เปิดรับบริจาค (สั่งจอง) แล้ว “พระพุทธเทพทันตราช” พร้อมเหรียญ ศิลปินแห่งชาติออกแบบและควบคุมการผลิตโดยมีมวลสารพระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ ผู้เชี่ยวชาญชี้พระพุทธรูปองค์นี้จะเป็นอมตะและเป็นตำนานแห่งวงการพระบูชาไทย

อังคาร ๓๐ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๑๐:๑๗
วงการพระบูชาเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ คณะทันตะฯ ม.มหิดล ได้เปิดรับบริจาค (สั่งจอง) "พระพุทธเทพทันตราช" ทั้งองค์พระและเหรียญแล้ว โดยได้รับพระราชทานมวลสารจากสมเด็จพระเทพฯ ออกแบบและควบคุมการผลิตโดยศิลปินแห่งชาติ "อาจารย์นนทิวรรธน์" กูรูวงการพระบูชาชี้ พระพุทธรูปและเหรียญชุดนี้จะมีความเป็น "อมตะ"และเป็นตำนานของวงการพระบูชาไทย เพราะมีครบทั้งมวลสารและความงามด้านศิลปะแบบใหม่ที่ไม่ซ้ำยุคสมัยใด เป็นพระพุทธรูปยุคกรุงรัตนโกสินทร์โดยแท้

รองศาสตราจารย์ ทพ. พาสน์ศิริ นิสาลักษณ์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ปีนี้เป็นปีมหามงคลของปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๕ รอบ คณะฯ ได้มีส่วนร่วมเฉลิมฉลองกับประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า

โดยคณะฯได้มีการดำเนินการต่างๆ หลายกิจกรรมหนึ่งในกิจกรรมที่มีความสำคัญมาก คือ การจัดสร้างพระพุทธรูปที่ออกแบบด้วยศิลปะใหม่ไม่ซ้ำยุคสมัยใด เป็นพระพุทธรูปสมัยกรุงรัตนโกสินทร์โดยแท้ มีความงดงามที่เป็นเอกลักษณ์เป็นศิลปะร่วมสมัยยุคปัจจุบัน องค์พระพุทธรูปได้จัดสร้างขึ้นด้วยโลหะบรอนซ์สีน้ำผึ้ง ฐานกว้าง ๖๑ เซนติเมตร ความสูงพร้อมซุ้ม ๑ เมตร ๘๐ เซนติเมตร เพื่อประดิษฐานไว้ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา คณะทันตแพทยศาสตร์ ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เพื่อให้เกิดสิริสวัสดิ์ อำนวยความสมบูรณ์พูนผลให้เกิดแก่คณาจารย์นักศึกษา ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ป่วยและประชาชนที่มารับบริการปีละกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ราย

พระพุทธรูปองค์ดังกล่าวนี้ออกแบบและควบคุมการสร้างโดยศิลปินระดับศิลปินแห่งชาติที่มีชื่อเสียงและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ท่านก็คือ ศาสตรเมธี นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน เจ้าของผลงานโดดเด่นอาทิเช่น การออกแบบ เหรียญ"พระมหาชนก" เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๘๐ พรรษา เหรียญ "AGRICOLA" ขององค์กรระหว่างประเทศ "FAO" และเป็นประติมากรปั้นและควบคุมการหล่อพระประธานวัดพระราม ๙ ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

นอกจากนี้ยังได้มีการจัดสร้างพระพุทธรูป "พระพุทธเทพทันตราช" ย่อส่วน โดยมีการจัดสร้างขึ้นเป็น ๒ ขนาด ดังนี้

ขนาดที่ ๑ เป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก ๙.๙ นิ้ว หล่อด้วยโลหะบรอนซ์สีน้ำผึ้ง การจัดสร้างจำกัด จำนวน ๙๙ องค์ ทุกองค์จะมีหมายเลขกำกับและการจัดสร้างจะเป็นไปตามจำนวนที่สั่งจองเท่านั้น ผู้บริจาคเงินจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท จะได้รับพระพุทธรูปนี้จำนวน ๑ องค์

