เหตุปัจจัยนานาชาติกดดันไทย

จันทร์ ๒๐ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๐:๑๓
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "เหตุปัจจัยนานาชาติกดดันไทย" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16 – 17 กรกฎาคม 2558 กรณีศึกษาจากประชาชนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับกรณีที่นานาชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และองค์กรระหว่างประเทศ ออกมาวิจารณ์และกดดันเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็นต่าง ๆ เช่น การค้ามนุษย์ การจับกุม 14 นักศึกษา และชาวอุยกูร์ผู้หลบหนีเข้าเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อท่าทีของสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และองค์กรระหว่างประเทศ เช่น Human Rights Watch ที่ประณามกล่าวหาไทยว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน ในประเด็นต่าง ๆ เช่น การค้ามนุษย์ การจับกุม 14 นักศึกษา และการส่งชาวอุยกูร์ผู้หลบหนีเข้าเมืองกลับประเทศจีน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.92 ระบุว่า เป็นความพยายามของประเทศสหรัฐอเมริกาในการแทรกแซงกิจการภายในของไทย รองลงมา ร้อยละ 22.00 ระบุว่า เป็นเกมการเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาโดยพยายามถล่มไทยเพื่อกระทบชิ่งไปถึงจีน ร้อยละ 16.24 ระบุว่า เป็นความพยายามขยายอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ร้อยละ 14.24 ระบุว่า เป็นความพยายามสร้างภาพของประเทศตะวันตก ร้อยละ 13.60 ระบุว่า เป็นการกระทำอย่างบริสุทธ์ใจตามบทบาทหน้าที่ของประเทศประชาธิปไตยตะวันตก ร้อยละ 10.96 ระบุว่า ไทยละเมิดสิทธิมนุษยชน จริงตามที่ถูกกล่าวหา ร้อยละ 10.40 ระบุว่า เป็นการกระทำอย่างบริสุทธ์ใจตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรระหว่างประเทศ และระบุว่า เป็นความพยายามสร้างภาพขององค์กรระหว่างประเทศ ในสัดส่วนเท่ากัน ร้อยละ 4.80 ระบุว่า เป็นแผนโลกล้อมประเทศเพื่อล้มรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ และ คสช. โดยมีคนไทยบางกลุ่มอยู่เบื้องหลัง ร้อยละ 0.40 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ อาจจะเป็นการเข้าใจผิด เพราะ นานาประเทศไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริงมากกว่าจึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดพลาด และต้องตีความจากพันธะสัญญาที่ทำกับ UN ว่าไทยได้ทำตามข้อตกลงที่สัญญาไว้หรือไม่ ถ้าเราผิดจริงก็สมควรที่จะถูกประณาม และร้อยละ 7.28 ไม่ระบุ / ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความกังวลของประชาชนต่อท่าทีของสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และองค์กรระหว่างประเทศ ที่ประณามกล่าวหาไทยว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน พบว่าประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.32 ระบุว่า ไม่กังวลใจเลย รองลงมา ร้อยละ 28.08 ระบุว่า ค่อนข้างกังวลใจ ร้อยละ 21.36 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวลใจ ร้อยละ 13.84 ระบุว่า กังวลใจมาก และร้อยละ 0.40 ไม่ระบุ / ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 16.32 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 17.84 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 14.88 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.52 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 17.44 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 52.64 เป็นเพศชาย ร้อยละ 47.28 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 7.12 มีอายุ น้อยกว่า 25 ปี ร้อยละ 32.88 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 28.80 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 24.72 มีอายุ 46 – 60 ปี ร้อยละ 6.32 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป และร้อยละ 0.16 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 96.24 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.72 นับถือศาสนาอิสลาม และ ร้อยละ 1.04 นับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 37.28 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 60.40 สมรสแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 2.24 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.08 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 84.56 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และตัวอย่างร้อยละ 15.44 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 34.96 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 27.04 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่าง ร้อยละ 22.40 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 1.76 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง

ตัวอย่างร้อยละ 4.64 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 8.96 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ตัวอย่างร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระ ที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 0.16 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 5.04 ไม่มีรายได้ ตัวอย่าง ร้อยละ 2.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 33.04 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 23.60 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 12.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 16.56 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 6.32 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?