12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ และล้านนาทีแห่งรัก

อังคาร ๑๑ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๓:๕๖
ถนนประดับไฟสว่างไสวส่องให้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระราชินีให้สวยเด่นเป็นสง่า เด็กๆ ก้มกราบเท้ามารดาพร้อมดอกมะลิเพื่อระลึกคุณ สิ่งเหล่านี้คือภาพที่ท่านจะเห็นได้ในวันแม่แห่งชาติของไทย วันแม่แห่งชาติในประเทศไทยนั้นมีความสำคัญเป็นเท่าทวีเนื่องจากวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงเป็น “แม่ของแผ่นดิน”

นอกจากนี้ วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปียังถือเป็น‘วันช้างโลก’อีกด้วย ซึ่งเป็นวันที่ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของช้างทั่วโลก เพราะช้างเป็นสัตว์สายพันธุ์หนึ่งที่มีสัญชาตญาณความเป็นแม่อันแรงกล้า ‘วันช้างโลก’ มีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 โดยการริเริ่มของมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติในพระราชินูปถัมภ์

เราสามารถพูดได้ว่าสายสัมพันธ์ระหว่างลูกและแม่ช้างถือเป็นสายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งที่สุดในบรรดาสัตว์บนโลกนี้ ถ้าลูกช้างเป็นเพศเมีย มันจะอยู่กับแม่ไปจนโตและยังคงอยู่ต่อไปเรื่อยๆ มีช้างเพศเมียหลายตัวที่อยู่กับแม่ของมันจนลมหายใจสุดท้าย ความรักที่ช้างมีให้กับครอบครัวนั้นไม่ต่างจากความรักที่คนเรามีให้กับครอบครัวของเรา ระยะเวลาการตั้งครรภ์ของช้างนั้นอยู่ที่ประมาณ 22 เดือน ซึ่งหากเราคำนวณเป็นหน่วยนาทีแล้ว จะพบว่าแม่ช้างนั้นต้องหมั่นคอยดูแลและให้ความรักทารกช้างตัวน้อยในท้องของเธอนานถึงหนึ่งล้านนาที

แต่ในวันนี้ กลับเป็นมนุษย์เสียเองที่พรากช้างจากครอบครัว ด้วยความโลภและความหลงใหลงาช้าง ทั้งๆ ที่ความรักและสายสัมพันธ์ของแม่ช้างและลูกช้างนั้นหาที่เปรียบมิได้ มันคุ้มค่าแล้วหรือที่จะทำลายสิ่งเหล่านี้ เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ช้างต้องใช้เวลาถึงหนึ่งล้านนาทีแห่งรักเพื่อให้ลูกช้างตัวน้อยได้ออกมาสู่โลกอันกว้างใหญ่ แต่มนุษย์กลับใช้เวลาแค่ไม่กี่นาทีคร่าชีวิตช้างเพียงเพื่องา

นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระองค์เองก็ทรงให้ความสำคัญกับช้างและทรงให้การสนับสนุนการอนุรักษ์ช้างในวโรกาสต่างๆ อยู่เสมอ จนมีพระราชดำรัสในเรื่องดังกล่าวว่า “ช้างเป็นสัตว์ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรัก ทรงห่วงใย โดยเฉพาะทาง กุยบุรี และแก่งกระจาน ทรงห่วงใยมาตลอด ทรงช่วยหาที่อยู่ที่กินให้ช้าง จะได้ไม่รบกวนคน คนกับช้างจะได้มีปัญหากันน้อยที่สุด” เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ พระตำหนักจิตรลดา

พวกเราทุกคนต้องร่วมมือกันอนุรักษ์ช้างให้คงอยู่ เพราะช้างไม่ได้เป็นเพียงสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นสัตว์ที่สำคัญของโลกด้วย การกระทำง่ายๆ เพียงการไม่ซื้องาช้าง ก็สามารถช่วยปกป้องช้างและสายสัมพันธ์ “แม่-ลูก” ที่ลึกซึ้ง ประเมินค่าและหาสิ่งใดมาทดแทนไม่ได้ ที่ช้างก็รู้สึกได้ไม่ต่างจากมนุษย์เรา

ในการนี้ WWF-ประเทศไทยขอความอนุเคราะห์สื่อมวลชนทุกท่านร่วมกันเผยแพร่เรื่องราวความรักของแม่ช้างและลูกช้างนี้ที่พวกเขาไม่มีโอกาสพูดออกมาให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ในวาระนี้ ซึ่งเราได้แนบรูปภาพและวีดิโอคลิปช้างแม่ลูกคที่ WWF-ประเทศไทยได้จัดทำขึ้นมา ณ ที่นี้

ขอขอบพระคุณสำหรับความร่วมมือของท่านที่ช่วยเผยแพร่ความรักนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยเพื่อช่วยกันรักษาชีวิตช้างและนาทีแห่งความรักให้ลูกหลานของเราในอนาคต ให้ประชาชนได้ #ละเลิก สินค้าจากงาช้าง #ลงมือ ร่วมสนับสนุน WWF ในการอนุรักษ์ #เล่าต่อ ว่าการได้มาซึ่งงาช้างจะต้องแลกกับชีวิตของช้างเพื่อให้พวกเขาได้อยู่เพื่อรักกันเหมือนกับเราและแม่ของเรา

หมายเหตุ:

ดาวน์โหลดภาพและคลิปได้ที่: https://goo.gl/t7pVnX

ให้ Credit คลิปวดีโอตามนี้: Clip 1: Suchin Wongsuwan/WWF-Thailand

Clip 2 & Clip 3: Wayuphong Jitvijak/WWF-Thailand

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital