กรมสุขภาพจิต แนะ เทคนิคให้ลูกอยากไปโรงเรียนรับเปิดเทอม

พุธ ๒๐ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๑๐:๔๖
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้ให้ข้อแนะนำสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกเล็กๆ ว่า ช่วงเปิดเทอมใหม่ เป็นช่วงเวลาที่เด็กๆและพ่อแม่ผู้ปกครองต้องปรับตัวกันอีกครั้ง หลังการปิดเทอมใหญ่ที่หยุดยาวติดต่อกันมาหลายเดือน ซึ่งมักพบว่ายังมีเด็กๆ ส่วนหนึ่งที่ไม่อยากไปโรงเรียน เกิดความทุกข์ใจ หงุดหงิด บางคนไม่เคยไปโรงเรียน พอต้องไปก็เกิดความกลัว พ่อแม่ผู้ปกครองก็พลอยเครียดไปด้วย

อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้แนะเทคนิคให้ลูกอยากไปโรงเรียน ดังนี้

1.ไม่หนีลูก เพราะไม่เช่นนั้นเขาจะรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง

2.เมื่อพ่อแม่ต้องไปจริงๆ ก็ขอให้กอดและหอมแก้มพร้อมบอกกับลูกว่าจะกลับมารับ

3.พูดให้ลูกสบายใจ เช่น “รักลูกนะ สัญญาจะมารับตอนบ่าย”

4.หากพบว่าบางครั้งลูกร้องไห้กอดแขนขาเราแบบไม่อยากให้เราไปไหน ต้องกลับมาดูว่า เป็นเพราะปัญหาที่บ้าน หรือเพราะปัญหาที่โรงเรียน ซึ่งต้องปรึกษาหารือกับครู

5.ถ้าลูกร้องติดต่อยาวนานกว่า 2 อาทิตย์ ต้องหาสาเหตุโดยด่วน ทั้งครู และที่บ้าน ถ้าพยายามแล้วแต่ไม่ได้ผล ให้พาไปพบแพทย์

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า แต่ละช่วงวัยปัญหาการไม่อยากไปโรงเรียนจะมีความแตกต่างกัน เด็กเล็กจะเป็นเรื่องของการพลัดพราก ส่วนกลุ่มเด็กโต ที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา ไม่ได้เกิดจากการต้องห่างไกลจากพ่อแม่ผู้ปกครอง แต่อาจเกิดจากความบกพร่องทางการเรียนรู้ เรียนไม่รู้เรื่อง มีปัญหาการอ่าน การเขียน การคำนวณ สมาธิสั้น ฯลฯ ซึ่งทำให้ท้อแท้หมดกำลังใจจะเรียนหนังสือต่อ อย่างไรก็ตาม หากค้นพบว่าปัญหาการเรียนของลูกคือสิ่งใดและสามารถให้การช่วยเหลือแก้ไขแต่เนิ่นๆ สิ่งเหล่านั้นก็จะดีขึ้นทำให้เด็กสามารถปรับตัวดีขึ้น มีความสุขกับการไปโรงเรียน

ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรมีความเข้าใจ โดยเฉพาะการพัฒนาการตามวัย ซึ่งธรรมชาติของเด็กแต่ละช่วงวัยมีอารมณ์และความต้องการที่แตกต่างกัน อย่างเด็กเล็กๆ จะซึมซับบทบาทของพ่อแม่ เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น แต่ผู้ปกครองมักมีความกังวลถึงการร้องไห้งอแง ไม่อยากไปโรงเรียนซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ ที่เด็กวัยนี้มีความกังวลกับการที่ต้องห่างจากพ่อแม่ แต่เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งก็จะเรียนรู้ปรับตัวปรับใจ ส่วนการเรียนรู้ของกลุ่มวัยรุ่น จุดหลัก เป็นการค้นหาเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของตนเองว่าอยากจะเป็นอะไร ชอบอะไรซึ่งเกราะที่จะช่วยป้องกันสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพวกเขา คือ ต้องช่วยให้เขาค้นพบความสามารถ ความชอบของตนเองเพื่อให้เขาเกิดแรงจูงใจอยากจะทำสิ่งนั้นให้ดี โดยพ่อแม่อาจจะเป็นพี่เลี้ยงอยู่ข้าง ๆ เป็นผู้ช่วยดูแลแนะนำการเรียนให้ค้นเจอความชอบของตนเอง เป็นการต่อยอดเตรียมตัวสู่ระดับมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดความเครียดจากการสอบ ระบายความรู้สึกที่กดดันไม่ทำให้รู้สึกว่าอยู่คนเดียว ซึ่งเมื่อไหร่ที่เขามีความทุกข์ก็จะรู้สึกว่าไม่ได้ทุกข์อยู่คนเดียว” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