การรังแกกันในโรงเรียนเป็นเรื่องคุกคามความปลอดภัยสำหรับเด็กทุกคน

อังคาร ๒๖ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๑๗:๕๖
จากผลการวิจัย “การรังแกกันของนักเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา : รูปแบบ ความชุก ผลกระทบ แรงจูงใจ และมาตรการป้องกัน ใน 5 จังหวัดของประเทศไทย ระบุว่านักเรียนเคยถูกรังแกด้วยความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ” ที่จัดทำและเผยแพร่โดย องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ร่วมกับองค์การยูเนสโกและมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี 2557 ได้เปิดเผยถึงข้อมูลที่น่าตกใจว่า กว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มนักเรียนโดยเฉพาะที่ระบุว่าตนเองเป็น คนรักเพศเดียวกัน คนรักสองเพศ และ คนข้ามเพศ (LGBT)เคยถูกรังแก หรือแม้แต่ 1 ใน 4 ของกลุ่มที่ระบุตัวเองว่าไม่ได้เป็น LGBT ก็ยังคงถูกรังแกเหตุเพราะถูกมองว่าอ่อนแอ หรือแปลกแตกต่างไม่เข้ากลุ่ม และเพียง 1 ใน 3 ของนักเรียนที่ถูกรังแกเลือกที่จะตอบสนองต่อเหตุการณ์เช่น ปรึกษาเพื่อน สู้กลับ หรือบอกครู ดังนั้นการให้การศึกษาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเหมาะสมทั้งในประเด็นด้านสิทธิเด็กและความเท่าเทียม และเรื่องเพศภาวะ โดยเฉพาะเด็กนักเรียนมัธยมที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น หรือวัยเจริญพันธ์นั้น เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ใหญ่ไม่ควรละเลยในความเหลื่อมล้ำของการเลิอกปฏิบัติและความปลอดภัยในโรงเรียน ดังนั้นองค์การแพลน ฯ และองค์การยูเนสโก สำนักงานกรุงเทพฯ ได้ร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรอีก 2 องค์กรคือ มูลนิธิพาธทูเฮลท์ (Path2Health) และ มูลนิธิเอ็ม พลัส (M Plus) ร่วมจัด งานประชุมสัมมนาวิชาการ “โครงการรณรงค์สร้างสิทธิความเท่าเทียมด้านเพศภาวะ ยุติความรุนแรงและการรังแกกันในสถานศึกษาในประเทศไทย” ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนทุนจาก the Swedish International Development Agency (SIDA) ประเทศสวีเดน and the Dutch Ministry of Education, Science and Culture

ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยได้ดำเนินโครงการร่วมกับ โรงเรียนนำร่อง 12 โรงเรียน ในจังหวัดเชียงใหม่ และกรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมมือกันรณรงค์ยุติความรุนแรงและสร้างสถาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อนักเรียน เพื่อป้องกันความรุนแรงหรือการรังแกกัน และส่งเสริมให้โรงเรียนมีกิจกรรม กฎระเบียบหรือมาตรการรองรับต่อการใช้ความรุนแรงและการรังแกกันในสถานศึกษา โดยเฉพาะการรังแกจากเหตุของเพศภาวะ ทั้งนี้เพื่อสร้างเสริมสิทธิเด็กและการคุ้มครองป้องกัน ให้เด็กนักเรียนรู้สึกปลอดภัยมั่นคง มีส่วนร่วมและได้รับการยอมรับนับถือในฐานะพลเมืองของสังคม โดยร่วมวางแผนและดำเนินการออกแบบคู่มือสื่อการเรียนการสอนสำหรับคุณครูและนักเรียน ในเรื่องความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติ เรื่องความเท่าเทียมด้านเพศภาวะ กระบวนการเข้าถึงความช่วยเหลือและการดำเนินงานด้านบริหารจัดการเพื่อช่วยยุติความรุนแรงและการรังแกกันในบริบทของโรงเรียน เพื่อนำไปปรับใชัให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตประจำวันในการป้องปราม หรือแก้ปัญหาการล่วงละเมิดโดยความรุนแรงและการรังแกต่างๆที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชน

