รัฐยันเรือที่มีใบอนุญาต เครื่องมือและแรงงานถูกกฎหมาย ทำการประมงได้ปกติ ย้ำทุกฝ่ายต้องร่วมมือแก้ไอยูยู ก่อนอียูประเมินผลในเดือนต.ค.นี้

พฤหัส ๐๒ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๔:๕๑
นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม หรือ ไอยูยู ว่า มาตรการหลักขณะนี้มีความคืบหน้าในหลายๆ ส่วนทั้งเรื่องการออกกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาไอยูยู และแผนการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาประมงไอยูยูระดับชาติ ขณะนี้ก็จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งขั้นตอนต่อไปก็ต้องเจรจาร่วมกับทางอียูว่ายังมีส่วนใดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมหรือมีเงื่อนไขใดที่ทำได้หรือไม่ได้อย่างไร แต่ขณะนี้มาตรการเร่งด่วนที่ไทยต้องเร่งรัดดำเนินการให้เคร่งครัดและเข้มงวด คือ การควบคุมการทำประมงผิดกฎหมาย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าไทยมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาไอยูยู ซึ่งคาดว่าในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ทางอียูจะเริ่มส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาเก็บข้อมูล ก่อนจะมีการประเมินผลการแก้ไขปัญหาไอยูยูของไทยประมาณเดือนตุลาคมนี้

ดังนั้น จึงขอความร่วมมือชาวประมง ผู้ประกอบการประมงให้มาแจ้งขึ้นทะเบียนเรือ ขออนุญาตการทำประมงโดยใช้เครื่องมือทำประมงที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงมีคนเรือที่มีใบอนุญาตแรงงานอย่างถูกต้อง ซึ่งหากมีครบทั้งสามส่วนนี้แล้วก็สามารถออกไปทำการประมงได้ตามปกติ ส่วนผู้ที่ยังไม่มาขึ้นทะเบียนก็สามารถไปยังให้บริการแบบ one stop service ได้ถึงวันที่ 15 ก.ค.นี้ หลังจากนี้ก็ยังสามารถติดต่อกับกรมเจ้าท่าและกรมประมงได้ถึงวันที่ 31 ก.ค.นี้

"รัฐบาลไม่มีความตั้งใจจะทำร้ายใคร รัฐบาลก็อยากให้ขายของให้ได้ แต่ขอใช้โอกาสนี้ปรับระบบการทำประมงของประเทศ ให้สัดส่วนการจับและทรัพยากรสัตว์น้ำเกิดความสมดุล วันนี้เราต้องมาดูต้องทำอย่างไรต่อไป ดูว่าเรือที่ถูกกฎหมายมีเท่าไหร่และไม่ถูกกฎหมายมมีอยู่เท่าไหร่ให้เกิดความชัดเจนให้ได้ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการเจรจาแก้ไขปัญหา รวมถึงวางมาตรการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบได้" นายปีติพงศ์กล่าว

นายปีติพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในส่วนของผลกระทบที่เรือประมงที่ไม่มีใบอนุญาต ไม่มีใบอาชญาบัตรและแรงงานไม่ถูกต้อง ซึ่งจะไม่สามารถออกไปทำการประมงได้นั้น กระทรวงเกษตรฯ จะมีการติดตามประเมินผลกระทบที่ชัดเจน แต่ในเบื้องต้นส่วนของอาหารทะเลหรือสัตว์น้ำในการบริโภคบางประเภท เช่น กุ้ง ปู ปลากะพง จะไม่กระทบมากนัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการเพาะเลี้ยงไม่ได้มาจากทะเล แต่ส่วนที่จะส่งผลกระทบจริงๆ มี 3 ส่วน คือ 1.แพปลา 2. โรงน้ำแข็ง และ 3. โรงงานอาหารสัตว์ ซึ่งวัตถุดิบจะเป็นปลาตัวเล็ก แต่ขณะนี้ทางผู้ปรำกอบการก็พยายามปรับตัวหันไปนำเข้าปลาจากแหล่งอื่นทดแทน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4