รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ประจำเดือน มิ.ย. 2558

พฤหัส ๑๓ สิงหาคม ๒๐๑๕ ๑๓:๐๕
นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะในฐานะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้แถลงข่าวการดำเนินงานของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ดังนี้

1. รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558

ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 30 มิถุนายน 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 5,682,490.76 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.36 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 2,516.86 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

· หนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 6,771.99 ล้านบาท ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก

- การลดลงของตั๋วเงินคลังสุทธิ จำนวน 20,000 ล้านบาท

- การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 3,130.79 ล้านบาท

มีรายละเอียด ดังนี้

- การกู้เงินเพื่อให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กู้ต่อ จำนวน 1,693.33 ล้านบาท สำหรับโครงการซื้อเครื่องบินแอร์บัส A340-600

- การกู้เงินเพื่อให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 1,410.11 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง และรถไฟสายสีแดง

- กรมทางหลวงเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อให้ใช้ในโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) จำนวน 27.35 ล้านบาท

- การกู้เงินบาททดแทนเงินกู้ต่างประเทศเพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) จำนวน 173 ล้านบาท

- การกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 23,779 ล้านบาท

- การชำระหนี้ที่กู้มาเพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 32 ล้านบาท

- การชำระคืนหนี้ภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ จำนวน 24 ล้านบาท

· หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน มียอดหนี้คงค้างลดลง 2,810.38 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ในประเทศมากกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ ซึ่งในเดือนมิถุนายน 2558 มีการกู้เงินเพื่อลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ การกู้เงินเพื่อเช่าซื้อเครื่องบินแอร์บัส 777-300ER ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 5,435.04 ล้านบาท และการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 10.83 ล้านบาท

· หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มียอดหนี้คงค้างลดลง 6,384.72 ล้านบาท เนื่องจากรัฐวิสาหกิจต่างๆ มีการชำระคืนต้นเงินกู้มากกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีรายการที่สำคัญ ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ไถ่ถอนพันธบัตรที่กู้มาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนด จำนวน4,000 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรชำระหนี้เงินต้นที่กู้มาเพื่อดำเนินโครงการรับจำนำข้าว โดยใช้เงินจากการระบายข้าว จำนวน 2,365 ล้านบาท

· หน่วยงานของรัฐ มียอดหนี้คงค้างลดลง 93.75 ล้านบาท เนื่องจากสำนักงานธนานุเคราะห์ชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้

หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 เท่ากับ 5,682,490.76 ล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ในประเทศ 5,343,785.99 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.01 และหนี้ต่างประเทศ 340,704.77 ล้านบาท (ประมาณ 10,110.50 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือเท่ากับร้อยละ 5.99 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และหากเปรียบเทียบกับเงินสำรองระหว่างประเทศ จำนวน 160,273.97 ล้านเหรียญสหรัฐ (ข้อมูล ณ 30 มิถุนายน 2558) หนี้ต่างประเทศจะคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 6.31 ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพและความมั่นคงในด้านการเงินของประเทศ

โดยหนี้สาธารณะแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาวถึง 5,572,279.97 ล้านบาท หรือร้อยละ 98.03 และมีหนี้ระยะสั้น 112,210.79 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.97 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

2. รายงานผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่ดำเนินการโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะประจำเดือนมิถุนายน 2558

สบน. มีการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ วงเงินรวม 229,610.92 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ของรัฐบาล จำนวน 192,865.05 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 36,745.87 ล้านบาท

การบริหารจัดการหนี้ของรัฐบาล วงเงิน 192,865.05 ล้านบาท ประกอบด้วย

· ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล จำนวน 1,268.81 ล้านบาท

- การเบิกจ่ายเงินกู้ให้กู้ต่อ จำนวน 1,095.81 ล้านบาท

- การเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 173 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนเงินกู้จากธนาคารโลก เพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) ที่ได้ลงนาม ในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2558 วงเงิน 2,000 ล้านบาท

· การกู้เงินและเบิกจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศของรัฐบาล กระทรวงการคลังได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้และการลงนามสัญญาเงินกู้จากต่างประเทศ จำนวน 12,735.78 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

- การกู้เงิน Euro Commercial Paper หรือ ECP Programme จำนวน 1,693.33 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ 30 มิถุนายน 2558) เพื่อให้กู้ต่อแก่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับโครงการซื้อเครื่องบินแอร์บัส A340-600

- การกู้เงินและการเบิกจ่ายเงินกู้จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น จำนวน 11,011.30 ล้านบาท แบ่งเป็น การเบิกจ่ายเงิน จำนวน 314.30 ล้านบาท สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะที่ 1เพื่อให้กู้ต่อแก่การรถไฟแห่งประเทศไทย และการลงนามในสัญญาเงินกู้ จำนวน 10,697 ล้านบาท สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะที่ 2

- การเบิกจ่ายเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย จำนวน 27.35 ล้านบาท สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง

· การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล จำนวน 133,739.02 ล้านบาท

- การทำธุรกรรมแลกพันธบัตร (Bond Switching) โดยกระทรวงการคลังดำเนินการแลกพันธบัตรที่ออกภาย พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รุ่น LB15DA จำนวน 63,960.02 ล้านบาท กับพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ในรุ่น ที่กำหนด จำนวน 4 รุ่น

- การปรับโครงสร้างหนี้ R-bill ที่ครบกำหนด ซึ่งออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะฯ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 46,000 ล้านบาท โดยการออก R-bill จำนวน 30,000 ล้านบาท การกู้เงินระยะสั้น จำนวน 9,000 ล้านบาท และการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ จำนวน 7,000 ล้านบาท

- การกู้เงินล่วงหน้า (Pre-funding) โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ จำนวน 23,779 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 11 ธันวาคม 2558

· การชำระหนี้ของรัฐบาล จำนวน 45,125.24 ล้านบาท แบ่งเป็น

- การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 37,273 ล้านบาท แบ่งเป็น

- ชำระต้นเงิน จำนวน 497.70 ล้านบาท โดยใช้เงินจากงบประมาณการชำระหนี้ 473.70 ล้านบาท และเงินจากบัญชีเงินกู้เพื่อการบริหารหนี้ 24 ล้านบาท

- ชำระดอกเบี้ย จำนวน 36,774.34 ล้านบาท โดยใช้เงินจากงบประมาณการชำระหนี้ 35,606.01 ล้านบาท เงินจากบัญชีเงินกู้เพื่อการบริหารหนี้ 685.93 ล้านบาท และเงินจากดอกผลจากการลงทุนของพันธบัตร Pre-Funding 482.40 ล้านบาท

- ชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 0.96 ล้านบาท โดยใช้เงินจากงบประมาณการชำระหนี้

- การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 7,852.24 ล้านบาท แบ่งเป็น

- การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 1) จำนวน 3,275.42 ล้านบาท แบ่งเป็น ชำระต้นเงิน 32 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย จำนวน 3,243.42 ล้านบาท

- การชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ (FIDF 3) จำนวน 4,576.82 ล้านบาท โดยเป็นการชำระดอกเบี้ยทั้งจำนวน

การบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 36,745.87 ล้านบาท ประกอบด้วย

· การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 3,500 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่รัฐบาลค้ำประกันเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

· การเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 5,445.87 ล้านบาท โดยบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กู้เงินจากต่างประเทศ จำนวน 5,435.04 ล้านบาท สำหรับเช่าซื้อเครื่องบิน แอร์บัส 777-300ER และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้ จำนวน 10.83 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟสายสีม่วง

· การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 27,800 ล้านบาท ประกอบด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 23,800 ล้านบาท และธนาคารอาคารสงเคราะห์ 4,000 ล้านบาท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4