สำหรับหมายเลขพิเศษจะมอบให้กับผู้ที่บริจาคเงินจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาทต่อ ๑ องค์ และผู้บริจาคจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ บาทต่อ ๑ องค์

ขนาดที่ ๒ เป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก ๖.๑ นิ้ว หล่อด้วยโลหะบรอนซ์สีน้ำผึ้งเช่นกัน หล่อจำนวนจำกัดที่ ๒๖๑ องค์ มีหมายเลขกำกับทุกองค์ และหล่อตามจำนวนจำกัดเท่าที่มีการสั่งจอง มอบให้กับผู้บริจาคเป็นจำนวน ๘๐,๐๐๐ บาทต่อ ๑ องค์

สำหรับหมายเลขพิเศษจะมอบให้กับผู้บริจาคเงินจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ บาท และผู้บริจาคเงินจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาทต่อ ๑ องค์

และเพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลและความสวยงาม การจัดสร้างองค์พระทั้ง ๒ ขนาด ยังได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา มาประดับไว้ที่ฐานด้านหน้าขององค์พระ

นอกจากนี้ที่ฐานด้านหลังขององค์พระ ยังได้มีการนำตราสัญลักษณ์ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมลายเซ็นของศิลปินแห่งชาติมาประดับไว้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานผลงานศิลปะอย่างครบถ้วน

ส่วนการจัดสร้างเหรียญ จะมีอยู่ ๓ ชนิด ประกอบด้วยเหรียญทองคำ เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง ที่มีขนาดเดียวกันคือ ขนาด ๒.๕ เซนติเมตรเพื่อให้นักสะสม และประชาชนทั่วไปได้ร่วมบริจาค(สั่งจอง)ได้แล้วเช่นกัน

เหรียญทองคำ จัดสร้างจำนวนทั้งสิ้น ๙๙ เหรียญ มีหมายเลขกำกับทุกเหรียญ สร้างด้วยทองคำแท้น้ำหนัก ๑๔.๑๒ กรัม มอบให้กับผู้บริจาคเงิน ๕๐,๐๐๐ บาทต่อ ๑ เหรียญ

สำหรับหมายเลขพิเศษจะมอบให้กับผู้บริจาคเงินจำนวน ๖๐,๐๐๐ บาท และผู้บริจาคเงินจำนวน ๘๐,๐๐๐ บาทต่อ ๑ เหรียญ ตามหมายเลขพิเศษที่เลือก

เหรียญเงิน จัดสร้างจำนวนทั้งสิ้น ๑,๖๖๑ เหรียญ เพื่อมอบให้กับผู้บริจาคเงินจำนวน ๒,๐๐๐ บาทต่อ ๑ เหรียญ และเหรียญทองแดง จัดสร้างจำนวนทั้งสิ้น ๖,๖๖๑ เหรียญ เพื่อมอบให้กับผู้บริจาคเงินจำนวน ๓๐๐ บาท ต่อ ๑ เหรียญ

โดยด้านหลังของเหรียญทั้ง ๓ ชนิด คณะได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา มาประดับเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลกับเจ้าของ

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างครั้งนี้เพื่อมอบให้กับผู้ใจบุญและนักสะสมพระเครื่องที่บริจาคเงินให้กับคณะฯ เพื่อนำรายได้ไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่ยากไร้ และมอบเป็นทุนการศึกษา นักศึกษาทันตแพทย์ที่มี ผลการเรียนดี ความประพฤติดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้ได้ทุนเล่าเรียนต่อเนื่องไปจนจบการศึกษา เพื่อออกไปรับใช้สังคมต่อไป

ขณะนี้ การจัดสร้างตัวอย่าง "พระพุทธเทพทันตราช" และเหรียญ ๓ ชนิด แล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คณะฯพร้อมเปิดรับบริจาค(สั่งจอง) ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปที่คณะฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ หรือเบอร์โทร หมายเลข ๐-๒๒๐๐-๗๙๐๒ และหมายเลข ๐๒-๒๔๑-๐๐๘๘ หรือ ๐๒-๒๔๑-๑๖๑๖ เพื่อสอบถามข้อมูลรายละเอียด

ด้านศาสตรเมธี นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ศิลปินแห่งชาติ ผู้ออกแบบและควบคุมการผลิต ได้เผยถึงแนวคิดการสร้างสรรค์ "พระพุทธเทพทันตราช" ไว้ว่า องค์พระพุทธรูป มีพุทธลักษณะเป็นปางตรัสรู้ คือ การปฏิบัติสมถะ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อการชำระล้าง วิตก วิจารณ์ จากใจให้หมดไป เข้าสู่ความปิติสุข สงบ เป็นเอกคตาจิต นำไปสู่อุเบกขา เป็นผู้รู้ ผู้ทำให้แจ้งด้วยปัญญา

องค์พระพุทธรูปมีรูปแบบที่เรียบง่าย สื่อความหมายถึงการปล่อยวาง ให้ความรู้สึกที่สงบนิ่ง และเป็นสุข ประทับนั่งอยู่บนฐานดอกบัวบาน สื่อความหมายถึงความเป็นผู้รู้แจ้งแห่งสภาวะธรรม

ด้านหลังพระพุทธรูปเป็นวงกลม หมายถึง พระจันทร์วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ ในวัน เวลา ที่พระองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และวงกลมยังให้ความรู้สึกถึงความบริสุทธิ์ บริบูรณ์

ด้านหลังวงกลม มีต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งในวันตรัสรู้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์มีผลอยู่เต็มต้น หมายถึงพระธรรมของพระองค์ที่เผยแพร่สู่มวลมนุษย์ เป็นทิพย์โอสถทำให้ผู้เวียนว่ายอยู่ในห้วงมหรรณพแห่งสังสารวัฏของความทุกข์ก้าวขึ้นสู่ฝั่งแห่งความพ้นทุกข์ นำมาสู่สันติสุขของการดำรงอยู่ ของมวลมนุษยชาติ

นายวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ (อุ๊) ผู้เชี่ยวชาญด้านพระเครื่องทั้งเก่าและใหม่- ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ พระเครื่องอันดับหนึ่งของประเทศ www.uamulet.com ได้เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้ เราจะเห็นว่าวงการพระ โดยเฉพาะวงการพระใหม่ มีการสร้างพระเครื่องและพระบูชาออกมาจำนวนมากมายมหาศาล ทั้งหลวงพ่อ พระเกจิอาจารย์ แต่การออกแบบก็ยังคงซ้ำซากเหมือนเดิม ไม่มีการฉีกแนว หรือไม่มีการใช้งานศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้อง อันนี้เป็นข้อด้อยของการออกแบบของพระใหม่

ปัจจุบันนี้เป็นยุคการเปลี่ยนผ่านของการออกแบบพระเครื่องและพระบูชา ศิลปินที่มีชื่อเสียงเริ่มเข้ามาเป็นผู้ออกแบบ ทำให้มีคุณค่าทางด้านศิลปะมากยิ่งขึ้น และเป็นที่น่าสนใจ และมีความเป็นอมตะในระยะยาว แล้วก็เป็นเรื่องของงานศิลปะ ซึ่งมีคุณค่าของตัวเอง และความงามของศิลปะนี่มีความยั่งยืน ไม่มีวันตาย

เพราะฉะนั้นศิลปินผู้ออกแบบจึงมีความสำคัญเสมือนเป็นผู้ประทับตราคุณค่าขององค์พระนั้น โดยเฉพาะอาจารย์นนทิวรรธน์ ท่านเป็นศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้ชำนาญการด้านศิลปะระดับชาติ และได้รับการยอมรับในทุกวงการ

"พระพุทธรูปและเหรียญชุดนี้จะมีความเป็นอมตะ และจะเป็นตำนานของวงการพระบูชาและเหรียญ เพราะมีครบทั้งมวลสารและความงามด้านศิลปะแบบใหม่ที่ไม่ซ้ำยุคสมัยใด เป็นพระศิลปะยุคกรุงรัตนโกสินทร์โดยแท้" นายวัชรพงศ์ หรือคุณอุ๊ ได้กล่าวสรุปเป็นการทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4