กสอ. แนะ 5 เปลี่ยน ลดใช้น้ำ พร้อมเปิดแนวคิดปันน้ำภาคอุตสาหกรรมสู่ภาคเกษตรกรรม

พฤหัส ๒๓ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๔:๔๓
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ผุดนโยบายรณรงค์ใช้น้ำอย่างประหยัดในอุตสาหกรรมภาคการผลิตเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องเพื่อลดต้นทุนการผลิต และเอื้อประโยชน์แก่ภาคเกษตรกรรมที่ประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอสามารถดึงน้ำไปใช้ในการเพาะปลูก โดยนโยบายดังกล่าวได้แก่ 1)ปรับเปลี่ยนวัตถุดิบคืออาจลดหรือยกเลิกวัตถุดิบที่เป็นต้นเหตุให้ใช้น้ำในปริมาณมาก 2)ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตปรับแผนหรือวิธีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดข้อผิดพลาดในการทำงานซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ใช้น้ำเกินความจำเป็น 3)ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ปรับเปลี่ยนกลไกบางอย่างในการผลิต เพื่อความสะดวกและรวดเร็วลดกระบวนการที่อาจทำให้ใช้น้ำมาก 4)ปรับเปลี่ยนระบบควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ตลอดจนเลือกใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีระบบการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ 5)ปรับเปลี่ยนรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวัตถุดิบ หรือกระบวนการบางอย่างในการผลิตเพื่อลดการใช้น้ำได้ พร้อมชูโครงการเพื่อสังคมของ กสอ. อาทิ “โครงการบริหารจัดการเพื่อยกระดับสังคมการประกอบการ” พัฒนาสู่การประกอบธุรกิจด้วยคุณธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดสากล โดยไม่ลืมที่จะใส่ใจต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และ “โครงการสังคมประกอบการ งานได้ผล คนเป็นสุข”ที่อาศัยเครื่องมือ หรือเทคนิคการปรับปรุงการเพิ่มผลิตภาพที่เหมาะสม เช่น 5ส QCC (Quality Control Cycle) และ Kaizen ฯลฯ โดยขณะนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 2 โครงการแล้วจำนวน 300 และ 600 รายตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จากวิกฤติน้ำแล้งในปัจจุบันส่งผลกระทบในทุกภาคส่วน ทั้งภาคครัวเรือน ภาคเกษตรกรรม ตลอดจนภาคอุตสาหกรรม โดยมีสัดส่วนความต้องการใช้น้ำในประเทศ คือ 1) ภาคการเกษตร 113,960 ล้านลูกบาศก์เมตร 2)การอุปโภคบริโภคในครัวเรือนและการท่องเที่ยว 6,400 ล้านลูกบาศก์เมตร 3)ภาคอุตสาหกรรม 4,206 ล้านลูกบาศก์เมตร 4)อื่นๆ 27,090 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้น้ำมากที่สุดของไทย คือ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม กลุ่มอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และอุตสาหกรรมฟอกย้อม

นายประสงค์ นิลบรรจง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากวิกฤติน้ำแล้งในปัจจุบันส่งผลกระทบในทุกภาคส่วน ทั้งภาคครัวเรือน ภาคเกษตรกรรม ตลอดจนภาคอุตสาหกรรม ที่กำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค เนื่องจากน้ำในเขื่อนเก็บกักน้ำหลายๆแห่งเริ่มชะลอการจ่ายน้ำออกประกอบกับปริมาณน้ำบาดาลลดลงทำให้นำมาผลิตเป็นน้ำประปาได้น้อยลงด้วยโดยแต่ละภาคส่วนมีความต้องการใช้น้ำในประเทศสัดส่วนดังนี้1) ภาคการเกษตร 113,960 ล้านลูกบาศก์เมตร 2)การอุปโภคบริโภคในครัวเรือนและการท่องเที่ยว 6,400 ล้านลูกบาศก์เมตร 3)ภาคอุตสาหกรรม 4,206 ล้านลูกบาศก์เมตร 4)อื่นๆ 27,090 ล้านลูกบาศก์เมตร (ข้อมูล: กรมโรงงานอุตสาหกรรม) อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมถึงแม้จะไม่ได้รับผลกระทบมากนักเนื่องจากมีความต้องการใช้น้ำไม่มากนัก และโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีระบบกักเก็บน้ำเพื่อสำรองไว้ใช้แต่ก็ต้องมีการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยจะต้องใช้น้ำอย่างประหยัด ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตทางหนึ่งแล้ว ยังสามารถเอื้อประโยชน์แก่ภาคเกษตรกรรมที่ประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอให้สามารถดึงน้ำไปใช้ในการเพาะปลูก อีกทั้งยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

