหาขอทานเพื่อไม่ให้กลับมาขอทานซ้ำอีก

ทั้งนี้ ได้จัดทำบันทึก ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กรมการจัดหางาน สำนักการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงวัฒนธรรม องค์กรภาคเอกชน และองค์กรด้านศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้จัดทำร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. .... เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการขอทานเห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

นายอนุสันต์ กล่าวว่า สำหรับร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

๑) ห้าม ไม่ให้ขอทาน และมีการกำหนดโทษผู้กระทำการขอทาน (จำคุก ๑ เดือน ปรับ ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

๒) กำหนดให้การเล่นดนตรีหรือการแสดงความสามารถในที่สาธารณะ ไม่ถือเป็นการขอทาน แต่ต้องแจ้งต่อพนักงานท้องถิ่น หากไม่แจ้งหรือไม่ทำตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกำหนด (ปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท)

๓) ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขอทาน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน กรรมการ ๑๐ คน และผู้ทรงคุณวุฒิ ๗ คน

๔) มีบทลงโทษกับผู้ที่มีการบังคับ ขู่เข็ญ ฯลฯ ให้ผู้อื่นมาขอทาน หรือมาเป็นประโยชน์ในการขอทานของตน (จำคุก ๓ ปี ปรับ ๓๐,๐๐๐ บาท)

“อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. .... จะทำให้การแก้ไขปัญหาขอทานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกฎหมายดังกล่าวไม่ประสงค์ที่จะการปราบปรามขอทาน แต่จะเป็นกลไกช่วยเหลือขอทานไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งขอทานที่กระทำผิดจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการฝึกอาชีพที่สามารถเลี้ยงดูตนเองได้เพื่อไม่ให้กลับมาขอทานซ้ำอีก ทั้งนี้ รัฐบาลมีความมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างยั่งยืน” นายอนุสันต์ กล่าวท้าย.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital