คนไทยยังไม่พร้อมรับแผ่นดินไหวรุนแรง

พฤหัส ๑๔ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๑๖:๐๕
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการ สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษาร่วมแถลงผลการสำรวจความคิดเห็นและความรับรู้เกี่ยวกับการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 6 -12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

แบบสำรวจนี้รองรับภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่เกิดบ่อยครั้งและยังมีคนไทยเป็นจำนวนมากที่ไม่เข้าใจและทราบถึงข้อปฏิบัติที่ถูกต้องเมื่อต้องเผชิญเหตุการณ์แผ่นดินไหว ประกอบกับผู้คนมองว่าหน่วยงานที่ควบคุมมาตรฐานการสร้างอาคารสูงยังไม่ได้เอาจริงเอาจังกับการควบคุมมาตรฐานอาคารสูงให้สามารถรองรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้เท่าที่ควร และยังมีคนไทยอีกจำนวนหนึ่งที่มีความคิดว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่คงไม่มีทางเกิดขึ้นได้ในประเทศไทยจึงมิได้เอาใจใส่กับการเรียนรู้วิธีการรับมือเมื่อต้องเผชิญเหตุการณ์แผ่นดินไหว

ศ.ศรีศักดิ์ กล่าวสรุปว่าจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,159 คน ในด้านข้อมูลทางประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 50.73 ขณะที่ร้อยละ 49.27 เป็นเพศชาย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 30.63 มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 25 ถึง 34 ปี ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 33.99 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นลูกจ้าง/พนักงานในห้างร้านหรือบริษัทเอกชนคิดเป็นร้อยละ 31.15 และข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจคิดเป็นร้อยละ 24.94

ในด้านการติดตามข่าวเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ประเทศเนปาลเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558 นั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 41.07 ระบุว่าตนเองติดตามข่าวเหตุการณ์การเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาลในเฉพาะช่วงเกิดเหตุการณ์ใหม่ๆ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.39 ระบุว่าตนเองติดตามบ้างเป็นบางช่วง ส่วนกลุ่มตัวอย่างประมาณหนึ่งในห้าหรือคิดเป็นร้อยละ 21.83 ระบุว่าตนเองติดตามข่าวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้น โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.71 ยอมรับว่าตนเองไม่ได้ติดตามเลย

ในด้านความรู้สึกและความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 59.88 รู้สึกว่าในช่วงระยะ 10 ปีนี้มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงเกิดขึ้นในโลกบ่อยผิดปกติ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.85 ไม่รู้สึกว่าผิดปกติ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10.27 ไม่แน่ใจ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 58.07 ยอมรับว่าตนเองรู้สึกกลัวว่าในอนาคตอาจจะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงขึ้นในบริเวณเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30.28 ไม่กลัว แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 62.12 ยอมรับว่าตนเองไม่มีความรู้เพียงพอในการปฏิบัติตัวเมื่อต้องเผชิญเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.09 คิดว่าตนเองมีความรู้เพียงพอ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10.79 ไม่แน่ใจ และกลุ่มตัวอย่างประมาณสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 75.84 มีความคิดเห็นว่าหน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องให้ความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติที่ถูกต้องในการเผชิญเหตุการณ์แผ่นดินไหวกับประชาชนให้มากขึ้น

นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างถึงเกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 73.08 มีความคิดเห็นว่าในปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีความเข้มงวดในการควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยในการสร้างอาคารสูงเพื่อรองรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวเพียงพอ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าอาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่ไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยเพียงพอในการรองรับกับการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงซึ่งคิดเป็นร้อยละ 37.88 ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 21.92 มีความคิดเห็นว่ามีมาตรฐานความปลอดภัยเพียงพอประมาณครึ่งหนึ่ง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 12.68 มีความคิดเห็นว่าอาคารสูงในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่มีมาตรฐานความปลอดภัยเพียงพอในการรองรับกับการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 11.3 มีความคิดเห็นว่าไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยเพียงพอเลยทุกอาคาร โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 5.87 มีความคิดเห็นว่ามีมาตรฐานความปลอดภัยเพียงพอทุกอาคาร และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10.35 ไม่แน่ใจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา