งานสัมมนา ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ

จันทร์ ๑๘ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๑๖:๒๖
แนวทางการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนโดยรวม เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ลดความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและลดภาระทางการคลัง การปรับโครงสร้างตลาดกิจการบริการพื้นฐานต่างๆให้มีการแข่งขันเพิ่มขึ้น ต้องไม่เปลี่ยนจากการผูกขาดโดยรัฐเป็นการผูกขาดโดยเอกชนเพราะไม่มีประโยชน์อะไรแต่จะยิ่งทำให้ปัญหาย่ำแย่กว่าเดิม การจัดตั้งบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติในลักษณะบริษทโฮลดิ้งน่าจะทำให้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจดีขึ้น ลดการแทรกแซงโดยผู้มีอำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ในทางที่มิชอบหรือเบี่ยงเบนไปจากพันธกิจหลักขององค์กรนั้นๆ ลดสภาวะการเป็นองค์กรเพื่อพนักงานและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ มาเป็นองค์กร เพื่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียมากขึ้น ซึ่ง หมายถึง กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้น ประเทศชาติ ประชาชน รัฐวิสาหกิจจะถูกตรวจสอบเพื่อให้การบริหารงานมีความโปร่งใสมากขึ้น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะระบบรางอาจไม่สามารถใช้รัฐวิสาหกิจเดิมที่มีโครงสร้าง วัฒนธรรมการทำงานที่เป็นอุปสรรค จึงควรจัดตั้งเป็นบริษัทลูกๆที่สามารถรับบุคลากรใหม่ที่มีคุณภาพสูงเข้ามาทำงานได้ และ สามารถให้ค่าตอบแทนที่จูงใจ หรือ การบริหารสนามบินทั้งหมดควรโอนย้ายจากกรมการบินพลเรือนมาให้ การท่าอากาศยาน หรือ เพิ่มบทบาทเอกชนในการเข้ามาบริหาร สินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่มีอยู่มากกว่า 5 ล้านล้านบาท หากจัดการอย่างมีประสิทธิภาพจะเพิ่มรายได้ให้รัฐได้ปีละไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาททำให้แรงกดดันเรื่องการหารายได้จากภาษีลดลง

14 พ.ค. 2558 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวชั่น

เสวนาทางวิชาการ “ผ่าแผนปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ วิกฤตหรือโอกาสประเทศไทย”

การเสวนาทางวิชาการจัดโดย สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และเครือข่าย มีวิทยากรดังนี้

คุณกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร) ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการและคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต รศ. ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณสารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค คุณสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้บรรยายและให้ความเห็นแนวทางการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ใน งานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “ผ่าแผนปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ วิกฤตหรือโอกาสประเทศไทย” ว่า การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนโดยรวม เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ลดความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและลดภาระทางการคลัง การปรับโครงสร้างตลาดกิจการบริการพื้นฐานต่างๆให้มีการแข่งขันเพิ่มขึ้น ต้องไม่เปลี่ยนจากการผูกขาดโดยรัฐเป็นการผูกขาดโดยเอกชนเพราะไม่มีประโยชน์อะไรแต่จะยิ่งทำให้ปัญหาย่ำแย่กว่าเดิม ส่วนแนวทางการจัดตั้งบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติเป็นเพียงการปฏิรูปด้านกลไกและการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจเท่านั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ต้องทำด้านอื่นๆควบคู่ไปด้วยจึงสามารถบรรลุ เป้าหมาย

ผศ. ดร. อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า 1 ใน 3 ของหนี้สาธารณะของไทยเป็นหนี้ของรัฐวิสาหกิจ และมีรัฐวิสาหกิจอย่างน้อย 7 แห่งที่มีภาวะการขาดทุนสะสมมากเป็นภาระต่อเงินภาษีประชาชน ฉะนั้นการปฏิรูปจึงต้องมุ่งไปที่การลดภาระทางการคลังและจัดการหนี้สาธารณะของประเทศด้วย ซึ่งเกิดจากความด้อยประสิทธิภาพในการลงทุน การลงทุนที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนรวมทั้งการทุจริตคอร์รัปชันในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การแปรรูปอาจเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปหรืออาจเป็นเพียงการขายสมบัติชาติขึ้นอยู่กับว่าดำเนินการอย่างไร การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจอาจไม่ใช่การแปรรูปหรือไม่ใช้การแปรรูปเลยก็ได้แต่กิจการใดที่เอกชนทำได้ดีกว่า รัฐไม่จำเป็นต้องทำ ควรเอาทรัพยากรไปลงทุนด้านอื่น เช่น การศึกษา การสาธารณสุข สิ่งใดที่เอกชนไม่ทำเพราะไม่มีแรงจูงใจในเชิงพาณิชย์ รัฐต้องเข้าไปทำเข้าไปลงทุน หากเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนและประเทศชาติโดยรวม และบริการพื้นฐานและกิจการที่มีลักษณะผูกขาดโดยธรรมชาติ เช่น สายส่งไฟฟ้า คลองส่งน้ำประปา ควรอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐวิสาหกิจ หากรัฐเกิดข้อจำกัดด้านงบประมาณและขยายงานบริการรองรับการเติบโตไม่ทัน ก็สัมปทานให้เอกชนทำ แต่ต้องเป็นสัมปทานที่โปร่งใส เป็นธรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ตั้งใจทำสัญญาเสียเปรียบเอกชน หรือ ที่เราเรียกว่า “ค่าโง่” กัน

คณบดีเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต กล่าวให้ความเห็นแนวทางการจัดตั้ง บรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ ว่า การทำในรูปบริษัทโฮลดิ้ง ทำให้เกิดสภาพความเป็นเจ้าของ โดยเริ่มต้นจากรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทมหาชนและบริษัทจำกัด 14 แห่ง น่าจะเป็นแนวทางที่ทำให้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจดีขึ้น ลดการแทรกแซงโดยผู้มีอำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ในทางที่มิชอบหรือเบี่ยงเบนไปจากพันธกิจหลักขององค์กรนั้นๆ ลดสภาวะการเป็นองค์กรเพื่อพนักงานและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ มาเป็นองค์กรเพื่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียมากขึ้น ซึ่ง หมายถึงกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้น ประเทศชาติ ประชาชน เอกชน

รัฐวิสาหกิจจะถูกตรวจสอบเพื่อให้การบริหารงานมีความโปร่งใสมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การจะประสบความสำเร็จอยู่ที่กระบวนการในการคัดเลือกคนดีมีความรู้ความสามารถมาเป็นประธานบอร์ดและกรรมการบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ หากบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดภาระทางการคลังและบริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น รัฐวิสาหกิจสามารถมีเงินทุนในการลงทุนโครงการต่างๆได้ด้วยตัวเอง โดยที่รัฐบาลไม่ต้องค้ำประกันเงินกู้หรือกู้เงินให้ อย่างไรก็ตาม การใช้บริษัทโฮลดิ้งมาถือหุ้นรัฐวิสาหกิจถือว่าเป็นการปฏิรูปซึ่งมีลักษณะเป็นการแปรรูปอย่างหนึ่งแม้นกระทรวงการคลังยังเป็นเจ้าของอยู่ เนื่องจากบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติจะเข้ามาถือหุ้นแทนกระทรวงการคลัง แม้นกระทรวงการคลังถือหุ้นในบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ แต่กรรมการบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติและผู้บริหารไม่ใช่ข้าราชการ การแทรกแซงโดยผู้มีอำนาจทางการเมืองจะลดลง โดยกรรมการและผู้บริหารต้องเป็นนักบริหารมืออาชีพและโปร่งใส หากสามารถสรรหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีธรรมาภิบาลโปร่งใสมาบริหารได้ จึงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐวิสาหกิจในทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่ประสบการขาดทุนอย่างมาก มีปัญหาเรื่องความโปร่งใสและไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้

ดร. อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า บรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาตินี้สามารถเข้าไปถือหุ้น รัฐวิสาหกิจทุกแห่งที่ได้แปลงสภาพด้วยกระบวนการ Corporatization (โดยหลายรัฐบาลที่ผ่านมา) ทั้งนี้ การบริหารรัฐวิสาหกิจของไทยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเข้มแข็ง และให้การดำเนินงานขององค์กรรัฐวิสาหกิจสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป มีความจำเป็นต้องปรับโครงสร้างการกำกับดูแลและบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจเสียใหม่ เพื่อให้องค์กรรัฐวิสาหกิจสามารถให้บริการที่ได้มาตรฐาน แข่งขันได้และตอบสนองกับความต้องการของประชาชนได้เป็นอย่างดี ส่วนรัฐวิสาหกิจไหนที่ไม่สามารถแข่งขันได้ ขาดทุนจำนวนมากจากความไร้ประสิทธิภาพและการทุจริตคอร์รัปชัน และเอกชนสามารถดำเนินการผลิตสินค้าหรือให้บริการได้ดีกว่ามากและไม่มีความจำเป็นในการดำรงอยู่ของรัฐวิสาหกิจแห่งนั้น ก็ควรยุบรัฐวิสาหกิจแห่งนั้นเพื่อประโยชน์ของประเทศโดยรวมแต่รัฐบาลต้องมีมาตรการดูแลผลกระทบจากการยุบหน่วยงานโดยเฉพาะบรรดาพนักงานทั้งหลาย

นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจหลายแห่งมีการทำงานซ้ำซ้อนกันมาก ควรมีการควบรวมกิจการกันโดยใช้กลไกบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติดำเนินการได้ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะระบบรางอาจไม่สามารถใช้รัฐวิสาหกิจเดิมที่มีโครงสร้าง วัฒนธรรมการทำงานที่เป็นอุปสรรค จึงควรจัดตั้งเป็นบริษัทลูกๆที่สามารถรับบุคลากรใหม่ที่มีคุณภาพสูงเข้ามาทำงานได้ และ สามารถให้ค่าตอบแทนที่จูงใจ หรือ การบริหารสนามบินทั้งหมดควรโอนย้ายจากกรมการบินพลเรือนมาให้ การท่าอากาศยาน หรือ เพิ่มบทบาทเอกชนในการเข้ามาบริหาร สินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่มีอยู่มากกว่า 5 ล้านล้านบาท หากจัดการอย่างมีประสิทธิภาพจะเพิ่มรายได้ให้รัฐได้ปีละไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาททำให้แรงกดดันเรื่องการหารายได้จากภาษีลดลง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4