ดร. สายพันธุ์ ศรีพงศ์พันธุ์กุล นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า “ในบทบาทของภาครัฐได้ศึกษาและให้ความสนใจและสนับสนุนมาตรการต่างๆต่อเรื่องการปกป้องคุ้มครองเด็ก โดยให้ความสำคัญกับการยุติความรุนแรงและการรังแกกันโดยเฉพาะในโรงเรียนภายใต้พื้นที่ของสพฐ. ทั้งในเรื่องนโยบาย แผนงาน การดำเนินงานเพื่อยุติและป้องปรามปัญหาเรื่องความรุนแรงและการรังแกกันในโรงเรียน โดยจะเน้นถึงการแก้ปัญหาระหว่างผู้เกี่ยวข้องสำคัญหลักๆ 3 กรณี คือ 1. กรณีระหว่างนักเรียนกับนักเรียน 2. กรณีระหว่างครูกับนักเรียน และ 3. กรณีระหว่างบุคลากรในโรงเรียนกับนักเรียน ซึ่งทางสพฐ.ให้ความสนใจและยินดีสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนเพื่อสร้างเสริมศักยภาพด้านความปลอดภัย เพื่อเปลี่ยนแปลงและลดความรุนแรงในกรณีดังกล่าว”

คุณภาวนา เหวียนระวี ผู้อำนวยการ มูลนิธิพาธทูเฮลท์ กล่าวว่า “ในฐานะองค์กรที่ผลักดันเรื่องสุขภาวะเยาวชน เราเห็นว่าการรังแกหรือใช้ความรุนแรงต่อกันในสถานศึกษา สามารถแก้ไขได้หากสร้างความเข้าใจ และทัศนะที่เคารพในความแตกต่าง และการปฏิบัติต่อกันด้วยความเท่าเทียมเอาใจเขามาใส่ใจเรา ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เราต้องการสร้างในเยาวชนและพลเมืองของเรา โรงเรียนนำร่องทั้ง12 แห่งในโครงการจะเป็นการทดลองสร้างเครื่องมือและวิธีดำเนินงานแบบทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนร่วมกันสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนดังว่า เพื่อลดการรังแกและส่งเสริมการเคารพสิทธิและอยู่ร่วมกันในความแตกต่างทั้งเรื่องเพศและเรื่องอื่นๆ ที่มีการกระทำความรุนแรงต่อกัน”

คุณป้อมปราณณ์ เนตยวิจิตร์ ผู้จัดการโครงการป้องกันการรังแกและความรุนแรงในโรงเรียน องค์การแพลนฯ กล่าวเสริมว่า การรังแกกันและความรุนแรงในรูปแบบต่างๆที่เกิดขึ้นในโรงเรียน เป็นเรื่องที่รุนแรงเข้มข้นและแพร่หลายล่วงละเมิดออกสื่อออนไลน์ต่างๆมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนที่ดูอ่อนแอหรืออ่อนด้อยกว่าเด็กอื่น รวมทั้งกลุ่มนักเรียน LGBT ที่ดูจะชัดเจนในเรื่องการการรังแกและล่วงละเมิดในเรื่องเพศภาวะ เป็นประเด็นสำคัญที่ทุกภาคส่วนควรให้ความสนใจและร่วมแก้ไขอย่างจริงจัง จากการที่ได้ร่วมพูดคุยกับผู้บริหารสถานศึกษา คุณครูและศึกษานิเทศน์ที่มาร่วมประชุมในวันนี้ ทำให้เราได้เห็นประโยชน์ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ ซึ่งมีวิธีการจัดการกับปัญหาความรุนแรงที่แตกต่างกันในบริบทโรงเรียน แต่ปัญหาความรุนแรงจะลดลงมากหากบุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง นักเรียน รวมถึงชุมชนต่างเห็นความสำคัญของปัญหาและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน เพื่อให้เด็กนักเรียนทุกคนรู้สึกมั่นคงปลอดภัย อยากไปเรียนหนังสือ มีความมั่นใจภูมิใจในตัวเอง มีทักษะชีวิตและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยอมรับนับถือในความแตกต่างของเพศและวัย เคารพซึ่งกันและกัน ผู้ปกครองควรเปิดใจรับฟัง ยอมรับในสิ่งที่ลูกตัวเองเป็น พร้อมให้ความรักความเข้าใจ เด็กๆควรมีสิทธิในการแสดงออกในความเป็นตัวตน ครูควรมีการปรับทัศนคติให้มีมุมมองบวกต่อนักเรียนเหล่านั้น รวมถึงกลุ่มที่เป็น LGBT ด้วยเช่นกัน” #

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4