มรภ.สงขลา จัดใหญ่ งาน “วันก้า” ครั้งที่ 31

ศุกร์ ๒๔ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๒:๕๙
มรภ.สงขลา จับมือ สกอ. จัดงานการดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศฯ “วันก้า” ครั้งที่31 ดึงผู้นำด้านไอทีจากในและต่างประเทศร่วมเวิร์คชอป หวังกระจายโอกาสทางการศึกษาสู่ชุมชน

รศ.ดร.สุนทร โสตถิพันธุ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) กล่าวระหว่างพิธีเปิดงานประชุมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (Workshop on UniNet Network and Computer Application) WUNCA หรือ “วันก้า” ครั้งที่ 31 ระหว่างวันที่ 22-24 ก.ค. ณ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มรภ.สงขลา ว่า งานในครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนคณาจารย์ นักวิจัยจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ร่วมพูดคุยและให้ความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายสารสนเทศ ใน 23 หัวข้อ และฝึกอบรม 9 หลักสูตร โดยมีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงาน 548 คน นอกจากนั้น ในวันที่ 24 ก.ค. ยังมีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้จากพี่สู่น้อง ซึ่ง มรภ.สงขลา ได้เชิญโรงเรียนที่ได้รับบริการเครือข่ายจากโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (Inter-University Network : UniNet) ในพื้นที่ 3 จังหวัดโดยรอบ ได้แก่ จ.พัทลุง สงขลา และ สตูล จำนวน 297 คน เข้าร่วมอบรม ถือเป็นนิมิตรหมายอันดีที่เครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการศึกษาวิจัยของไทย จะสามารถขยายผลและได้ถ่ายทอดเทคนิคความรู้ไปยังการศึกษาระดับอื่นต่อไป ส่วนเจ้าภาพงานวันก้าครั้งที่ 32 คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่ง มรภ.สงขลา ได้ทำพิธีส่งมอบการเจ้าภาพในงานครั้งนี้ด้วย

“มรภ.สงขลา เป็นเจ้าภาพต่อจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยที่ประชุมได้ร่วมกันกำหนดแนวทางในการดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายฯ การศึกษาวิจัย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบนเครือข่าย และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระหว่างกลุ่มสมาชิกเครือข่ายที่ได้ไปทดลองปฏิบัติ หรือวิจัย จนได้ผลดี ประสบความสำเร็จใช้ในงานในหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ก็นำความรู้เหล่านั้นมาถ่ายทอดให้สมาชิกได้รับทราบ ได้ทดลองและฝึกปฏิบัติจริงบนอุปกรณ์เทคโนโลยีเครือข่ายหลากหลายชนิด” อธิการ มรภ.สงขลา กล่าว

ด้าน นายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณ ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ประธานในพิธี กล่าวว่า ปัจจุบันในกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับบริการเครือข่ายจาก UniNet พื้นฐานจะได้รับบริการสื่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ขนาดความเร็ว 1 กิกะบิตต่อวินาที แต่หลายแห่งเริ่มมีการพัฒนาเครือข่าย และส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ เพื่อจัดการเรียนการสอนและการวิจัยเพิ่มมากขึ้น เมื่อเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษามีความพร้อมแล้ว สิ่งสำคัญต่อไปคือการวางแผนเชิงนโยบาย ซึ่งข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอันดับแรก จึงเป็นที่มาของนโยบายภาครัฐในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการบริหารราชการแผ่นดินของผู้บริหารทุกระดับ เช่นเดียวกับการวางแผนด้านการพัฒนาการศึกษาของประเทศ ในฐานะที่สถานศึกษาเป็นเจ้าของแหล่งข้อมูลที่สำคัญและจำเป็น หากมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบแล้ว ผู้บริหารก็จะสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้วางแผนพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าทัดเทียม และแข่งขันกับนานาประเทศได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4