“ผู้สูงอายุไทยกับการทำงาน”

พฤหัส ๐๗ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๑๑:๔๔
เนื่องในเดือนแห่งผู้สูงอายุ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับ ศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ผู้สูงอายุไทยกับการทำงาน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 9 เมษายน 2558 กรณีศึกษาจากผู้สูงอายุไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับทัศนคติของผู้สูงอายุที่มีต่อการทำงานหลังวัยเกษียณ อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงภาวะการทำงานของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.76 ระบุว่า ไม่ได้ทำงาน ในขณะที่ ร้อยละ 46.24 ระบุว่า ยังทำงานอยู่ โดยในจำนวนผู้ที่ไม่ได้ทำงานนั้น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.50 ให้เหตุผลเพราะว่า สุขภาพไม่ดี รองลงมา ร้อยละ 36.76 ระบุว่า ลูกหลานไม่อยากให้ทำงาน ร้อยละ 18.60 ระบุว่า มีเงินออมพอเพียงแล้ว ร้อยละ 9.23 ระบุว่า ไม่ชอบ/เบื่อระบบการทำงานที่เคยทำ และร้อยละ 20.09 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ อายุมากแล้ว เกษียณอายุแล้ว ไม่ได้ทำงานตั้งแต่แรก เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน อยู่บ้านเฉย ๆ ต้องการพักผ่อน ไม่มีความรู้ ไม่มีผู้จ้าง ส่วนจำนวนผู้ที่ยังทำงานอยู่นั้น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.13 ให้เหตุผลเพราะว่า สุขภาพยังดีอยู่ รองลงมา ร้อยละ 57.96 ระบุว่า ต้องการรายได้ ร้อยละ 23.01 ระบุว่า เกื้อกูลลูกหลานได้ ร้อยละ 15.05 ระบุว่า ไม่เหงา มีเพื่อนฝูง ร้อยละ 0.35 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ทำงานให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม และเป็นการทบทวนความรู้

ด้านความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่มีต่อนโยบายการขยายอายุเกษียณงาน จากอายุ 60 ปี เป็น 65 ปี พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.00 ระบุว่า เห็นด้วย ในขณะที่ ร้อยละ 31.28 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 22.72 ไม่แน่ใจ โดยในจำนวนผู้ที่เห็นด้วยนั้น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.57 ให้เหตุผลเพราะว่า สุขภาพยังดี ยังสามารถทำงานสร้างประโยชน์ได้ รองลงมา ร้อยละ 43.13 ระบุว่า มีเวลาทำงานสร้างรายได้ได้ต่อเนื่อง ร้อยละ 19.48 ระบุว่า จะได้มีอะไรทำ ไม่เบื่อ แก้เหงา ร้อยละ 14.61 ระบุว่า ช่วยเกื้อกูลลูกหลานได้ ไม่เป็นภาระกับลูกหลาน และร้อยละ 0.70 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ บางตำแหน่งจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงาน อีกทั้งมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนในจำนวน ผู้ที่ไม่เห็นด้วยนั้น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.38 ให้เหตุผลเพราะว่า มีปัญหาสุขภาพ รองลงมา ร้อยละ 39.64 ระบุว่า ไม่ชอบ/ต้องการพักผ่อน/อยากอยู่แบบเรียบง่าย สบาย ๆ ไม่วุ่นวาย ร้อยละ 27.62 ระบุว่า เสียโอกาสในการมีอิสระจากชีวิตทำงาน เพื่อทำในสิ่งที่ตนเองชอบ ร้อยละ 23.02 ระบุว่า เวลาในการได้รับสิทธิประโยชน์เงินประกันชราภาพ /เงินบำเหน็จ/เงินบำนาญเลื่อนออกไป ร้อยละ 4.35 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ให้โอกาสคนรุ่นใหม่ ๆ ได้เข้ามาทำงาน และมีแค่บางงานหรือบางตำแหน่งเท่านั้น

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคาดหวังของผู้สูงอายุจากหน่วยงานภาครัฐ/รัฐบาล ในการช่วยเหลือผู้สูงอายุเกี่ยวกับการทำงาน พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.76 ระบุว่า มีระบบประกันสุขภาพที่ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น (ทั้งทางเลือกที่มากขึ้น และค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง) รองลมา ร้อยละ 22.80 ระบุว่า มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ร้อยละ 14.56 ระบุว่า ลดชั่วโมงทำงาน ร้อยละ 13.52 ระบุว่า มีระบบพัฒนาทักษะให้เหมาะกับงานสำหรับผู้สูงอายุ ร้อยละ 8.96 ระบุว่า ไม่มี/ทุกวันนี้ช่วยเหลือดีอยู่แล้ว ร้อยละ 7.44 ระบุว่า มีความยืดหยุ่นในด้านชั่วโมงทำงาน ร้อยละ 5.20 ระบุว่า มีระบบการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ และร้อยละ 5.20 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ด้านสวัสดิการผู้สุงอายุ การรักษาพยาบาล เงินเดือน การเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ค่าครองชีพ ความเท่าเทียมกัน การผ่อนคลายความเครียด คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 19.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 19.92 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 20.16 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 50.88 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 49.12 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 62.00 มีอายุ 60 – 65 ปี ร้อยละ 20.88 มีอายุ 66 – 70 ปี ร้อยละ 10.48 มีอายุ 71 – 75 ปี และร้อยละ 6.64 มีอายุ 75 ปี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 56.56 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 17.92 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.04 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 16.48 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และตัวอย่างร้อยละ 4.00 จบการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