นายประสงค์ กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์ดังกล่าว กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ในฐานะที่ส่งเสริมและสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมมามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะSMEs จึงมีนโยบายรณรงค์เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการในภาคการผลิตให้ใช้น้ำอย่างประหยัดโดยกำหนดออกมาเป็น 5 วิธี เพื่อเปลี่ยนวิธีการใช้น้ำ สู่การจัดการการใช้น้ำอย่างชาญฉลาด ดังนี้

- ปรับเปลี่ยนวัตถุดิบ คือการปรับเปลี่ยนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ซึ่งอาจจะเป็นการลดหรือยกเลิกการใช้วัตถุดิบที่เป็นต้นเหตุของการใช้น้ำในปริมาณสูง อาทิ ในอุตสาหกรรมอาหาร หากสามารถเลือกใช้วัตถุดิบที่มีความสะอาดสูง เพื่อช่วยลดขั้นตอนการทำความสะอาดและช่วยประหยัดน้ำในการชำระล้าง โดยการคัดสรรวัตถุดิบที่ได้จากภาคเกษตรกรต้องมีการปนเปื้อนให้น้อยที่สุด

- ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต หมายถึง การปรับแผนการผลิตหรือการปรับเปลี่ยนวิธีการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานตลอดจนเพื่อลดข้อผิดพลาดในการทำงาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิตที่มีปริมาณมากเกินจำเป็น อาทิ ในอุตสาหกรรมฟอกหนังซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ในขั้นตอนการล้างหนังดิบเพื่อกำจัดส่วนที่ไม่ต้องการออก เช่น ขน หรือเศษหนัง เปลี่ยนจากการล้างแบบไหลล้นอย่างต่อเนื่องเป็นการเปลี่ยนการล้างแบบถ่ายทิ้งเป็นช่วงๆ เพื่อลดปริมาณน้ำเสียที่อาจเกิดขึ้นได้

- ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี หมายถึง การปรับเปลี่ยนกลไกบางอย่างในการผลิต อาทิ ในอุตสาหกรรมฟอกย้อมที่จากเดิมการเตรียมสูตรสีย้อม จะทำโดยการผสมสีแล้วทดลองย้อมจนกว่าจะได้สีที่ต้องการ ซึ่งจะใช้เวลานานในการย้อมหลายๆครั้งกว่าจะได้สี จึงเปลี่ยนมาใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผสมสีในขั้นตอนการเตรียมสีย้อมทำให้จำนวนครั้งของการทดลองย้อมลดลงอย่างมากขณะเดียวกันจะช่วยลดการเกิดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตที่ซ้ำซ้อนอีกด้วย

- ปรับเปลี่ยนระบบควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ อาทิ การควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในโรงงาน และการควบคุมสารเคมีที่ใช้ในขบวนการต่างๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น ตลอดจนเลือกใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีระบบการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทำความสะอาดบรรจุภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ซึ่งหากควบคุมการจ่ายน้ำในขั้นตอนดังกล่าวได้ก็จะเป็นการประหยัดน้ำอีกระดับหนึ่ง

- ปรับเปลี่ยนรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ โดยปรับเปลี่ยนหรือลดทอนรายละเอียดบางอย่างของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวัตถุดิบ ช่วยให้ลดการใช้น้ำลงได้ และช่วยลดต้นทุนการผลิต แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้อยลง หรือส่งผลเสียต่อลูกค้าหรือผู้บริโภค

?

ทั้งนี้ นอกจากการรณรงค์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งถือเป็นการตอบแทนสังคมหรือความรับผิดชอบต่อสังคมทางหนึ่งแล้ว กสอ. ยังมีโครงการที่สอดคล้องกับกิจกรรมเพื่อสังคมอีกหลายโครงการ ได้แก่“โครงการบริหารจัดการเพื่อยกระดับสังคมการประกอบการ”เป็นการพัฒนาสู่การประกอบธุรกิจด้วยคุณธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดสากล โดยไม่ลืมที่จะใส่ใจต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และ “โครงการสังคมประกอบการ งานได้ผลคนเป็นสุข” โดยอาศัยเครื่องมือ หรือเทคนิคการปรับปรุงการเพิ่มผลิตภาพที่เหมาะสม เช่น 5ส QCC(Quality Control Cycle) และ Kaizen ฯลฯ โดยในปี 2558 มีผู้เข้าร่วมโครงการแล้วทั้ง 2 โครงการจำนวน 300 และ 600 รายตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยถูกจัดเป็น 1 ใน 10 ของประเทศที่ใช้น้ำมากที่สุดในโลก รองจาก อินเดีย จีน สหรัฐอเมริกา ปากีสถาน และญี่ปุ่น เฉลี่ย 2,131 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 1-2 เท่า ที่ส่วนใหญ่คนทั่วโลกใช้น้ำ 1,200-1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปีเท่านั้น (ข้อมูล: ผลการศึกษาการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศต่างๆทั่วโลกโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ)) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันในการประหยัดทรัพยากรน้ำ สำหรับในส่วนของภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้น้ำมากที่สุดของไทย คือ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม กลุ่มอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ และอุตสาหกรรมฟอกย้อม นายประสงค์ กล่าวสรุป

