สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ มุ่งปฏิรูป งานวิจัย –พัฒนา ยุทโธปกรณ์ เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

อังคาร ๓๐ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๑๒:๓๕
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Defence Technology Institute(DTI) เป็นหน่วยงานในรูปแบบองค์การมหาชน ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง โดยใช้ทรัพยากรของกระทรวงกลาโหม ร่วมกับหน่วยงานวิจัยต่าง ๆ ซึ่งเมื่อ สทป.ได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว จะทำการวิจัยและพัฒนาต่อยอดสร้างต้นแบบยุทโธปกรณ์ที่เป็นความต้องการของเหล่าทัพ

ปัจจุบัน สทป.มีงานวิจัยที่ได้มีการสร้างขึ้นเองจากทีมงานนักวิจัยฝีมือคนไทย อาทิ จรวดหลายลำกล้องนำวิถีและแบบไม่นำวิถี , อากาศยานไร้คนขับ ยานเกราะล้อยาง 8x8 เป็นต้น ถือเป็นการวางรากฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เข้มแข็งขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังสามารถพึ่งพาตนเองด้วยการเป็น "เจ้าของ" เทคโนโลยีป้องกันประเทศ ทำให้ไม่ต้องเสียดุลการค้าจากการซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ถือเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศสำคัญอย่างไร

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมความมั่นคงและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศนั้น ๆ สำหรับประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มชั้นที่ 3 หรือ Third Tier ซึ่งมีความสามารถที่จะผลิตยุทโธปกรณ์ได้เพียงบางส่วน เนื่องจากสถานภาพของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยในปัจจุบันเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก มีขีดความสามารถเพียงเพื่อการซ่อมบำรุง และสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์บางประเภทสนับสนุนให้แก่กองทัพเท่านั้น เมื่อเทียบกับประเทศอาเซียน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ทีได้พัฒนาอุตสาหกรรมด้านนี้อย่างจริงจัง ซึ่งในอนาคตหากมีการพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีที่ตอบสนองตรงความต้องการด้านยุทโธปกรณ์ของกองทัพ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศ เพราะสามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศและสร้างงานให้แก่ประชาชนเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมประเภทอื่น ทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นคงในด้านการทหารอีกด้วย

ทำไม? ประเทศไทยต้องมีอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในบางครั้งเมื่อปัญหาการพัฒนาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมมีความรุนแรงขึ้นจนไม่สามารถควบคุมได้ จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการจัดหายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศเข้ามา เนื่องจากไทยไม่มีอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นของตนเอง ดังนั้นประเทศต่าง ๆ ที่พัฒนาแล้วจะมองเห็นแนวทางในการดำเนินนโยบายป้องกันประเทศที่ต่างกัน แต่ตั้งเป้าหมายเดียวกันในลักษณะการสร้างกองทัพเพื่อความมั่นคงแบบพึ่งพาตนเอง ด้วยการสร้างและส่งเสริมการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อใช้ในกองทัพ ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้จะเป็นหลักประกันความมั่นคงที่ไม่ต้องไปพึ่งพาผู้อื่น และยังเป็นการสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในประเทศ ดังนั้น การมีอุตสาหกรรมป้องกันประเทศจะเป็นกลไกในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจหรือที่เรียกว่า Economic Multiplier ในขณะที่ก็สามารถเพิ่มความมั่นคงให้กับประเทศด้วย รู้จักDTI เพิ่มเติมได้ที่ http:// www.dti.or.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4