มาสเตอร์โพลล์ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ความคิดเห็นของแกนนำชุมชนกรณีผู้อพยพชาวโรฮิงญาและการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

จันทร์ ๑๑ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๑๐:๑๘
มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ความคิดเห็นของแกนนำชุมชนกรณีผู้อพยพชาวโรฮิงญาและการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ : กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชนใน 19 จังหวัดทุกภูมิภาคของประเทศไทย

รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association, TRICHA) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจมาสเตอร์โพลล์(Master Poll) เรื่อง ความคิดเห็นของแกนนำชุมชนกรณีผู้อพยพชาวโรฮิงญาและการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ : จำนวนทั้งสิ้น 1,079 ตัวอย่าง จาก 19 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท ลพบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว เชียงใหม่ น่าน พิษณุโลก นครสวรรค์ กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี บึงกาฬ เลย สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ชุมพร ปัตตานี และสงขลา ดำเนินโครงการในวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2558

ผลการสำรวจการติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 55.2 ระบุติดตามทุกวัน/เกือบทุกวัน ในขณะที่ร้อยละ 29.2 ระบุติดตาม 3-4 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 9.2 ระบุติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 5.7 ระบุน้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง และร้อยละ 0.7 ระบุไม่ได้ติดตามเลย

และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงประเด็นข่าวสารที่สนใจติดตามมากที่สุดในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น พบว่า แกนนำชุมชนประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.2 ระบุติดตามข่าวปัญหาการค้ามนุษย์/โรฮิงญา/แรงงานเถื่อน รองลงมาคือร้อยละ 19.3 ระบุสนใจติดตามข่าวความคืบหน้าในการร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 18.8 ระบุสนใจติดตามข่าวเกี่ยวกับ มาตรการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน/การแก้ไขปัญหาความยากจน ร้อยละ 11.8 ระบุสนใจติดตามข่าว การช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ประเทศเนปาล ร้อยละ 5.9 ระบุสนใจติดตามข่าวการปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 3.6 ระบุสนใจติดตามข่าวการทำงานของรัฐบาล และความคืบหน้าในการปฏิรูปประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 8.4 ระบุข่าวอื่นๆ อาทิ การแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า/อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้ปั่นจักรยาน การควบคุมราคาสลากกินแบ่งรัฐบาล /ข่าวเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น และข่าวอาชญากรรมต่างๆ เป็นต้น

ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงการติดตามข่าวเกี่ยวกับผู้อพยพชาวโรฮิงญา พบว่า ร้อยละ 40.8 ระบุติดตามอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ร้อยละ 51.6 ระบุติดตามบ้าง และร้อยละ 7.6 ระบุไม่ได้ติดตามเลย

ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นกรณีความเชื่อมั่นในการเอาผิดกับข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกระทำความผิดกรณีผู้อพยพชาวโรฮิงญานั้น พบว่าแกนนำชุมชนประมาณครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 50.5 ระบุเชื่อมั่นมาก-มากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 32.2 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 9.8 ระบุค่อนข้างน้อย และร้อยละ 7.5 ระบุน้อย-ไม่เชื่อมั่นเลย

นอกจากนี้ เมื่อสอบถามต่อไปถึงกรณีความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานภาครัฐในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์โดยภาพรวมของประเทศ ภายหลังมีข้อเท็จจริงปรากฎว่ามีข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าไปกระทำความผิดกรณีผู้อพยพชาวโรฮิงยานั้น ในส่วนของความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล/คสช. พบว่า ร้อยละ 92.2 ระบุเชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 7.8 ไม่เชื่อมั่น สำหรับความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ทหาร พบว่า ร้อยละ 90.3 ระบุเชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 9.7 ระบุไม่เชื่อมั่น ความเชื่อมั่นต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ร้อยละ 58.1 ระบุเชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 41.9 ระบุไม่เชื่อมั่น นอกจากนี้เมื่อสอบความเชื่อมั่นต่อข้าราชการอื่นๆ พบว่า ร้อยละ 53.8 ระบุเชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 46.2 ระบุไม่เชื่อมั่น และความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่า ร้อยละ 49.1 ระบุเชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 50.9 ระบุไม่เชื่อมั่น ตามลำดับ

สำหรับความเชื่อมั่นในความจริงใจของรัฐบาลและ คสช.ในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ นั้น พบว่า ร้อยละ 59.9 ระบุเชื่อมั่นมาก-มากที่สุด ร้อยละ 30.9 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 6.9 ระบุค่อนข้างน้อย และร้อยละ 2.3 ระบุน้อย-ไม่เชื่อมั่นเลย

อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงสิ่งที่คิดว่าจะเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของไทย นั้นพบว่า ร้อยละ 78.6 ระบุการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการการค้ามนุษย์ของข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 51.3 ระบุความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของประชาชน ร้อยละ 42.7 ระบุข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย ร้อยละ 30.7 ระบุความเด็ดขาด เอาจริงเอาจังและความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลและ คสช. ร้อยละ 30.2 ระบุความเชื่อมั่นและความเข้าใจจากต่างประเทศ และร้อยละ 2.1 ระบุอื่นๆ อาทิ สถานการณ์การเมืองภายในประเทศ/ความร่วมมือระหว่างประเทศ/ความตั้งใจจริงของข้าราชการในพื้นที่ เป็นต้น

ประเด็นสำคัญสุดท้าย คือเมื่อสอบถามความคิดเห็นของแกนนำชุมชนเกี่ยวกับการมีสถานการณ์หรือปัญหาที่คิดว่าน่าจะเข้าข่ายการค้ามนุษย์ในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนหรือละแวกใกล้เคียงนั้น ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 94.2 ระบุไม่มี ในขณะที่ร้อยละ 4.5 ระบุคิดว่ามี ในขณะที่ร้อยละ 1.3 ระบุไม่ทราบ

?

คุณลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

แกนนำชุมชนร้อยละ 88.3 เป็นเพศชาย ในขณะที่ร้อยละ 11.7 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 7.0 มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ร้อยละ 31.3 ระบุอายุ 40-49 ปี และร้อยละ 61.7 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุดพบว่า ร้อยละ 30.9 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ต่ำกว่า ร้อยละ 50.4 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช. ร้อยละ 4.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/ป.ว.ส. ร้อยละ 13.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตามลำดับ และเมื่อพิจารณารายได้ต่อเดือนของครอบครัวพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 13.8 ระบุมีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 24.9 ระบุมีรายได้ครอบครัว 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 22.4 ระบุมีรายได้ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่แกนนำชุมชนร้อยละ 38.9 ระบุมีรายได้ครอบครัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ตามลำดับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๓๙ สมาคมธนาคารไทย ออกแนวทางช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบางทั้งลูกค้าบุคคลและSME
๑๔:๐๒ ผู้ลงทุนเชื่อมั่น โลตัส (Lotus's) จองซื้อหุ้นกู้เต็มจำนวน 9 พันล้านบาท
๑๔:๑๕ สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รูดช้อปรับคุ้ม! รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5%
๑๔:๔๘ MASTER ประชุมผู้ถือหุ้นปี 67 ผ่านฉลุย ไฟเขียวจ่ายปันผล เดินหน้าสร้างโอกาสโตตามกลยุทธ์ MP
๑๔:๔๓ ธนาคารกรุงเทพ จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนาม MOU ส่งเสริมการผลิตบุคลากร-พัฒนาศักยภาพ-ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีดิจิทัล
๑๔:๒๐ ITEL จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. เห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผลอัตรา 0.0696 บ./หุ้น
๑๔:๒๙ ไทยพาณิชย์ ตอกย้ำกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch เปิดตัว โปรจีน อาฒยา นักกอล์ฟหญิงระดับโลก เป็น Brand
๑๔:๓๐ KCG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.30 บาทต่อหุ้น
๑๔:๔๙ บาฟส์ ประกาศความสำเร็จ ลุยขยายโครงข่ายขนส่งน้ำมันทางท่อ เชื่อมต่อเครือข่ายพลังงานทั่วไทย
๑๔:๓๙ บีโอไอจับมือพันธมิตร จัดงาน SUBCON Thailand 2024