ด้านนายธงชัย ตรีนุชกร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบ็ทเทอร์ เท็กซ์ไทล์จำกัด เปิดเผยว่า บริษัท เบ็ทเทอร์ เท็กซ์ไทล์ จำกัด (บีทีซี) เป็นบริษัทรับจ้างฟอกย้อม ตกแต่งสำเร็จสำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ผ่าน 3 กระบวนการคือ ขั้นที่ 1 การฟอก คือ การเตรียมผ้าก่อนย้อมสีเพื่อทำให้ผ้าสะอาด ขั้นที่ 2 การย้อม คือ การนำผ้าที่ฟอกสะอาดแล้วมาทำการย้อมแบบแช่ทิ้งไว้ (Exhaust) เพื่อให้ดูดซึมสี ทั้งสีขาว สีอ่อน สีเข้ม ให้ได้ตามความต้องการลูกค้า และขั้นที่ 3 การตกแต่งสำเร็จ คือ ขั้นตอนการนำผ้าที่ผ่านการฟอกและย้อมแล้วมาปรับสภาพเพื่อพร้อมใช้งานและได้คุณสมบัติต่างๆ เช่น นุ่ม กันยับ ลื่น โดยทั้ง 3 กระบวนการข้างต้น ล้วนแต่ใช้น้ำในปริมาณมากทั้งสิ้น ซึ่งบีทีซี ได้ตระหนักถึงการประหยัดน้ำในกระบวนการผลิตมาโดยตลอด จึงพยายามคิดค้นวิธีเพื่อช่วยในการลดใช้น้ำ โดยวัตถุประสงค์ตั้งแต่แรกเริ่มเลยคืออยากลดต้นทุนการผลิต ซึ่งได้แนวคิดมาจากการเข้าร่วมโครงการต่างๆ กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อาทิ โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้แผนงานโครงการ Green Aid Plan (GAP) โครงการพัฒนาบุคลากรผู้บริหารการผลิตระดับกลางในอุตสาหกรรมสิ่งทอและโครงการพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยให้ได้แนวคิดต่าง ๆ ในการบริหารจัดการภายในโรงงาน ทั้งการออกแบบโรงงาน การประหยัดพลังงาน การประหยัดน้ำ และการบริหารจัดการพนักงาน ฯลฯ

นายธงชัย กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการล่าสุดที่บีทีซีเข้าร่วมโครงการ คือ โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมไทย ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (ECIT) ทำให้สามารถนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาโปรแกรมเพื่อปรับใช้ในการสต็อกผ้าดิบ ผ้าสำเร็จ สต็อกสี และเคมี ตลอดจนโปรแกรมการทดสอบสีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สะดวกรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังลดการย้อมซ้ำที่อาจเกิดขึ้นซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำอีกด้วย ทั้งนี้ บีทีซี มีการพัฒนากระบวนการผลิตเรื่อยมา เพื่อการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาทิ ปรับลดปริมาณของสารเคมีในกระบวนการฟอกลงเพื่อการลดปริมาณน้ำที่ต้องนำมาล้างสารเคมี ไปจนถึงการนำกลุ่มสีที่สามารถย้อมติดสีง่าย ลดปัญหาสีตก ผ้าด่าง เพราะปัญหาเหล่านี้ทำให้ต้องนำผ้ากลับมาแก้ไขใหม่ก็ทำให้ต้องสูญเสียน้ำเพิ่มอีกกว่าร้อยละ 20-40 เป็นต้น อย่างไรก็ดี ภายหลังการปรับเปลี่ยนกระบวนการต่างๆในภาคการผลิตของ บีทีซี แล้วสามารถประหยัดน้ำได้ถึงวันละ 135ลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 1,755 บาท หรือคิดเป็นต่อเดือนและต่อปีได้ 45,630.00 และ 547,560.00 บาทตามลำดับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest